เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ช่วงประมาณตี1-3 ทุกครั้ง น้องจะร้องไห้ไม่ทราบสาเหตุคะ ทามหาหิงค์แล้ว ก่อนนอนคะ กล่อมอย่างไรก็ไม่หลับต่อ แถมนอนละเมอ ถามว่าเป็นอะไร(ความจริงน้องคุยรู้เรื่อง) เอานมไหม ก็บอกว่าไม่เอา กินน้ำไหม ก็ตอบว่าไม่เอา อ้มพาดบ่า (หนักเอากัน) ก็ยังร้องกอดตัวก็เงียบสักพักก็ร้อง เรียกให้แฟนมาช่วยกล่อม ก็ไม่หลับต่อ ปล่อยร้องจนเหนือยแล้วมาหิวนมแทนจึงจะหลับ ใครมีประสบการณ์แชร์ให้หน่อยคะมีวิธีใดบ้างคะ
ปล.น้องอายุได้ 2.4 ขวบคะ

Views: 5239

Replies to This Discussion

สงสัยฝันร้ายรึเปล่าคะ
ไม่รู้ว่าเปนโคลิคหรือป่าวแต่เลยวัยมาแร้วไม่น่านะคับ สังเกตว่าตอนกลางวันหรือช่วงระหว่างวันลูกเล่นเยอะไปหรือป่าวครับบางทีแกอาจละเมอช่วงดึกได้คับ เด้วถามภรรยาให้เขาเป็นพยาบาลอะคับผม
ขอบคุณคะจะรอคำตอบคะ เพราะว่าเป้นบางวัน เราไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่คะ กลางวันส่งไปโรงเรียนคะ ไม่รู้กลับมาเล่นอีก ตามประสาวัยเด็กเค้า นอนดึกด้วยคะ
6 ปัญหาเรื่องนอนของลูกเบบี๋ (Mother & Care)

รู้ หรือไม่ว่า? ขณะที่ลูกหลับ ร่างกายได้พักผ่อน สมองมีการซ่อมแซม เพื่อสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (FROWTH HORMONE) ก็หลั่งออกมาได้ดี เมื่อตื่นขึ้นมาสมองของลูกจึงพร้อมเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้น การให้ลูกน้อยได้นอนหลับอย่างเต็มที่จึงมีความสำคัญมาก

แต่เด็กแต่ละคนมีนิสัยการนอนที่แตกต่างกันไม่ว่านอนมาก นอนน้อย นอนง่าย นอนยาก หรือไม่ยอมนอน ฉบับนี้ เราจึงค้นหาคำตอบ สารพันปัญหาการนอนของลูก ที่พ่อแม่หลายๆ ท่านอาจจะกำลังปวดหัวกันอยู่

1. นอนกรน

ขณะที่ลูกนอนหลับ คุณอาจพบว่า เสียงหายใจของลูกดัง (ฟี่ๆ) เหมือนเสียงกรนของผู้ใหญ่ อันที่จริงแล้ว การนอนกรนไม่ใช่ปัญหาการนอนโดยตรงของเด็ก เพียงแต่ว่าเด็กเล็กๆ เวลานอนหงาย มักมีเสียงหายใจดัง ฟี่ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

ช่วงแรกเกิด หลอดลมที่อยู่ด้านหน้ากระดูกอ่อนที่เป็นโครงสร้างของหลอดลมยังเจริญไม่เต็มที่ ในเด็กบางคนทำให้หลอดลมหล่นลงมาขัดขวางอากาศที่ถูกหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อลูกหายใจเข้า-ออก จึงเกิดเสียงดัง

เด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจจะมีต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งอยู่ในผนังทางเดินหายใจด้านหลังจมูก มีขนาดโตกว่าปกติ นอกจากนี้ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจมีไขมันอยู่ในทางเดินหายใจด้านหลังจมูกมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย กว่า เมื่อลูกนอนหงาย ต่อมอะดีนอยด์และไขมันอาจจะตกลงมากีดขวางทางเดินหายใจ

สังเกตง่ายๆ ในเด็กกลุ่มนี้ หากนอนหงายเสียงกรนจะดังมากขึ้น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่าเด็กนอนกรนจนตัวเขียว เพราะขาดออกซิเจน เนื่องจากกระดูกบริเวณหลอดลมไม่แข็งแรง ดังนั้น ตราบใดที่พัฒนาการทั่วไปเป็นปกติ ลูกไม่งอแงหรือเศร้าซึม ไม่มีอาการขาดออกซิเจน การนอนกรนถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ เพราะหลังจาก 4-5 เดือนไปแล้ว กระดูกอ่อนบริเวณหลอดลมจะแข็งแรงขึ้นเสียงกรนก็จะหายไป ลูกน้อยจึงสามารถนอนได้ตามปกติ

2. นอนสะดุ้ง

เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคน แค่คุณแม่ ทำให้เกิดเสียงดัง หรือทำให้เกิดการสั่นสะเทือนกับบริเวณที่ลูกนอนอยู่เบาๆ ลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที

ดังนั้น เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายไป ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าห่มปิดทับหน้าอก เพื่อกันการสะดุ้งหรือผวาให้ลูกน้อย เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน อาจทำให้เหงื่อออกเกิดการอับชื้น เป็นผดผื่นที่ผิวหนังตามมาได้

3. นอนน้อย ตื่นบ่อย

ช่วยแรกเกิด วงจรการนอนของเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กเล็กๆ ตื่นบ่อย แต่เมื่อลูกโตขึ้น วงจรการนอนยาวขึ้น ทำให้ลูกหลับได้นาน

รวมทั้งกระเพาะของลูกก็ยังเล็กทำให้ย่อยเร็ว ตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วง 3 เดือนแรก อีกทั้งเด็กแต่ละคน ก็มีรูปแบบการนอนที่แตกต่างกัน บางคนนอนทั้งวันไม่ตื่น หรือหลับๆ ตื่นๆ ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นไปได้ แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนจะนานขึ้น ทำให้เห็นได้ว่าลูกหลับลึกโดยไม่แสดงท่าทีว่ารู้สึกตัวตื่นด้วยการขยับหรือ บิดตัวได้นานมากขึ้น

สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกเรียนรู้ปรับตัว และแยกแยะเรื่องเวลาอย่างชัดเจนตั้งแต่หลังคลอด ด้วยการสร้างบรรยากาศการนอน เช่น เวลากลางวัน ควรให้ห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ปิดทึบหรือมืด ส่วนกลางคืน แสงไฟในห้องไม่ควรสว่างจ้า จนไปรบกวนการนอนของเด็ก

4. นอนนานไม่ยอมตื่น

หากสาเหตุที่คุณแม่กังวลเป็นเพราะลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนม แบบนี้ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกว่า ลูกนอนสบาย เป็นปกติดี ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุกๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม

การ ที่ลูกนอนนาน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญให้ต้องกังวล แต่ให้สังเกตการณ์เจริญเติบโตเรื่องน้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อจะได้ดูแลแก้ไขทัน

5. ไม่ยอมนอน

ปัญหาการไม่ยอมนอน เรื่องใหญ่ที่พ่อแม่เผชิญนั้น ต้องย้อนมาดูว่า ลูกไม่ยอมนอนเพราะอะไร ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม

คุณแม่ควรให้ลูกนอนกลางวันเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด หากลูกนอนเกิน 3 ชั่วโมงควรปลุกให้ตื่น ถ้าลูกไม่หิวไม่เป็นไร อาจหากิจกรรมเรื่องเล่นให้ลูก เพื่อให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง สามารถหลับในตอนกลางคืนได้มากขึ้นส่วนเวลากลางคืนควรสร้างบรรยากาศก่อนนอน หรือเปิดไฟน้อยดวงเท่าที่จำเป็นหากต้องลุกขึ้นมาดูแลลูกในตอนกลางคืน

6. ร้องกวน ตอนนอน

ควรดูแลแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ เช่น ลูกเจ็บป่วย ชื้นแฉะ ไม่สบายตัว ทำให้ลูกต้องงอแงร้องไห้ ตื่นขึ้น แต่หากการร้องของลูก เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในตอนกลางคืน ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปโอบอุ้ม เปิดไฟให้สว่าง หรือให้นมมื้อดึกเพราะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับเด็ก (ร้องไห้ให้อุ้ม ร้องให้โอ๋ทุกครั้ง) แต่ควรให้ลูกได้หลับด้วยตัวเอง หรือปลอบโยนด้วยการแตะเบาๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณอยู่ใกล้ๆ
พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู


ปัญหาการร้องโยเย ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืนของลูกเล็ก ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพ่อแม่หลายคน เพราะอาจกล่าวได้ว่า เวลากลางคืนเป็นเวลาพักผ่อนที่ยาวนานที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ เมื่อลูกร้องก็จะต้องผลัดกันตื่นมาดูแลลูก จนอาจทำให้ทั้งพ่อ และแม่ก็พลอยไม่ได้หลับไม่ได้นอน เสียสุขภาพไปด้วย

ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้อาจแก้ได้ไม่ยาก โดยต้องมองย้อนถึงสาเหตุของปัญหาก่อนว่า เกิดจากอะไร ซึ่งโดยปกติแล้วอาจเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการที่เด็กไม่ได้รับการปลูกฝังให้กล่อมตัวเองนอนตั้งแต่เล็ก หรือแม้แต่เรื่องพื้นอารมณ์ของเด็กก็มีผลอยู่ด้วยเช่นกัน

"พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู" กุมารแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวกับทีมงานในงาน Interactive Workshop 10 บัญญัติ สร้างลูกสมองดี by Baby Love ครั้งที่ 2 ที่บริษัทรักลูก กรุ๊ปว่า "ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากพ่อแม่คนไทยมีความรู้สึกเป็นห่วงลูก ไม่อยากให้ลูกนอนคนเดียว แถมการนอนกับลูกนั้นก็มีทั้งการกอด การกล่อมนอน การตบก้น การลูบหลัง หรือป้อนนมจนหลับ ขณะที่เด็กเล็กในประเทศตะวันตกจะถูกสอนให้รู้จักการกล่อมตัวเองนอน และพ่อแม่จะแยกห้องนอนออกไป เมื่อลูกร้องงอแง หรือตื่นขึ้นมาไม่พบใคร เด็กก็จะสงบลงได้ด้วยตัวเอง"

"หมอเอง ช่วงที่มีลูกคนแรก ก็ตอบสนองลูกเร็วเกินไป เวลาลูกร้องตอนช่วงดึก จะรีบเข้าไปอุ้ม และตบก้นกล่อมให้นอนจนหลับทันที ซึ่งการตอบสนองตรงนั้น ทำให้เรียนรู้ว่า เมื่อลูกร้อง แล้วเข้าไปอุ้มทันที ลูกจะชินกับการอุ้ม หรือถูกกล่อมนอน เวลาตื่นขึ้นมา ไม่มีใครอุ้ม ก็จะร้องเพื่อเรียกแม่ทันที กระทบถึงเวลานอนของแม่ด้วย"

"เมื่อมีลูกคนที่สอง จึงฝึกลูกใหม่ โดยให้นอนคนละเบาะกับพ่อแม่ เวลาลูกร้อง ก็จะทำเฉย หรือถ้าร้องนานหน่อย ก็จะเข้าไปตบก้น หรือหาตุ๊กตามาให้ลูกกอด แต่ทั้งนี้หลัง 6 เดือน ก็ต้องฝึกไม่ให้ลูกทานมื้อดึก หรือกล่อมลูกนอนโดยเอานมให้กิน เพราะจะทำให้เขาชิน ที่สำคัญจะทำให้อ้วน ฟันผุ และฟันเหยินได้ค่ะ"

อย่างไรก็ดี หากลูกตื่นขึ้นมาร้องไห้ตอนกลางคืน คุณหมอแนะนำว่า พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกร้องต่อไปสักพัก เมื่อพ่อแม่ไม่เข้ามาดู เด็กจะหลับไปเอง แต่พ่อแม่ต้องใจแข็งด้วย เมื่อลูกรู้ว่าการร้องไม่ได้ผล เด็กจะเงียบ และไม่ส่งเสียงการร้องอีก แต่ทั้งนี้ต้องไม่ควรทำกับเด็กที่เล็กเกิน 6 เดือน

"เมื่อร้องนานมาก จนคุณแม่รู้สึกสงสาร อาจเข้าไปดู และตบก้นเบาๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจ แต่ต้องทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่กล่อม หรือเข้าไปเอาใจจนเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ลูกชินกับการร้องงอแงและมีคนเข้ามากล่อม ที่สำคัญเมื่อลูกร้อง พ่อแม่ไม่ควรป้อนนมลูก" คุณหมอกล่าว

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตสาเหตุการร้องของลูกด้วย เช่น การที่ลูกเจ็บป่วย ไม่สบายตัว อาจทำให้ลูกร้องไห้และตื่นขึ้นมาตอนดึกได้ แต่หากการร้องของลูก เป็นเพียงช่วงสั้นๆ ในตอนกลางคืน ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปโอบอุ้ม เปิดไฟให้สว่าง หรือให้นมมื้อดึก เพราะจะเป็นการสร้างเงื่อนไขในการนอนให้กับเด็กมากขึ้น

วิธีรับมือที่ได้ผลที่สุด จึงหนีไม่พ้นการให้ความรัก และความอบอุ่นกับลูกอย่างเต็มที่ แล้วเด็กจะมีความสุข ส่งผลให้การนอน เป็นช่วงที่มีความสุขตามไปด้วย นอกจากนี้ ควรให้เด็กเล่น และนอนให้เป็นเวลา ไม่ควรให้เล่นกิจกรรมรุนแรง เพราะจะทำให้เด็กละเมอ หรือฝันร้าย จนสะดุ้งตื่นช่วงกลางดึกได้

อย่างไรก็ดี แม้จะมีมุมมองที่แตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก แต่ในด้านหนึ่ง การดูแลเด็กยามนอนหลับด้วยความเป็นห่วงเป็นใยซึ่งเป็นวิถีของไทยมาแต่โบราณ นั้น ก็มีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในกรณีที่ลูกเกิดเผลอเอาหัวมุดเข้าไปในหมอนจนขาดอากาศหายใจ หรือการเกิดอาการ SIDS (Sudden infant death syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่เด็กนอน แล้วก็ตายโดยที่พ่อแม่ไม่รู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กในประเทศตะวันตก
ขอบคุณมากๆๆคะ เข้าใจแล้ว ต้องใจแข็งขึ้นหน่อยคะ ช่วงนี้ไม่ค่อยร้องกลางดึกแล้วคะ และไม่กินนมก่อนนอน จะเป็นบางวันเท่านั้น แต่ยังนอนดึกอยุ่ ห้ามเท่าไรก็ไม่ได้ ต้องปล่อยให้เขาหลับเอง แต่เรานอนก่อนลูก พอเรานอนลูกก็นอนตาม
พฤติกรรมเลียนแบบครับเป็นกัตั้งแต่เด็กยันผู้ใหญ่ ค่อยๆปรับกันไปคับ
ขอบคุณคะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service