เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000001791
วิจัยใหม่เผย ความสามารถในการเรียนรู้ความแตกต่างของสำเนียงของแต่ละภาษาของมนุษย์เรานั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดาแล้ว!
แม้จะมีหลายท่านออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวนั้นเป็นที่รับทราบกันมานาน แต่จากข้อมูลงานวิจัยในอดีตนั้นปรากฏแค่ว่า เด็กทารกจะเริ่มเรียนรู้ภาษาในช่วงเดือนแรก ๆ หลังคลอด ดังนั้น นี่จึงเป็นการวิจัยครั้งแรกที่เผยว่า ทารกในครรภ์ก็มีความสามารถในการเรียนรู้ และจดจำภาษาต่าง ๆ ได้นั่นเอง โดยพบว่าความสามารถนี้เกิดขึ้นในช่วง 10 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
"แม้จะมีผู้เชื่อว่า มนุษย์เราได้ยินเสียงต่าง ๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่งานวิจัยนี้ก็เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันความเชื่อดงกล่าวว่าเป็นความ จริง" ศาสตราจารย์ Christine Moon จากมหาวิทยาลัย Pacific Lutheran เจ้าของผลการวิจัยกล่าว
โดยนักวิจัยพบว่า เด็กทารกหลังคลอดเพียง 1 ชัวโมงก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศได้แล้ว การศึกษานี้จึงชี้ว่า ทารกในครรภ์นั้นเริ่มได้ยินเสียงต่าง ๆ รวมถึงจดจำภาษาที่ผู้เป็นแม่พูดได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ซึ่งเร็วกว่าที่เคยมีข้อมูลก่อนหน้านี้
สำหรับทารกที่เข้าร่วมการศึกษานี้มีทั้งหญิงและชาย และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ชั่วโมง โดยมีจำนวน ทั้งสิ้น 40 คน การทดลองเริ่มโดยนักวิจัยจะให้เด็กจะได้ฟังเสียงสระของภาษาสวีเดนและภาษา อังกฤษ
ผลการทดลองพบว่า ทารกแรกเกิดแสดงอาการตอบโต้ด้วยการดูดจุกนมปลอมนานขึ้นเมื่อได้ยินเสียงภาษา ต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นเสียงจากภาษาแม่จะดูดสั้นลง ซึ่งจุกนมดังกล่าวได้รับการต่อเชื่อมเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อเก็บผล แต่ทั้งนี้นักวิจัยเผยว่า ขึ้นอยู่กับในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ แม่ได้พูดกับลูกมากน้อยแค่ไหนด้วย
ด้าน Patricia Kuhl ผู้เชี่ยวชาญ และผู้อำนวยการ the Institute for Learning & Brain Sciences มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยว่า "เราคิดว่า เด็กทารกนั้นเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ แต่ตอนนี้เรารู้เพิ่มขึ้นแล้วว่า พวกเขาเรียนรู้ได้เร็วกว่าที่เราคิด และเราต้องการรู้ว่า อะไรคือความมหัศจรรย์ที่ทำให้เด็กทารกเรียนรู้ได้เร็ว แบบที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถทำได้ ซึ่งถ้าค้นพบจะทำให้เราใช้เวลาในช่วงแรกของชีวิตพัฒนาศักยภาพของสมองได้ อย่างเหมาะสมมากขึ้นนั่นเอง"
งานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่ในวารสาร Acta Paediatrica
Tags:
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by