เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ก่อนนอน...ฟังลูกคุยดีกว่าเล่านิทานให้ลูกฟัง?

ตามคำที่พระพุทธเจ้าสอนค่ะว่า ' ให้เดินทางสายกลาง '....ฟังง่าย เเต่ค่อนข้างทำยาก
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นสิ่งที่ดีเเน่นอน เเต่ในขณะเดียวกันคุณพ่อ-คุณเเม่ก็ต้องหัดเรียนรู้ที่จะฟัง หรือให้โอกาสเด็กๆได้เเสดงความคิดเห็นของเค๊าด้วยเช่นกัน...... เด็กๆมักมีมุมมองที่มหัศจรรย์ จนผู้ใหญ่อย่างเราต้องฉงนอยู่บ่อยครั้งค่ะ

นักวิจัยเผย หากอยากให้ทักษะทางด้านภาษาของลูกเก่งขึ้น อย่ามัวแต่เล่านิทานให้เขาฟัง พ่อแม่ควรพูดคุยและให้โอกาสเขาเป็นผู้พูดมากกว่าผู้ฟังด้วย

ก่อนที่จะมีการวิจัยครั้งนี้ออกมา พ่อแม่หลายครอบครัวมักเข้าใจกันว่า การที่พวกเขาซื้อหนังสือนิทานมาอ่านให้ลูกฟังก่อนนอน หรือเล่าเรื่องอะไรก็ตามนั้น จะเป็นวิธีหนึ่งที่ลูกได้ซึมซับในเรื่องของภาษาไปในตัว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ค่านิยมอ่านหรือเล่านิทานให้ลูกฟังนั้นกลับไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่อย่างใด

ภาพจากเดลิเมล์

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยไม่ได้ชี้ชัดว่า การเล่านิทานให้ลูกฟังไม่มีประโยชน์ แต่ทีมงานกลับแนะว่า หากพ่อแม่ต้องการให้ลูกฝึกทักษะด้านภาษามากกว่าที่เป็นอยู่ สิ่งที่ควรทำนอกเหนือไปจากการอ่านเพื่อลูก ควรเปลี่ยนเป็นการพูดคุยและแบ่งปันเรื่องราวระหว่างพ่อ แม่ และลูก โดยที่ผู้ใหญึควรเป็นผู้ฟังเด็กๆเสียมากกว่า

ดร. Frederick Zimmerman นักวิจัยจาก UCLA School of Public Health ใน California และทีมงานแนะว่า การที่เด็กได้ฟังนิทานก่อนเข้านอน แม้ว่าพวกเขาจะได้ทั้งภาษาและจินตนาการ แต่ทักษะการพูดและการใช้ภาษาของเขาจะได้ประโยชน์น้อยกว่าการที่เขาได้เป็นผู้พูดเอง ซึ่งการที่พ่อแม่เปิดโอกาสให้ลูกเล่าเรื่องราวต่างๆหรือให้เขาพูดในสิ่งที่เขาต้องการจะพูด แม้จะไม่เป็นภาษาก็ตาม ก็ควรให้เขาได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้วยตัวของเขาเอง โดยวิธีนี้จะส่งผลให้พัฒนาการของเขาเร็วขึ้นถึง 6 เท่า เมื่อเทียบกับการฟังนิทานจากพ่อแม่เพียงอย่างเดียว

“การเล่านิทานหรือเรื่องราวที่ต้องอาศัยเสียงเพื่อสะท้อนถึงอารมณ์ของตัวละครนั้น ไม่ได้ส่งผลให้เด็กเข้าใจในหลักการของภาษาหรือทำให้เขาพูดเก่งและรู้เรื่องมากขึ้น ในทางกลับกัน การที่เด็กได้พูดเอง เสียงอ้อแอ้ของเขา หรือรูปประโยคที่ผิดๆ ถูกๆของเขา กลับเป็นแบบฝึกหัดให้พัฒนาการของเขาดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”

ทั้งนี้ การวิจัยในครั้งนี้ได้สำรวจครอบครัวที่มีเด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป 275 ครอบครัว พบว่า เด็กๆที่ได้รับการส่งเสริมจากการพูดคุยระหว่างพ่อแม่และลูก จะมีการพัฒนาทางด้านภาษาเร็วกว่าเด็กทั่วไปที่ฟังนิทานอย่างเห็นได้ชัด

เรียบเรียงจาก เดลิเมล์
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ขอขอบคุณ: LukZ® for group clickkids

Views: 706

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by MaMa n'JaY on August 3, 2009 at 4:35pm
บ้านกัน .. ก็มีคุยกันเรื่องที่โรงเรียนบ้าง เที่ยวบ้าง หรือกิจกรรมที่ไปทำมาบ้าง-อ่านนิทาน-สอนอ่านหนังสือ สลับกันไป ขึ้นอยู่กะว่าวันนั้นน้องเจพร้อมที่จะรับแบบไหนค่ะ
Comment by แม่น้องแชท on July 29, 2009 at 4:34pm
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ
Comment by จรูญลักษณ์ สุดเมือง on July 23, 2009 at 10:00am
ขอบคุณบทความดีดีค่ะ ธรรมดาก็อ่านนิทานให้น้องฟังตอนนอนแต่ก็เล่าเรื่องที่ รร.ให้ฟัง
Comment by kany_ja on July 21, 2009 at 7:29am
ก็น่าจะจริงน๊ะค๊ะ แต่ก็ยังเห็นว่าการอ่านนิทานก็มีผลดีอยู่ไม่น้อย เป็นการสร้างจินตนาการให้เด็กด้วย บังเอิญน้องยังไม่หย่านมขวดเลย แต่ไม่ติดหรอก ไม่มีก็ไม่เป็นไร เลยยังให้กินนมก่อนนอนอยู่ก็ใช้ช่วงที่ปากไม่ว่างนี่แหล่ะเล่านิทานให้ฟัง เพราะถ้าปากว่างเมื่อไหร่ แม่จะเปลี่ยนไปเป็นผู้ฟังทันที
Comment by พี่ไทด์กะน้องทีม on July 20, 2009 at 4:26pm
กว่าจะนอนเล่าสาระพัดเรื่องเลยค่ะ บางวันแม่ฟังจนหลับ อิอิ
Comment by สุภาพร(แม่ปั้น฿แป้ง) on July 20, 2009 at 11:44am
yes,that;s right
Comment by อรนัย รักในหลวง on July 16, 2009 at 11:54am
บ้านอ๊อบทำทั้งสองอย่างเลยค่ะทั้งอ่านหนังสือ ทั้งคุยกัน เริ่มเข้าห้องนอนตั้งแต่ทุ่มกว่าจะได้หลับโน่นสองทุ่มครึ่ง..หุหุ
Comment by Monrudee Loha on July 16, 2009 at 11:15am
เห็นด้วยกับคุณแพท
Comment by อรดา พงศ์สุธนะ on July 15, 2009 at 3:31pm
บทความนี้ดีมากๆเลยค่ะ ปล่อยโอกาสให้ลูกเราได้แสดงความรู้สึกของเขาออกมาบ้าง ซึ่งดีค่ะกว่าที่เคยได้ยินว่า เราต้องเล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน ตอนนี้ให้ลูกเล่าให้เราฟังบ้างเป็นการ take turn กันค่ะ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service