เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

วิธีเก็บรักษานมแม่

เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้  หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ  ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน

สถานที่เก็บ

อุณหภูมิ

ระยะเวลาเก็บ

ตั้งทิ้งไว้

25 C

4-6 ช.ม.

ตั้งทิ้งไว้

19-22 C

10 ช.ม.

กระติกใส่น้ำแข็ง

15 C

24 ช.ม.

ตู้เย็นช่องธรรมดา

0-4 C

8 วัน

ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว  

2 สัปดาห์

ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู

  

4-6 เดือน

ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ

-19 C

6 เดือน หรือมากกว่า

 

  ปริมาณนมที่เหมาะสมสำหรับทารกโดยประมาณ

 

อายุ

ปริมาณต่อมื้อ (โดยเฉลี่ย)

แรกเกิด - 2 เดือน

2-5 oz.

2 - 4 เดือน

4-6 oz.

4 - 6 เดือน

5-7 oz.

 

  • เมื่อ ต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้  ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.)
    ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็เขย่าๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากันแล้วป้อนได้เลย 
    แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ
    เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่ 
  • ไม่ควร ปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
  • นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ
  • น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
  • ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
  • สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
  • ถ้าต้อง การใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ  ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา
    (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
  • น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว  อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)

หมายเหตุ

คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้  สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัว  ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ 
แต่ถ้าคิดว่าน่าจะได้ ก็ทดลองทำดูได้  อาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ 
ก็จำไว้เป็นประสบการณ์ของตนเองค่ะ ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ชิมค่ะ

ที่มา : http://www.breastfeedingbasics.com/html/collecting_and_storing.shtml

http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&...

Views: 1497

Replies to This Discussion

ของอ๊อบไม่ได้เก็บเลยค่ะ กินทิ้งกินขว้างมากๆ เพราะเยอะจัด
แหม คุณอ๊อบก็...เสียดายอ่ะ
ตอนที่ทำ stock นมแม่ แค่หยดเดียวก็ไม่อยากให้หกเลย
ยิ่งช่วงไหน ที่บ้าน ไฟตก ไฟดับ ยิ่งเครียดเลย กลัวว่า stock นมแม่ที่มีอยู่มันจะเสียหายค่ะ
จริงๆค่ะคุณวัลย์ เคยปั๊มมาเก็บใส่ตู้เย็น เสร็จแล้วก็ต้องเอามาอุ่นเอง ป้อนเอง...เลิกเลยค่ะ
แบบปั๊มทิ้งก็มีเพราะมันคัดมากค่ะ พุ่งใส่หน้าลูกสาว..ต้องทิ้งก่อนให้เค้าดูดลดแรงดันๆ หุหุ
เคยอ่านข่าวคนจีนมีน้ำนมเหลือเฟือจนเอามาอาบอ่ะ เสียดายอย่างแรง
เก็บได้ไม่เยอะเลย ลูกทานจุดุเดือดมากๆอ่ะ
อยากบอกว่าตัวเองก็เคยนะ อาบนมแม่ (ของตัวเองนั่นแหละ) เพราะว่าตอนลูกยังไม่เลิกนมแม่
แล้วก็ต้องไปทำงานห่างลูกหลายวัน จะปั๊มเก็บเอาไว้ ก็ไม่รู้จะทำได้ยังไง ไม่มั่นใจว่าจะรักษาคุณภาพเอามาให้ลูกได้ ?
ก็เลยต้องทิ้งหมดเลย ...เศร้า & เสียดายเป็นที่สุดค่ะ
ทุกวันนี้ชุก็ปั้มอยู่ค่ะ 5 รอบ ต่อวัน ลูก 2.6 ขวบแล้ว ด้วยลูกสาวอยู่ตจว.ส่งนมข้ามจังหวัดเลย
นมแม่มีประโยชน์มากมาย ไกลแค่ไหนก็ไปถึง กลับบ้านหาลูกอาทิตย์เว้นอาทิตย์
อาทิตย์ไหนไม่ได้กลับก็ส่งรถทัวร์ค่ะ ถ้าไม่ไ้ด้ปั้มวันไหน เหมือนขาดไรไปอย่าง ชินไปแล้วแต่ก็ดีใจที่ลูกสุขภาพแข็งแรงดีมาก
คุณชุคะ ชื่นชมมากเลย แต่เคยได้ยินว่าควรให้นมแม่ถึง 2 ขวบ เลยอยากถามคุณชุนะคะ ว่าคุณชุคงมีข้อมูลที่แตกต่างจากนี้หรือเปล่าคะ เลยให้น้องทานนมแม่ถึง 2.6 ขวบ น้องมีนมีน น่ารักมากเลยคะ
ที่มาของข้อมูล ในเวปนี้ดีมากๆ คะ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และได้ข้อมูลที่ดีจากเวปนี้คะ
ตอนทำสต็อคน้ำนม แค่หกไปบ้างก็เสียดายมากๆ คะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service