เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

พ่อมือใหม่ไปพูดคุยกับกิจกรรมของ Baby Love

“เบบี้เลิฟ เพลย์แพ้นส์” ชวนเด็กๆ ตะลุยโลกกว้างแห่งการเล่น เรียนรู้

ข่าววันที่ 27 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ
http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=97&nid=38859
---------


ในโลกแห่งการเรียนรู้การ “เล่น” เป็นศาสตร์ที่สนุกและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันมีผลการวิจัยและสื่อจากหลายๆ แห่งเผยว่า การเล่นมีประโยชน์กับเจ้าตัวเล็กทั้งทักษะทางด้านร่างกายและจิตใจ ยากที่จะหาเครื่องมือใดๆ มาเทียบ นักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก จึงได้เสนอ PQ (Play Quotient) เพื่อให้พ่อแม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยให้เรียนรู้อย่างร่าเริงผ่านของเล่นอย่างเหมาะสม

นายแพทย์จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนารมย์ โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต เผยว่า PQ หมายถึง ความฉลาดในการเล่น เด็กที่มี PQ ดี จะสามารถประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ส่วนตัว ความรู้ และจินตนาการผสมผสานกับการเล่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นจึงมีความสำคัญ “ในขวบปีแรก เด็กอาจจะสนใจเล่นตามลำพัง แต่ยังสนใจเล่นกับพ่อแม่ด้วย พออายุ 2 ขวบ ก็จะสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น เล่นกับเด็กอื่นๆ ได้ และเมื่อเริ่มเข้าขวบปีที่ 3 เด็กก็จะเริ่มเล่นกับเพื่อนๆ มากขึ้น มีการแบ่งปันกันบ้าง พออายุ 4-5 ขวบ เด็กจะเล่นเป็นกลุ่มรวมกันทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นบทบาทสมมุติกับเพื่อนๆ จนถึงวัยประถม การเล่นก็จะเริ่มมีกฎกติกามากขึ้น”

เมื่อ การเล่นเป็นกิจกรรมหลักของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด พ่อและแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระและเต็มที่ และไม่ควรลืมที่จะเล่นกับลูกด้วย “พ่อแม่ควรเล่นกับลูก แต่ไม่ควรเป็นผู้นำการเล่นเสียเอง เราควรปล่อยให้ลูกได้เป็นผู้นำและเราเป็นผู้ตาม เพื่อให้เขาได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ เขาจะดีใจที่ได้คิด ได้แก้ปัญหา และได้ทำจนสำเร็จ และพ่อแม่ก็ไม่ควรลืมชมเชยเมื่อลูกน้อยทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ” นพ.จอมแนะนำทิ้งท้าย

ดร. จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และอาจารย์ประจำสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ กล่าวถึงความจำเป็นของการเล่นว่า ปัจจุบันการเล่นของเด็กมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะได้รับประสบการณ์โดยตรงจากการลงมือทำ จึงเกิดการคิด วิเคราะห์ ก่อให้เกิดจินตนาการ ซึ่งพอทำได้สำเร็จ ก็จะเกิดความภูมิใจ และเกิดความทรงจำที่ประทับอยู่ในจิต จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดีและมีทัศนะคติที่ดีในอนาคต ในขณะที่เด็กบางคนที่ไม่ได้เล่นของเล่น หรือไม่ได้รับการกระตุ้นด้านการเล่น สมองในส่วนนี้ก็จะไม่ได้รับกระตุ้น พัฒนาการส่วนนี้ก็จะถดถอย ความอยากรู้อยากเห็นก็น้อยลง จึงต้องให้พ่อแม่มาคอยกระตุ้น หรือเรียกว่าต้องให้พ่อแม่คอยจ้ำจี้จำไชถึงจะลงมือทำ

ของ เล่นแต่ละชิ้นที่พ่อแม่ตัดสินใจซื้อให้ลูกเล่น ก็ควรเป็นของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ในแต่ละวัย เช่น วัยแรกเกิดยังมองเห็นเลือนลาง ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยนี้คือใบหน้าของคุณแม่และการพูดคุยกับลูก ของเล่นสำหรับลูกวัยแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรเป็นของเล่นที่มีเสียงและสีสันอย่างโมบายตุ๊กตา หรือตุ๊กตานุ่มๆ หรือพลาสติกที่มีพื้นผิวแตกต่าง เพื่อให้ลูกได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก ที่สำคัญควรเป็นของเล่นที่ปลอดภัย เพราะเด็กวัยนี้จะชอบคว้าสิ่งของเข้าปาก และสนใจค้นหาสิ่งของที่ปิดซ่อน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้มือและเข่าคลานหาสิ่งของต่างๆ ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังชอบฟังเสียงคำและจังหวะ หาอุปกรณ์ดนตรีให้เด็กได้เคาะ ได้ตี ได้เป่า ก็ช่วยเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และความสามารถด้านดนตรีมากขึ้น

วัย 1-2 ขวบ ลูกน้อยสามารถเดินได้เอง แต่ยังไม่มั่นคงนัก ของเล่นจึงควรเป็นประเภทลากจูงได้ เช่นรถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาความรู้สึกการสัมผัสด้วยการให้เล่นน้ำ เล่นทราย ของเล่นที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็กวัยนี้คือ ของเล่นที่มีขนาดเล็ก แหลมคม และมีรูเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว

วัย 3 ขวบขึ้นไป ควรเป็นของเล่นที่แยบยลขึ้น เน้นจินตนาการเป็นเป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์ทำอาหาร แต่งตัวตุ๊กตา ต่อจิ๊กซอว์ เลโก้ เพื่อฝึกประสารทสัมผัส นอกจากนั้นก็ควรเพิ่มของเล่นที่ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่าง จักรยาน เตะขว้างลูกบอล

“ทั้ง นี้ทั้งนั้น ของเล่นแต่ละชิ้นที่คุณพ่อคุณแม่จะเลือกซื้อให้ลูก ก็ควรขึ้นอยู่กับตัวลูกเองว่าชอบหรือสนใจสิ่งไหน และสิ่งนั้นเองคือสิ่งที่พ่อกับแม่ความสนับสนุน และที่สำคัญพ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้าง สรรค์ มากกว่าเป็นของเล่นประเภทรถบังคับหรือเกมสำเร็จรูป เพราะจะทำให้เด็กไม่ค่อยได้ใช้จินตนาการ และไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้” ดร. จิตราแนะนำทิ้งท้าย

ด้าน คุณบิ๊ก-พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ คุณพ่อ Bilingual ที่ เริ่มต้นคุยภาษาอังกฤษกับลูกตั้งแต่แรกเกิด จนลูกสาว “น้องเพ่ยเพ่ย-เด็กหญิงปลายฟ้า เตชพาหพงษ์” สาวน้อยวัยสามขวบเป็นเด็กสองภาษา แนะนำว่าการเล่นก็ยังช่วยส่งเสริมทักษะด้านภาษาให้ลูก “เด็กมีอายุน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งควรสนับสนุนเรื่องภาษาที่ 2 มากเท่านั้น โดยเฉพาะเด็กเล็กก่อน 3 ขวบ ถ้าอยากให้ลูกพูดคุยได้ดีและใกล้เคียงกับคนพื้นที่มากเท่าไร ก็ควรเริ่มต้นพูดกับลูกตั้งแต่แรกเกิด ผมจึงเลือกที่จะคุยภาษาอังกฤษกับลูกและให้ลูกคุยภาษาไทยกับแม่ จนลูกเกิดความเคยชิน ผมคุยกับลูกกว่า 3 ปี เห็นว่าได้ผล จึงอยากเผยแพร่ให้พ่อแม่คนอื่นๆ บ้าง ผมจะใช้วิธีคุยภาษาอังกฤษกับลูกโดยเลียนแบบธรรมชาติ คุยไปเรื่อยๆ ไม่ได้จับลูกมานั่งเรียนไวยากรณ์แบบซีเรียส ส่วนใหญ่จะใช้วิธีที่ผ่านการเล่น เน้นจากศัพท์ทั่วไป จนลูกเกิดความเคยชิน ที่สำคัญพ่อและแม่ต้องไม่อายและไม่กลัวที่จะลุกขึ้นมาคุยภาษาอังกฤษกับลูก โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษ ก็จะได้ถือโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูกได้เลย”

คุณบิ๊กฝากทิ้งท้ายถึงพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกเป็นเด็ก Bilingual ว่า “สำหรับภาษาอังกฤษนั้น อย่าไปฝากความหวังไว้กับโรงเรียนเพราะในห้องมีเด็กนักเรียนตั้งกี่คน ครูแค่หนึ่งคน พ่อกับแม่นี่แหละคือครูที่ดีที่สุดของลูก เปลี่ยนเราเป็นครูยังง่ายกว่าไปเปลี่ยนครูให้เป็นพ่อแม่”


ความ รู้ด้านการเล่นของเด็กๆ มีสาระน่ารู้มากมายคุณพ่อคุณแม่ท่านใดปรารถนาให้ลูกมีอัจฉริยะภาพหลายๆ ด้าน ผ่านการเล่น อย่าลืมมาร่วมงาน “เบบี้เลิฟ เพลย์แพ้นส์ มหัศจรรย์วันเล่นเป็นเรียน “The Miracle of Playing is Learning” จัด โดยผ้าอ้อมเด็กเบบี้เลิฟ เพลย์แพ้นส์ ซึ่งภายในงานมีทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลายอาทิ สะพานสีใส ดนตรีจากท้องทะเล มหัศจรรย์เรือจับคู่ นิทานซาฟารี บ่อบอลปลาวาฬ ฯลฯ ที่สำคัญพบเคล็ดลับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และหนูน้อยอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จจากการเล่น โดยจะจัดขึ้น ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่ ตั้งแต่วันที่ 12-14 มิถุนายนนี้ ตั้งแต่เวลา 11.00 – 19.00 น. ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือสามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-636-0808
----------

Views: 44

Reply to This

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service