เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ลูกอายุ 1.6 ขวบแต่มักมีนิสัยเอาแต่ใจถ้าต้องการอะไร จะใช้วิธีร้อง

เคยไปปรึกษาหมอเด็กเหมือนกันว่า ทำไมถึงเป็บแบบนี้ หมอบอกว่าส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาเบื้องตันของเด็ก วัย ตั้งแต่ 1.2 ขวบ จนถึงก่อน 2ขวบ จะมีอาการเหมือนเอาแต่ใจ เป็นสิ่งที่เด็กเค้าแสดงออกมาเพื่อให้เรา รู้ว่า เค้า ต้องการอะไร แต่เราต้องมีวิธีการรับมือ คื อ

1. เพิกเฉย

2. เบี่ยงเบนความสนใจ

3. หักดิบ

 

ลองทำทุกอย่าง เลยยังมีอาการเดิมเลยคะ ใครประสบแบบนี้บ้างคะ

Views: 7902

Replies to This Discussion

กอดเยอะๆค่ะ สำหรับแพท ถ้าลูกอาระวาด งอแง แพทจะเอาลูกมากอดก่อนเลย ถ้าเค้าร้องโวยวายเสียงดัง แพทก็จะดึงหัวเค้ามาซบที่อก กอดจนกว่าเค้าจะนิ่ง แล้วค่อยคุยกันค่ะ ทุกวันนี้เวลาเค้างอนเค้างอแง ก็ยังกอดแบบนี้อยู่ ให้สงบแล้วก็นั่งคุยกันดีๆ

 

http://manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000029334

กอดปรับพฤติกรรมได้อย่างไร
       
       บ่อยครั้งที่ลูกวัยเด็กเล็กมักมีปัญหาเรื่องการแสดงอารมณ์เอาแต่ใจตัวเอง อาละวาด และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ สร้างความกลัดกลุ้มใจให้คนเป็นพ่อแม่ ไม่รู้จะจัดการปัญหานี้อย่างไร บางคราก็ลงเอยด้วยการยอมตามใจลูก เพราะไม่อยากให้ลูกอาละอาด หรือไม่ก็อยากให้เรื่องจบๆ ไป โดยหารู้ไม่ว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับเด็กเพิ่มมากขึ้น เพราะเขาจะคิดว่าถ้าทำวิธีนี้ แล้วจะได้รับการตอบสนอง ฉะนั้น ถ้าอยากได้อะไรก็จะยิ่งแสดงอารมณ์กราดเกรี้ยว หรือพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เคยกระทำ แล้วได้รับการตอบสนอง
       
       วิธีแก้ไขด้วยการกอดต้องมีขั้นตอน
       
       หนึ่ง ต้องเข้าใจก่อนว่าวัยเด็กเล็กยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เขายังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่มีพื้นอารมณ์ร้ายด้วย จำเป็นต้องใช้วิธีนุ่มนวลและอ่อนโยนด้วยความรัก
       
       สอง พ่อแม่ต้องสงบสติอารมณ์ให้ได้ก่อน เพราะส่วนใหญ่เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา พ่อแม่ก็อารมณ์เสียด้วยเหมือนกัน ยิ่งเจ้าตัวเล็กอาละวาดมากเท่าไร พ่อแม่ยิ่งอารมณ์เสียมากเท่านั้น และเมื่ออารมณ์เสียตามไปด้วย โอกาสที่พ่อแม่จะใช้วิธีโกรธเกรี้ยวด้วย เช่น สั่งให้หยุด ส่งเสียงให้ดังกว่า หรือดุว่าทันที ซึ่งต้องเข้าใจว่ายิ่งทำเช่นนี้ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นไปอีก
       
       สาม สำรวจสภาพแวดล้อมอย่าให้มีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย เพราะช่วงเวลาที่อารมณ์กราดเกรี้ยวจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เด็กบางคนอาจหยิบสิ่งของใกล้ตัวขว้างปา หรือลงไปนอนดิ้น หรืออาจทำร้ายตัวเอง ฉะนั้น พ่อแม่ต้องดูสภาพแวดล้อม ไม่ควรมีสิ่งของแหลมคม หรืออยู่ในพื้นที่ที่อาจเป็นอันตรายได้
       
       สี่ เมื่อพ่อแม่ตั้งสติได้ ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว จากนั้นก็เข้าไปกอดลูก ลูกอาจจะสะบัดหนี คุณควรใช้ท่าทีที่อ่อนโยน นุ่มนวล และพูดกับลูกว่าให้ลูกสงบอารมณ์ก่อน แล้วเดี๋ยวเราค่อยคุยกัน กอดเขาไว้ให้แน่น เขาจะสัมผัสได้ว่าคุณรักเขา อารมณ์เขาจะอ่อนลง
       
       ห้า เมื่อลูกสงบ ก็ชวนให้ลูกสงบอยู่สักพัก ยังไม่ควรพูดคุยถึงปัญหาในขณะนั้น จนกว่าสภาวะอารมณ์ของลูกจะเข้าสู่ปกติ แล้วค่อยชวนกันพูดคุยถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในขณะที่พูดคุย พ่อแม่ก็ควรที่จะสอดแทรกความรู้สึกขณะที่เกิดขึ้นให้ลูกได้รับรู้ด้วย เช่น เมื่อกี้หนูรู้สึกอย่างไร อารมณ์โกรธเป็นอย่างไร แล้วเปรียบเทียบอารมณ์ปกติ กับอารมณ์โกรธให้ลูกได้พูด เขาจะได้เห็นความแตกต่าง
       
       จากนั้นคุณก็ค่อยบอกเขาว่า ขณะนั้นคุณรู้สึกอย่างไร แล้วก็บอกเหตุผลที่ขอให้ลูกสงบลงก่อนแล้วค่อยคุยกัน “แม่จะไม่คุยกับหนูในขณะที่หนูอารมณ์กราดเกรี้ยว” พูดบ่อยๆ ซ้ำๆ ก็จะทำให้ลูกค่อยๆ ปรับท่าที
       
       หก ถ้าเกิดปัญหาอย่างนี้อีก สัญญาว่าจะช่วยกันควบคุมอารมณ์ตัวเองกันก่อน ค่อยๆ ปรับให้ดีขึ้นทีละน้อย อย่าเล็งผลเลิศ เมื่อดีขึ้นก็ต้องชมลูกด้วย
       
       อ้อมกอดของพ่อแม่สามารถปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้หลายสถานการณ์ ขอเพียงพ่อแม่อย่ากังวลอย่าอาย และควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้ แม้อยู่ในที่สาธารณะก็ตาม 
       
       เชื่อเถอะค่ะ…กอดด้วยความรักสามารถสร้างและซ่อมนิสัยของลูกได้ค่ะ

 

น่ารักจังนะคะขอบคุณมากแล้วจะนำไปลองทำดูนะคะ ได้ผลอย่างไรจะรายงานให้ทราบคะ

ได้ผลนะคะเวลาเค้าร้องแล้วเรากอดเค้าแต่ต้องใจเย็นนะคะขอบคณมากเลยคะ

 

ด้วยความยินดีค่ะ
จะนำไปทดลองใช้นะคะ แล้วจะแจ้งผลให้ทราบคะ เพราะลูกสาววัย 1 ขวบ 8 เดือน ก็พบปัญหานี้เช่นกัน

เวลากอด เอาแขนเค้าให้อยู่ในวงแขนเรานะค่ะ จะได้ดิ้นไม่ได้ ไม่งั้นเดี๋ยวคุณแม่น่วมค่ะ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณคะสำหรับคำแนะนำ

ขอบคุณมากคะสำหรับคำแนะนำดีๆเพราะลูกชายก็เป็นเหมือนกันทุกวันน้ก็พยายามกอดเค้าเหมือนกันและก็จะโอ้เค้าจนกว่าจะหยุดร้องค่ะ

เคยใช้วิธีเพิกเฉยเพราะไม่อยากให้เค้าได้ใจแต่ก็รู้สึกแย่ที่ทำแบบนั้นครับ จะลองนำวิธีกอดไปใช้กับน้องดูครับ ขอบคุณมากครับ

 

ลูกที่บ้าน 6 เดือน คุณหมอก็ให้ใช้วิธีเพิกเฉยเหมือนกันคะ สงสารเค้าเหมือนกันแต่ถ้าไม่ทำโตไปจะแก้ยากกว่าแต่ประมาณ3-5วันเค้าจะหาย แต่วิธีที่คุณแพทแนะนำน่าสนใจคะจะนำไปใช้

เพิกเฉย -- เคยใช้มาแล้ว ไม่ได้ผล ลูกจะร้องดังขึ้นเรื่อยๆ (คิดว่าแม่ไม่ได้ยิน แม่ไม่เข้าใจ) ลูกดูว่าใครจะทนกว่ากัน สุดท้ายกลายเป็นว่าทุกครั้งที่ต้องการอะไร คราวนี้ร้องดังสุดๆ ตั้งแต่แอะแรกเลยค่ะ (แต่ตอนนี้ไม่เป็นแล้ว)

เบี่ยงเบนความสนใจ  -- รู้สึกเหมือนหลอกเด็กทุกครั้ง แต่แฟนเราใช้ประจำได้ผลดีมาก (เช่น ชี้ให้ดูนั่น นี่ไปเรื่อย) แต่ตัวเองไม่ชอบ รู้สึกสุดท้ายเด็กจับได้ก็จะผิดหวัง ดังนั้นเวลาเราจะหลอกเด็กทีไรจะทำได้ไม่ค่อยดี น้ำเสียงไม่น่าเชื่อถือ เราเลยไม่เคยเบี่ยงเบนสำเร็จ ที่ทำได้ใกล้เคียงคือ ต่อรอง เช่นจะบอกลูกว่า ไปดูเทเลทับบี้ไหม งั้นเลิกเล่นกลับบ้านกัน ...เอาเรื่องที่จะทำจริงๆมาหลอกล่อ

 

มิ้นเชื่อว่าเด็กเป็นแบบนี้เพราะว่า บอกแม่เป็นคำพูดไม่ได้ วิธีแก้ปัญหาคือ พยายามสอนลูกให้พูดเป็นให้เร็วที่สุด หาภาษาใบ้ ภาษาภาพมาสื่อสารกันไปก่อนนะคะ

 

พอลูกเริ่มพูดได้ (3ขวบ) ลูกมิ้นก็ไม่ร้องไห้แล้ว อยากได้อะไรก็พูดเลย 

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service