เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

คัมภีร์การเลี้ยงลูก

อ่านเจอบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก เลยมาแบ่งปันกับเพื่อน ๆ จ้า

จากเวบไซต์โรงเรียนบ้านคุณแม่

คัมภีร์การเลี้ยงลูก

ผศ.นพ.ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ MRCPsych (UK).
จิตแพทย์เด็กโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคม ปัจจุบันสังคมวุ่นวายขึ้น สาเหตุที่สำคัญอย่าง
หนึ่งคือ ครอบครัวไม่เข้าใจการเลี้ยงลูก ไม่มีเวลาให้ลูก มีผู้รู้พยายามแนะนำวิธีการเลี้ยงลูก เช่น
การเลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะตั้งแต่อยู่ในท้อง กว่าจะถึงอนุบาลหรือประถมก็สายเสียแล้ว เทคนิค
สารพัด ความจริงทฤษฎีก็เป็นเพียงทฤษฎี และหลายทฤษฎีก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยา
ศาสตร์ว่าถูกต้อง ปัจจุบันมีการวิจัยเกี่ยวกับเด็กมากมายโดยไม่ต้องอาศัยทฤษฎี แต่อาศัยการติด
ตามเด็กเป็นจำนวนมากตั้งแต่เล็กจนโต และวิจัยสังเกตดูลักษณะผู้ใหญ่ แล้วย้อนรอยเส้นทาง
ชีวิตในวัยเด็ก ผลที่ได้ก็คือ องค์ความรู้ที่สำคัญมาก ดังจะได้นำเสนอในบทความนี้

สิ่งสำคัญก็คือ การเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งกับคนดีนั้นมีปัจจัยที่ต่างกัน เรารู้อย่างชัดเจน
ว่าเด็กที่ก้าวร้าวนั้นมักมีครอบครัวเป็นเช่นไร เรารู้ว่าเราควรเสนอเด็กของเราอย่างไรผมจึงขอเสนอ
เป็น 5 ตอน คือ

1. พ่อแม่ที่มีลูกเก่ง
2. พ่อแม่ที่มีลูกดี
3. พ่อแม่ที่มีลูกก้าวร้าว
4. เทคนิคในการเลี้ยงลูก
5. สรุป

พ่อแม่ที่มีลูกเก่ง

ศาสตราจารย์นายแพทย์เซอร์ ไมเคิล รัทเธอร์ จิตแพทย์เด็กชาวอังกฤษชื่อดังของโลก
ได้สรุปจากงานวิจัยพ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ

1. พูดคุยและเล่นกับลูกมาก คือ
ที่สำคัญคือการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง พดคุย
และฟังลูก ไม่ใช่พูดกับลูกฝ่ายเดียว การเล่นกับลูกด้วยใจที่เกี่ยวข้องด้วยมิใช่เล่นแบบขอไปที
เด็กก่อนวัยเรียนทันทีที่เริ่มเล่นได้มักจะช้วนคุณพ่อคุณแม่มาเล่นเด้วย หลายคนมักได้รับคำตอบ
ว่า “เดี๋ยว” “ไปเล่นกับพี่ไป” “พ่อแม่ไม่มีเวลา” “ลูกเล่นคนเดียวไปก่อนนะลูก” ฯลฯ เมื่อลูกขยัน

ถามพ่อแม่ก็ควรขยันตอบ มิใช่ตอบว่า “เด็กอะไรถามซ้ำซากไม่รู้จักจบ หยุดได้แล้ว รำคาญ”
ฯลฯ ผลก็คือ เราเสียโอกาสเด็กเสียโอกาส

2. รู้ใจลูก พ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักอ่านใจ อ่านอาการทางกายของลูกออก เช่น รู้สึกว่า
ลูกเบื่อแล้ว ตอนนี้ไม่พร้อมคุยหรือเรียน หรือรู้ว่าลูกอยากได้ประสบการณ์แบบใด เมื่อรู้ใจก็รู้เวลา
จังหวะในการเพิ่มสติปัญญาในการสอนให้กับเด็ก ปัจจุบันพ่อแม่หลายคนไม่ได้ “รู้ใจ” ลูก แต่
หาก “เดาใจ” ชอบคิดแทนลูกไปเสียทุกเรื่องโดยคิดว่าถ้าเราชอบหรือรู้สึกเช่นนี้ ลูกน่าจะชอบและ
คิดเช่นนี้ด้วย เคล็ดลับของการรู้ใจลูกคือการฟังให้มากและหมั่นสังเกตอารมณ์ของลูกอย่าพูดมาก
แต่ฟังให้มาก บางครั้งไม่รู้ว่าลูกคิดอย่างไร ก็ถามตรง ๆ เช่น “ลูกคิดอะไรอยู่” “เกิดเรื่องแบบนี้
ทำให้ลูกรู้สึกอย่างไร”

3. สนับสนุนลูก พ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักสนับสนุนลูกตามกำลังความสามารถของตน เช่น
เด็กกำลังทำงานตัวปะต้องการกรรไกรเพิ่มพ่อแม่ก็จัดหาให้ เด็กเหนื่อยจากการเรียนก็หาอาหาร
ว่างหรือน้ำเย็น ๆ ให้ เด็กต้องการหนังสือประกอบการเรียนบางวิชาก็สนับสนุนลูก เป็นต้น
4. หาประสบการณ์ กิจกรรม ของเล่น ที่หลากหลาย ต่างจากข้อ 3 เล็กน้อย
คือ พ่อแม่ ต้องคิดหาประสบการณ์ กิจกรรม ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยให้ลูกโดยไม่ต้องให้ลูกขอ
เพราะเราโตกว่า มีประสบการณ์มากกว่าเด็ก เราอาจคิดหรือเห็นบางอย่างที่ลูกคิดไมถึง

การพาไปดูสิ่งแปลกให??่ การเปิดโอกาสให้เด็กได้เพิ่มพูนประสบการณ์ที่หลากหลาย ย่อมทำให้เด็กได้
พัฒนาแนวคิดอย่างหลากหลาก ทำให้สติปัญญาดีขึ้น สรุปคือเห็นมาก สัมผัสมาก ทำมากก็
ฉลาดขึ้น

5. สอนตรง อยากให้เด็กเก่งอะไรก็สอนสิ่งนั้น เช่น อยากให้อ่านหนังสือเก่งก็สอน
อ่านหนังสือ อยากให้เก่งดนตรีก็สอนดนตรี ฯลฯ การเรียนพิเศษทักษะบางชนิดก็คือ การสอนตรง
นั่นเอง แต่อย่าลืมดูข้อรู้ใจลูกด้วย บางทีการพยายามสอนตรงมากกลับเป็นผลเสีย คือกลายเป็น
การบังคับยัดเยียดให้ลูกจนเกิดปัญหา
ขอสรุปว่า จะเห็นว่า 5 ข้อดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องของโอกาส หัวใจสำคัญมิใช่การ
“ยัดเยียด” สิ่งต่าง ๆ ให้เด็ก หากเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์โดยที่พ่อแม่เปิดโอกาสและเด็กเป็นผู้ออกแรง
สมองแรงกายในการเรียนรู้ ขณะที่พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่ งานวิจัยพบว่าปัจจัย 5 ข้อข้างต้นมีความ
สำคัญอย่างมากในวัยเด็ก 2-5 ปี ในวัยอื่นปัจจัยข้างต้นก็เป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่ว่าวัยทองยังอยู่
ที่อายุ 2-5 ปี ผมอยากยกตัวอย่างการทดลองอันหนึ่งในหนู คือผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบหนูสอง
กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นหนูที่มีโอกาสอยู่อย่างสบายมีเครื่องเล่น กระตุ้นให้แก้ปัญหามากมายหลายทาง
ในกรง ส่วนหนูอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในกรงเปล่า ๆ ค่อนข้างแห้งแล้วในเรื่องกิจกรรมและเครื่องเล่น ผล

การทดลองผ่านไประยะหนึ่งหนูที่มีโอกาสมากกว่าจะฉลาดกว่า แก้ปัญหาเก่งกว่า เมื่อหนูตายผู้
ทดสอบเปรียบเทียบน้ำหนักและขนาดสมองพบว่าหนูที่มีโอกาสมากมีสมองใหญ่กว่า มีรอยหยัก
มากกว่า และเมื่อตัดชิ้นเนื้อสมองมาส่องกล้องจุลทรรศน์ก็พบว่าสมองของหนูที่มีโอกาสมากกว่า
มีสมองเซลส์และใยประสาทต่อกันซับซ้อนกว่า ยังมีการทดลองที่คล้ายกันนี้ในลิงก็พบผลเช่นเดียว
กัน ผมอยากจะเน้นว่าความเก่งนี้ถูกควบคุมด้วยสองปัจจัย ปัจจัยแรกคือกรรมพันธุ์เป็นเรื่องของ
สมองที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ปัจจัยที่สองคือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยแรกเราคงควบคุมลำบากเพราะ
ผ่านมาแล้ว ปัจจัยที่สองซึ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ สิ่งแวดล้อมทั้ง 5 ข้อตามที่เล่าให้ฟังข้างต้น

คุณอาจเป็นคนที่ให้โอกาสลูก คุณอาจมีลูกที่เก่ง แต่คุณอาจมีลูกที่นิสัยไม่ดี มีคุณธรรม
น้อยก็ได้ เพราะงานวิจัยชี้ให้เห็นชัดว่าการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี มีอารมณ์ที่ดีมีปัจจัยต่างกับการ
เลี้ยงลูกให้เก่ง ลองมาดูกันครับ

พ่อแม่ที่มีลูกดี

จากการติดตามผลงานวิจัยแหล่งต่าง ๆ ผมพอสรุปได้ว่า พ่อแม่ที่ลูกดี มีลักษณะดัง
ต่อไปนี้

1. พ่อแม่ที่ลูกเชื่อและเคารพ มรดกทางคุณธรรมที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่จะถ่ายทอดไป
ยังลูก คือ การที่ลูกเชื่อฟังและเคารพ จากการศึกษาพบว่าถ้าพ่อแม่ควบคุมลูกไม่ได้เมื่อเด็กอายุ
5 ขวบ จะสามารถทำนายอนาคตทางคุณธรรมของเด็กได้ว่า มีโอกาสที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เห็น
แก่ตัว สาเหตุที่ลูกไม่เชื่อฟังมักเกิดจาก คำพูดของพ่อแม่ที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ พูดแล้วไม่ปฏิบัติตามที่สิ่ง
ที่ตนพูด เช่น พอบอกลูกว่า “หยุด” “ไม่ได้นะเดี๋ยวแม่จัดการนะ” แต่พอลูกไม่ปฏิบัติตาม แม่ก็
ไม่มีการปฏิบัติการจัดการอะไร มีแต่บ่นหรือหัวเสีย ต่อไปคำพูด “หยุด” “ไม่” ไม่มีความ
หมายในสมองเด็กเลย ผมขอเน้นว่าเด็กต้องเชื่อฟังและเคารพ เพราะพ่อแม่ที่เผด็จการดุมาก
เด็กอาจเชื่อฟังแต่ไม่เคารพก็ได้ พ่อแม่ก็ต้องทำตัวให้น่าเคารพด้วย

2. สอนว่าสิ่งใดถูกหรือผิด มีผู้ต้องตนเป็นผู้รู้แนะนำว่า เราควรปล่อยให้เด็กคิดเอง
ตัดสินใจเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่เด็กต้องการปลูกฝังในสิ่งที่ถูกต้องด้วย ปัจจุบันนี้เราพบว่าเด็กของ
เราไม่รู้จักเลือกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ไม่ทราบว่าขนมนี้ควรซื้อหรือไม่ ของเล่นชนิดนี้ดีหรือไม่ ควรดู
ภาพยนตร์บางเรื่องหรือไม่ ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นเพราะพ่อแม่เองก็ไม่รู้หรือไม่ เอาใจใส่ในการสอน
เรื่องคุณค่า ค่านิยมของการดำเนินชีวิตว่าเรื่องใดถูกหรือผิดเป็นเรื่องสำคัญมาก พ่อแม่ไม่ต้อง
กลัวว่าจะเป็นการยัดเยียดทางศีลธรรม หรือทำให้เด็กเก็บกด เด็กจำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังใน
คุณค่าที่ถูกต้อง เช่น ความรัก ความประพฤติชอบ ความสงบ ความจริง การไม่เบียดเบียน ฯลฯ

มีแม่ลูกคู่หนึ่งซึ่งยากจนมากแม่จะแบกลูกไว้บนบ่าพาลูกไปทำงานรับจ้างเล็ก ๆ
น้อย ๆ ตั้งแต่เล็ก ๆ จนลูกชอบหยิบฉวยของใครในตลาดแม่ก็ดีอกดีใจชมว่าลูกเก่ง สามารถเอา
ตัวรอดได้แน่ เมื่อโตขึ้นนิสัยชอบลักเล็กขโมยน้อยก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนเริ่มจี้ปล้นมีจิตใจเหี้ยมโหด
มากขึ้น ครั้งหนึ่งเขาไปปล้นร้านทองแล้วฆ่าเจ้าของร้านตาย ต่อมาถูกตำร??จจับได้ส่งฟ้องศาล
ประหารชีวิต ก่อนถูกประหารเขาขอพบหน้าแม่สักครั้งหนึ่ง ผู้คุมและตำรวจต่างพากันแปลกใจว่า

เจ้าโจรใจอำมหิตคนนี้ยังมีความกตัญญูด้วยเมื่อเขาพบหน้าแม่สิ่งแรกที่เขาทำคือตรงเข้าไปตบหน้า

แม่พร้อมกล่าวว่า “เป็นเพราะแม่แท้ ๆ ผมจึงถูกประหารชีวิต เมื่อตอนผมเป็นเด็ก ผมขโมยหยิบ
ของคนอื่นแม่ก็ชมว่าเก่ง แล้ววันนี้ผมเป็นอย่างไร”

3. สอนลูกให้มีความรัก มีผู้รู้พบว่าหัวใจของคุณธรรมคือ เรื่องของความรัก ความ
เมตตา ถ้าอยากให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์มีคุณธรรมมากและมีความสุขด้วย หัวใจที่สำคัญ
คือ การสอนลูกให้มีความรักมาก ๆ รู้จักให้ รู้จักอภัย เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ตัวอย่างเช่น เราควร
สอนลูกให้เห็นอกเห็นใจคนที่สถานภาพต่ำกว่าเรา ยินดีในสิ่งที่ดี ๆ ที่คนอื่นมี และพอใจในสิ่งที่ตน
เองมีอยู่เรายังใช้หลักการนี้ในการฝึกวินัยด้วย เช่น ถ้าลูกไปรังแกน้องพ่อแม่ควรจะบอกกับเด็กว่า
“แม่เสียใจที่ลูกรังแกน้อง ลูกลองคิดดูซิว่าถ้ามีคนมารังแกลูก ลูกจะรู้สึกอย่างไร” เพื่อให้เด็ก
พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นที่ถูกตนกระทำ

ท่านสัตยาไสกล่าวว่า เมื่อความรักปรากฏออกมาในการกระทำ เราก็มีความ
ประพฤติชอบ เมื่อความรักปรากฏออกมาในอารมณ์ เราก็มีความสงบ เมื่อความรักปรากฏออก
มาในความคิดเราก็แสวงหาความจริง เมื่อความรักปรากฏออกมาในความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
ความรักเป็นหัวใจในการเปลี่ยนแปลงของลูกเราครับ

4. สอนลูกให้คิดก่อนทำ ถ้าอยากรู้ว่าใครเป็นคนมีการศึกษามีวัฒนธรรมหรือไม่
เราไม่ต้องดูจากปริญญาหรือชาติตระกูลครับ .

ผลที่เกิดจากการกระทำว่าเป็นเช่นไร กระทบใครหรือไม่ คนที่ก่อให้เกิดปัญหามักจะเกิดจากการที่
มิได้คิดก่อนทำ เช่น โกรธก็แสดงออกทันที อยากได้อะไรก็เอาให้ได้ทันที มีการทดลองพบว่า เด็ก
ที่รู้จักรอคอย รู้จักคิดก่อนทำจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จและมีความสุขมากกว่า
พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย มิใช่คอยรีบหาของให้ ตามใจลูกมากจนลูกคอยไม่เป็น

5. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กจะเรียนจากสิ่งที่พ่อแม่เป็นมากกว่าสิ่งที่พ่อแม่สอน
โดยการพูด หากต้องการให้ลูกพูดไพเราะ พ่อแม่ก็ต้องพูดไพเราะ เมื่อเห็นลูกมีลักษณะอย่างไร
ก็ควรยึดถือว่าเป็นภาพสะท้อนถึงตัวพ่อแม่เองอาจมีลักษณะเช่นนั้นด้วย พ่อแม่ที่คอยพร่ำสอนลูก
ว่าอย่าโกหก แต่พอโทรศัพท์ดังขึ้นพ่อก็บอกลูกว่า “บอกเขาไปว่าพ่อแม่ไม่อยู่” ในที่สุดเด็กจะอ่าน
พ่อแม่ออกอย่างทะเลุปรุโปร่งและเลียนแบบในสิ่งที่เขาเห็น

พ่อแม่ที่มีลูกก้าวร้าว

การใช้ความรุนแรง ความก้าวร้าวเป็นปัญหาสำคัญของเด็กและผู้ใหญ่ในโลกของเรา
ความก้าวร้าวมีความต่อเนื่องทางพัฒนาการ หมายถึง ถ้าเป็นเด็กก้าวร้าวพอโตขึ้นความก้าวร้าว
มักคงอยู่ต่อไปและมักจะเพิ่มมากขึ้นความก้าวร้าวในเด็กใช้ทำนายอนาคตได้ดีมาก ฉะนั้นหากพ่อ
แม่พบว่าเด็กก้าวร้าวจะต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไข ปัจจุบันเราพอทราบว่าครอบครัว
ลักษณะอย่างไรทำให้เด็กก้าวร้าว ดอกเตอร์แพทเทอร์สัน ที่โอเรกอนในสหรัฐอเมริกาได้เสนอผล
งานวิจัยที่กลายเป็นคลาสสิกแล้วเกี่ยวกับลักษณะของครอบครัวที่มีลูกก้าวร้าว มีลักษณะ 4 อย่าง
ในข้อ 1 ถึงข้อ 4 ต่อไปนี้ ส่วนข้อ 5 เป็นผลงานสรุปรวมงานวิจัยอื่น ๆ ของครอบครัวที่มีลูกก้าวร้าว

1. ไม่มีกฎเกณฑ์ บ้านที่ไม่มีกฎเกณฑ์คือบ้านที่ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ลูกจะทานข้าว
ดูทีวีนอนเวลาไหนก็ได้ ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครคาดหวังว่าเด็กควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
2. ไม่ดูแลลูก พ่อแม่ไม่มีเวลา หรือไม่สนใจดูแลติดตามพฤติกรรมของลูก ไม่ว่าลูก
ไปทำอะไรที่ไหน ไม่ว่าลูกนึกคิดอย่างไร ฉะนั้นพ่อแม่จึงไม่ทราบว่าลูกทำอะไรผิดมา จะแก้ไข
อย่างไร
3. ไม่ฝึกวินัย พ่อแม่ที่มีลูกก้าวร้าว ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ลูกไม่เคยฝึกวินัย เวลาลูก
ทำดีไม่ชม ทำผิดก็ไม่ว่า พ่อแม่มักใช้วิธีบ่นด่าว่าในการฝึกวินัยซึ่งมักเป็นไปตามอารมณ์ของพ่อ
แม่มากกว่าความผิดของเด็ก เช่น บางวันถ้าพ่อแม่อารมณ์ดี ลูกคนโตแกล้งน้องพ่อแม่ก็พูดดีไม่
ว่าอะไร แต่ถ้าพ่อแม่อารมณ์เสียมาก่อนก็จะอาละวาด อารมณ์ที่ไม่คงเส้นคงวานี้ทำให้เด็กสับสน
มากว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
วิธีการฝึกวินัยที่ดี คือ บอกเด็กก่อนว่าเราคาดหวังว่าเขาควรมีพฤติกรรมอย่างไร
เมื่อเขาทำได้ดีก็ชมให้รางวัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเงินหรือสิ่งของเสมอไป แต่เมื่อเขาทำผิดก็ต้อง
ได้รับโทษของการกระทำผิด อย่าใช้วิธีดุด่าประนา?ทำให้เขาเจ็บ เช่น “ทำไมเป็นเด็กเลวอย่างนี้”
แต่ให้พูดที่พฤติกรรมที่เขาทำผิด เช่น “การที่ลูกพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่ดี” ลูกทำเช่นนี้แม่จำเป็น
ต้องตัดค่าขนมลูกในวันพรุ่งนี้” การวิจัยพบว่า เราสามารถแสดงสีหน้าท่าทางไม่พอใจเล็กน้อย
บวกกับน้ำเสียงที่เปลี่ยนไป เช่น ดังขึ้นเล็กน้อยซึ่งกลับเป็นผลดี แต่ขอเน้นว่าอย่าใช้อารมณ์
อย่าใช้เสียงดัง

4. แก้ปัญหาไม่เป็น เมื่อครอบครัวมีปัญหาก็ไม่จัดการให้เรียบร้อย หรือใช้วิธีจัดการ
ไม่ถูกต้อง เช่น ลูกตีเพื่อนพอครูรายงานมา พ่อแม่ก็จัดการตีลูกพร้อมกับเสนอว่า “อย่าไปตีคน

อื่นเขา” อันนี้เป็นตัวอย่างการแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง แทนที่จะใช้สติ ใช้ความอดทนและความรัก
บอกกับลูกว่า “แม่เสียใจมากที่ลูกตีเขา การตีคนอื่นเป็นสิ่งที่แม่ยอมรับไม่ได้ ลองบอกแม่ซิว่าเกิด
อะไรขึ้นลูกจึงทำเช่นนี้” แล้วค่อยสอนลูกว่าควรจัดการกับปัญหาอย่างไรด้วย ความสงบ เราไม่
สามารถสอนเด็กไม่ให้ก้าวร้าวโดยวิธีที่ก้าวร้าว

5. ทำให้ลูกเจ็บ อันนี้หมายถึง เจ็บทั้งกายหรือเจ็บใจก็ได้ การศึกษาพบว่าพ่อแม่มี่
ทำทารุณกรรมทั้งทางกายและจิตใจ ลูกโตขึ้นจะเป็นเด็กก้าวร้าว มีปัญหา และเมื่อโตเป็นพ่อแม่ก็
จะไปทำความรุนแรงกับลูกของเขาอีกต่อไป เด็กก้าวร้าวถ้ามองให้ลึก ๆ แล้วมักเป็นเด็กที่ไม่มี
ความสุข มีความเจ็บปวดอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ คนที่มีความสุขจะไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์
มีแต่เฉพาะคนที่มีความทุกข์เท่านั้นที่ทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ วิธีการทำให้เด็กเจ็บ ได้แก่ การดุด่า
การประนาม เช่น ด่าว่า “เอ็งมันเลว” พูดเสียสีถากถาง ดูถูก เฆี่ยนตี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ฝังแน่นใน
หัวใจเด็กและปรากฎออกมาในพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก
พ่อแม่บางคนบอกว่าเขาไม่ทำให้เด็กเจ็บบ่อยนัก การศึกษาพบว่า เพียงสิบครั้งในร้อย
ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกที่รุนแรงอย่างมาก ในทางไม่ดี
ก็เพียงพอที่จะทำให้เด็กเป็นคนก้าวร้าว อันธพาลได้
หมายความว่าคุยกับลูก 100 ครั้ง มี 10 ครั้งที่พูดรุนแรงดังกล่าวข้างต้นก็เพียงพอแล้วที่มีผลต่อลูก



เทคนิคในการเลี้ยงลูก

เทคนิคที่สำคัญที่สุด คือความรัก แต่ความรักต้องไปคู่กับกฎเกณฑ์ ภาษาอังกฤษคือ
Love กับ Law ต้องไปคู่กัน เพราะถ้ารักอย่างเดียวมักจะนำไปสู่การรักที่ผิด ตามใจมากจนทำให้
เสียเด็ก แต่ถ้ามีกฎเกณฑ์โดยปราศจากความรักมักจะนำไปสู่เผด็จการ อันนำไปสู่การเก็บกด
ของเด็ก ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผมอยากฝากเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้คุณพ่อแม่ลองนำไปปฏิบัติดังนี้

1. เล่านิทานดี ๆ ให้ดูทีวีน้อย ๆ ท่านมหาตมคานธีท่านเล่าว่า ท่านเปลี่ยนชีวิต
เพราะนิทาน 2 เรื่อง คือ เรื่องกษัตริย์หริจันทร์ผู้ยึดมั่นในความจริง และเรื่องของเด็กกตัญญู
นิทานมีพลังมากมากมายในการเปลี่ยนแปลงเด็ก ผมใช้นิทานในการรักษาเด็ก เทคนิคหนึ่งที่ผม
ใช้รักษาครอบครัวคือ ให้พ่อแม่ไปหานิทานดี ๆ เล่าให้ลูกฟัง การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังมี
ประโยชน์หลายอย่าง คือ พ่อแม่ต้องเลือกสรรนิทานที่ทำให้คิด มีคุ้ณค่า พ่อแม่เองก็ไดประโยชน์
จากนิทานสอนใจ ครอบครัวก็มีความสุขด้วยกัน
ตัวอย่างนิทาน ความสุขอยู่ที่ไหน คือมีคุณยายท่านหนึ่ง กำลังหาของอยู่ริมถนน
หาอยู่นานก็ดูเหมือนไม่เจอะไร สักพักหนึ่งก็มีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเดินมาถามว่า “คุณยายหาอะไร


อยู่หรือ ให้พวกผมช่วยไหมครับ” ยายตอบว่า “ยายหาเข็มเย็บผ้า” กลุ่มวัยรุ่นเลยช่วยกันหา
พักใหญ่ไม่เจอเลยถามคุณยายว่า “คุณยายทำเข็มตกที่ไหนหรือครับ” ยายตอบว่า “อ๋อ ยายทำ
ตกในบ้านแต่บ้านยายไม่มีไฟฟ้าในบ้านจึงมืด ข้างนอกสว่างดี ยายเลยมาหาเผื่อเจอบ้าง” พวก
วัยรุ่นได้ยินแล้วหัวเราะแล้วพากันเดินหนีไป ชีวิตของเราก็คล้ายคุณยายครับ ถ้าถามว่าความสุข
หายไปจากที่ไหนทุกคนตอบได้ว่าหายไปจากจิตใจของเรา แต่เรากลับไปหาจากข้างนอก เช่น
ตามห้างสรรพสินค้า ตามบาร์ หรือแสวงหาวัตถุต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยลืมหาในจิตใจของเรามันก็
ไม่พบเท่านั้นเอง

เรื่องดูทีวีน้อย ๆ นี้ก็สำคัญ ปัจจุบันนี้ทั้งเด็กและพ่อแม่ติดทีวีมาก ทันทีที่กลับถึงบ้าน
หลายคนเปิดดูทีวีก่อน หลายคนมีทีวีแทนพี่เลี้ยง ดูทีวีกันวันละหลายชั่วโมง อันนี้อันตรายมาก
เราคงไม่ปล่อยให้คนแปลกหน้ามาเลี้ยงลูกวันละหลายชั่วโมง มาสอนอะไรก็ไม่ทราบ แต่เรากลับ
ปล่อยให้ทีวีซึ่งเป็นคนแปลกหน้าดี ๆ นี่เองมาสอนลูกเรา ผลเสียจากการดูทีวีมาก ๆ มีดังนี้

-ทำให้ก้าวร้าว เด็กเลียนแบบความก้าวร้าวเลียนแบบ??ิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง
เห็นความก้าวร้าวจนเคยชินจนคิดว่าเป็นธรรมดา
-ทำให้ฉลาดน้อยลง การศึกษาพบว่า เด็กที่ดูทีวีมาก สมองจะทำงานระดับ
ตื้น ๆ (responding level) คือ แค่เห็นแล้วเทียบกับความจำเก่า เพราะว่าทีวีอธิบายจัดภาพให้ เสร็จ เด็กอาจดูเหมือนฉลาด พูดเก่ง แต่โดยมากมักจะพูดจากความจำระดับตื้น ๆ แต่ถ้าพ่อแม่
เล่านิทานให้ลูกฟัง เด็กต้องใช้จินตนาการสูงมากในการนึกภาพตาม
ตอนนี้สมองได้มีโอกาส
ทำงานระดับลึก (reflecting level) ต่างจากนิทานที่ทีวีเล่าให้ฟัง ทีวีจะทำให้เสร็จหมด ในที่สุด
เด็กจะกลายเป็นคนไม่คิดลึก จับจดสมาธิไม่ดี พ่อแม่มักบอกว่าเวลาดูทีวีสมาธิดี แต่พอให้ทำ
อย่างอื่นสมาธิกลับสั้น

2. มีดนตรีในหัวใจ ดนตรีหรือเพลงที่ดี มีอิทธิพลต่อสมองเด็กมาก ทำให้สมาธิและ
จินตนาการของเด็กดีขึ้น เราสามารถปลูกฝังคุณค่าที่ดีโดยผ่านเพลงที่ดีให้กับเด็กได้โดยง่าย
พ่อแม่ควรเลือกประเภทของดนตรีและเพลงร่วมกับลูก ไม่ควรส่งเสริมให้เด็กฟังเพลงที่รุนแรง
ไร้สาระ สนุกไปคราว ๆ แต่ควรฟังเพลงเบา ๆ ที่มีคุณค่าแทรกอยู่ในเนื้อเพลงด้วย ถ้ามีโอกาสควร
ส่งเสริมให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีเป็นสักอย่างหนึ่ง จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าเป็นเครื่องดนตรีไทยหรือ
สากล เช่น เปียโน อิเล็กโทน ฯลฯ การฝึกให้เล่นเป็นจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กเอง เช่น การฝึก
วินัย จังหวะ ความอดทน และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในอนาคต
3. แทรกคุณธรรมเมื่อมีโอกาส เมื่อมีโอกาสพ่อแม่ควรพยายามแทรกคุณธรรมใน
การพูดคุยหรือการสอน เช่น สอนเรื่องต้นไม้กับเด็ก อย่าหยุดแค่ที่ต้นไม้ ควรชี้ให้ลูกเห็นด้วยว่า

“ดูต้นไมซิลูก มันให้ร่มเงากับทุกคน ไม่ว่าคนที่มาพักใต้ต้นไม้จะเป็นคนรวย จน ดี หรือไม่ดี มัน
.ไม่แบ่งแยก ชีวิตของเราก็เช่นกัน ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ให้ร่มเงากับทุกคน เราควรช่วยเหลือทุก
คนที่มาขอความช่วยเหลือจากเรา” หรือสอนเรื่องภูเขา เราอาจแทรกคุณธรรมของความอดทนลง
ไปได้ “ลูกดูภูเขาซิลูกไม่ว่าฝนจะตก แดดจะแรง พายุจะพัดถล่ม ภูเขาก็ตั้งตรงแข็งแรงเป็นสง่า
จิตใจเราก็ควรเป็นเช่นภูเขา ใครจะว่า ใครจะชม ใครทำดีหรือไม่ดีกับเราเราไม่ควรหวั่นไหวเรา
ควรทำจิตใจให้เหมืูอนภเขา”

4. พ่อแม่ปรองดอง ครอบครัวเปรียบเสมือนประเทศ พ่อแม่เปรียบเสมือนรัฐบาลที่
ปกครองประเทศ รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลผสมใหญ่สองพรรค คือ พรรคพ่อ พรรคแม่ ซึ่งรัฐบาลผสม
ที่ดีต้องมีเอกภาพพ่อแม่ไม่ทะเลาะกัน ไม่แตกแยก มิฉะนั้นประเทศชาติพังแน่ ครอบครัวก็เช่นกัน
พ่อแม่ควรทำความเข้าใจกันให้ดีการทะเลาะเบาะแว้งที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีการใช้กำลังกัน การมี
สงครามเย็นในบ้านก็เป็นอันตรายเช่นกัน การที่ครอบครัวไม่สงบจะรบกวนการฝึกวินัยของลูก
ความอบอุ่นในบ้านก็เสีย ความภูมิใจในตนเองของเด็กก็จะไม่ดี รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสำหรับ
เด็กในการแก้ปัญหา เด็กเห็นมาตั้งแต่เล็กว่าคนที่สำคัญที่สุดของเขากลับใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องใน
การแก้ปัญหา เช่น ทะเลาะกัน หรือใช้ความรุนแรง

5. ฝกเด็กให้มีสมาธิึสมาธิที่ดีเป็นหัวใจของการแสวงหาความรู้ เด็กสองคนฉลาด
พอกัน เด็กที่มีสมาธิดีกว่าจะก้าวหน้ามากกว่า อย่าให้เด็กทำหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
เช่น ดูทีวีพร้อมกับรับประทานอาหารซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี แบ่งแยกความสนใจ ฝึกเด็กให้ทำ
อะไรให้เสร็จทีละเรื่อง เล่นของเล่นทีละอย่าง มีใจจดจ่ออยู่ในงานที่ทำ

สรุป

มีบัณฑิตคนหนึ่งจบปริญญาเอก เขาภูมิใจว่าเป็นคนที่มีความรู้สูง อยู่มาวันหนึ่งเขา
ต้องกลับบ้านเดิมของเขาซึ่งต้องอาศัยเรือจ้าง ระหว่างทางบัณฑิตคนนี้ก็หันไปถามลุงเรือจ้างว่า
“ลุงครับรู้จักตลาดหุ้นไหม ตลาดหุ้นมันเปลี่ยนมากเลยนะลุง” ลุงตอบว่า “ลุงไม่รู้จักหรอกครับ
ลุงรู้จักแต่ตลาดสดขายผัก ตลาดหุ้นขายอะไรหรือ” บัณฑิตตอบว่า “ถ้างั้นชีวิตลุง 25 เปอร์เซ็นต์
เสียไปโดยเปล่าประโยชน์เพราะไม่รู้จักตลาดหุ้น” สักพักหนึ่งบัณฑิตถามต่อว่า “ลุงรู้จัก สสร. ไหม
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ลุงก็ไม่รู้จักอีก “ถ้างั้น 50 เปอร์เซ็นต์ของชีวิตลุงเสียไปโดยเปล่า
ประโยชน์” อีกสักพักหนึ่งบัณฑิตก็ถามว่า “ลุงถามจริง ๆ เถอะ อะไรลุงก็ไม่รู้จักยุคนี้เป็นยุคข้อมูล
ข่าวสาร ลุงติดตามหรือเปล่า ที่บ้านมีโทรทัศน์ไหม” ลุงตอบว่า “ไม่มี” บัณฑิตจึงพูดว่า “โอ้โห
ยังมีคนแบบนี้ในโลกอีกหรือ 75 เปอร์เซ็นต์ของชีวิตลุงเสียไปโดยเปล่าประโยชน์” ต่อมาอีกไม่นาน
เกิดพายุใหญ่เรือคว่ำทั้งสองคนจมลงไปในน้ำ บัณฑิตว่ายน้ำไม่เป็นลุงจึงถามว่า “คุณ เป็น
อย่างไรบ้างครับ” “ช่วยด้วย ช่วยด้วย ผมว่ายน้ำไม่เป็น” บัณฑิตตอบ ลุงจึงบอกว่า “ผมเกรงว่า
100 เปอร์เซ็นต์ของชีวิตคุณกำลังจะเสียไปแล้ว”

ชีวิตเราคล้ายกับบัณฑิตคนนี้ครับ เรารู้มากมาย เราอยากรู้โน่นรู้นี่ แต่ว่ายน้ำในแม่น้ำ
ของชีวิตไม่เป็น เราไม่รู้ว่าควรจะดำเนินชีวิตอย่างไรจึงจะมีความสุขที่แท้จริง เราจะสอนอะไรเด็ก
ของเราดี อะไรสำคัญในชีวิตฝากให้ท่านผู้อ่านคิดด้วยนะครับ

ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ทุกคนมีความรักเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น ทุกคนรักลูก
อยากให้ลูกเป็นคนดี งานวิจัยพบว่า การเลี้ยงลูกออกมาไม่ดีมักเกิดจากการที่พ่อแม่มีความเครียด
มีการจัดการกับตัวเองไม่ได้ดี ฉะนั้นหน้าที่หลักอันแรกคือ การที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง
เสียก่อน จากนั้นก็พยายามเข้าใจลูก ให้ Love และ Law คือ ความรักกับระเบียบวินัยไปด้วยกัน
ลูกก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ได้ คือ ทั้งเก่ง ทั้งดี ทั้งมีความสุขเข้าใจตน เข้าใจผู้อื่น
เข้าใจโลก เป็นมนุษย์ที่เต็มด้วยคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

พ่อแม่ควรมีสุขภาพจิตดี มีการศึกษาถึงคนที่สุขภาพจิตดีเลิศ พบว่าคนที่มีสุขภาพ
จิตดีมาก ๆ มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ

1. มองโลกในแง่ดีมาก ๆ เป็นมิตรกับผู้คน คนรู้สึกอบอุ่นในเมื่อได้ใกล้ชิด
2. มีความรักมาก รู้จักให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้อภัยได้เสมอ
3. ยึดมั่นในอุดมคติที่สากล คือ คนเหล่านี้ยึดมั่นในธรรมที่สูงสุดในศาสนาตน หรือ
ถ้าไม่นับถือศาสนาอะไรก็ยึดมั่นในความรักในเพื่อนมนุษย์ในขอบเขตที่กว้างออกไปไกล นอก
เหนือจากการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง หรือครอบครัวของตน โดยสรุปคือเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวมีคุณค่า
ของความเป็นมนุษย์สูง
เรื่องการมองโลกในแง่ดี เราควรฝึกครับ ปวดหัวก็คิดเสียว่าก็ยังดีที่มีหัวให้ปวดอยู่
ถูกแมงป่องกัดก็คิดว่ายังดีที่ไม่ถูกงูกัด มีนิทานเล่าว่า

ครั้งหนึ่งมีพระราชาองค์หนึ่ง มีมหาดเล็กรับใช้ซึ่งมองโลกในแง่ดีมาก ไม่ว่าจะเกิดอะไร
ขึ้นมหาดเล็กก็จะบอกว่า “ดีครับ” ในทุก ๆ เรื่อง จะมีแต่บอกว่า “ดีครับ” อยู่มาวันหนึ่งพระราชา
ทรงทำมีดบาดมือ มหาดเล็กเห็นเข้าก็บอกว่า “ดีครับ” พระราชากริ้วมาก หาว่ามหาดเล็กล้อ
เลียนจึงรับสั่งให้จับมหาดเล็กไปขังคุก มหาดเล็กก็บอกว่า “ดีครับ” พระราชาทรงมีเวลาว่างมาก
จึงออกไปล่าสัตว์ในป่า ระหว่างนั้นได้เจอคนป่าเผ่าหนึ่ง จับตัวเพื่อไปทำพิธีบูชายัญเผาทั้งเป็น
ขณะที่กำลังเผา คนป่าก็เหลือบไปเป็นแผลที่มือจึงปล่อยตัวเป็นอิสระ เพราะถือว่าเป็นคนไม่ บริสุทธิ์ ใช้ประกอบพิธีไม่ได้ พระราชาจึงเข้าใจว่าที่มหาดเล็กพูดว่า “ดี” นั้นมีความหมาย การที่
มีดบาดมือครั้งนั้นทำให้รอดชีวิตคราวนี้ แต่ยังไม่เข้าใจว่าติดคุกดีอย่างไรจึงเข้าไปในคุกถาม


มหาดเล็กว่า “ข้าเข้าใจแล้วว่ามีดบาดมือนั้นดี แต่ลองบอกซิว่าติดคุกนั้นดีอย่างไร” มหาดเล็กตอบ
ว่า “ดีสิครับ ถ้าผมไม่ติดคุกผมก็ต้องตามพระองค์เข้าไปในป่าด้วย เมื่อพระองค์ถูกปล่อยตัว
เพราะมีแผล ผมคงต้องถูกเผาทั้งเป็นแทนพระองค์แน่ เพราะตัวผมไม่มีแผล ฉะนั้น การติดคุกได้
ช่วยให้ผมรอดชีวิตครับ” พระราชาทรงดีพระทัยมาก รับสั่งให้ปล่อยตัวมหาดเล็กเป็นอิสระ เป็นคู่
คิดในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

เด็กคนใดเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีสุขภาพจิตที่ดีมาก ก็ถือเป็นโชคเป็นบุญวาสนาของ
เด็กคนนั้น สุขภาพจิตดีเป็นสิ่งที่พัฒนาให้เกิดขึ้นได้ ถ้าพ่อแม่พร้อมจะมองตนเองอย่างจริงใจเพื่อ
การเปลี่ยนแปลง

พ่อแม่มี 3 ประเภท ครับ

1.พ่อแม่ที่ชอบบ่น อันนี้ไม่ค่อยดีครับ
2. พ่อแม่ที่ชอบสอน อันนี้ดีขึ้น แต่เราต้องการพ่อแม่ประเภทสุดท้าย คือ
3. พ่อแม่ที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นตัวอย่างกับลูกอย่างสมบูรณ์แบบ พูดตรงกับทำ
ทำตรงกับพูด มีความรัก ความสงบ มีความประพฤติชอบ ยึดมั่นอยู่กับความจริง ไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น

ยาเสพติดป้องกันได้ ถ้าใส่ใจในครอบครัว

Views: 481

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by อรนภา (แม่เจี๊ยบ & น้องวิน) on October 15, 2009 at 12:05am
เป็นข้อมูลที่ดีจริง ๆ ขอบคุณมากนะครับ
Comment by Samita Srimachaporm on October 13, 2009 at 12:47pm
ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆ ที่นำมาฝากค่ะ
Comment by สุจิรา on October 13, 2009 at 12:13am
ดีมากเลยค่ะ ชอบมาก ประทับใจค่ะ
Comment by Jija on October 12, 2009 at 1:38pm
บทความดีมาก ๆ เลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
Comment by Wiriyaporn on October 12, 2009 at 10:54am
ขอบคุณมากค่ะที่นำบทความดีดีมาให้อ่านกัน

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service