เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย
ขออนุญาตให้คำแนะนำตามประสบการณ์จากการสอนและพัฒนาเด็กนานาชาติ, เด็กพิเศษด้านภาษา, และเด็กไทยในอเมริกา
เพ็ญเข้าใจคุณแม่ที่ว่า มีความประสงค์ที่จะให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษแต่เยาว์วัยนอกเหนือจากภาษาไทย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแห่งการสื่อสารทั่วโลก โรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาลในเมืองไทยให้ความสำคัญมาก
โดยปัจจุบันนี้ เด็กต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปเพื่อที่ว่าเวลาเข้าเรียนอนุบาล จะได้เรียนไวและเรียนทันเพื่อน
ยิ่งเรียนรู้ภาษามากเท่าไหร่ ก็จะช่วยสร้างฐานะการงานได้มาก หรือที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
บางคนก็อยากให้เด็กฉลาดทันวัยในภาษาอื่นๆและสอบได้ดีหรือสอบผ่านเมื่อเข้าโรงเรียน
ซึ่งหลักความจริงแล้ว หลักการเรียนรู้ภาษาอื่นๆหรือภาษาอังกฤษนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
บางคนก็อาจจะมีการพัฒนาการเรียนรู้ช้ากว่า ซึ่งอาจจะเกิดจากเซลล์ในสมองหรืออารมณ์ แต่ก็ยังแก้ได้บ้าง
หากหมั่นฝึกฝนอย่างมีความสุขแต่เยาว์วัยและไม่รังเกียจภาษาอื่นๆ
เพ็ญจึงอยากจะขอร้องให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ทุกคนเห็นใจและเข้าใจในตัวเด็กบ้างนะคะ
อย่าลืมนะคะว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก" จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องเรียนรู้การหัดพูด เมืองไทยเก่งในการเรียนรู้แกรมม่า
บางคนฝึกพูดตอนอายุใกล้ 40 ปีก็ยังไม่สายเกินไปนะคะ ยังไงๆแกรมม่าก็ยังอยู่ในความทรงจำบ้างค่ะ พี่สาวดิฉันไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษมา 31 ปีเต็มๆ พอกลับไปเรียนภาษาอังกฤษเพียงแค่ 1-3 ปี เธอสามารถพูดได้ 65-85%
ก่อนที่จะสอนภาษาอะไรก็ตาม ผู้ใหญ่หรือผู้สอนต้องคอยสังเกตและคำนึงถึง (อย่าลืมไปว่า "นี่คือภาษาที่สองของเด็ก")
1. พื้นฐานในการพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะสอนภาษาใดๆก็ตาม เช่น
- เด็กเบบี้จะพัฒนาเรียนรู้และโต้ตอบภาษาด้วยเสียง อู้อี้ แอ้ แอ้ และเลียนแบบด้วยการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์
ได้โดยจาก การฟัง, การมองหน้าและท่าทางปฏิกิริยาบทของผู้ใกล้ชิดหรือผู้ใหญ่...
- เด็กเตาะแตะวัย 12-18 เดือน พัฒนาการออกเสียงแค่ 1-2 คำสั้นๆ เช่น milk, more, go, no, Dada, MaMa
- เด็กเตาะแตะวัย 18-24 เดือน พัฒนาการพูดประโยคสั้นๆ หรือแค่ 2 คำสั้นๆขึ้นไป ที่อาจไม่ตรงตามแกรมม่า
เช่น no more, want more, me want more, go there, carry me, here,
- เด็กวัย 2-3 ปี พัฒนาการพูดประโยคได้อย่างน้อย 3 คำขึ้นไป เช่น I want more, some more milk please,
I don't want that, did you see that, I want it, I don't want it, I love you
2. วัย 0-4 ปี การเรียนรู้แกรมม่าหรือการเขียนและการอ่านยังไม่เน้นมากนัก และไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม
ก็ไม่จำเป็นที่จะไปเน้นการออกเสียงให้ชัดเหมือนเจ้าของภาษานั้นๆ ก็เหมือนกับการร้องเพลง
ควรใช้เสียงอันไพเราะของตัวเองเปล่งเสียงออกมา ให้ความภูมิใจและรักเสียงกับสิทธิของตัวเด็กเองหรือผู้ใหญ่
เองก็ตาม
สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กก็คือ ขอให้เด็กได้พัฒนาการฟัง, เข้าใจความหมายของคำและประโยค,
รู้จักโต้ตอบหรือแสดงออกและสามารถพูดได้, เด็กออกเสียงได้มากน้อยแค่ไหน,
พัฒนาคำศัพท์ตามวัยได้ถึงไหน
3. คำที่เหมาะสมตามวัย เช่น เด็กควรจะเรียนรู้อะไรก่อน..สอนคำอะไรบ้างตั้งแต่เกิด..
4. ความถนัดในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เช่น เด็กบางคนถนัดหรือรับรู้ได้จากการอ่าน, บางคนรับรู้ได้จากการมองภาพและให้อ่าน, บางคนก็ถนัดและรับรู้ได้จากการสัมผัส
5. การพัฒนาของตัวเซลล์ในสมองมีมากพอที่จะให้เด็กรับรู้ที่จะเรียนภาษาหรือเข้าใจภาษาได้มากน้อยแค่ไหน
6. เด็กมีอารมณ์ที่จะเรียนรู้หรือพร้อมหรือเปล่าในเวลานั้น
7. ผู้ใหญ่มีเทคนิคในการสร้างความสนใจในการเรียนรู้ภาษาในตัวเด็กได้อย่างไร
เด็กมีความสนใจหรือไม่อยากที่จะเรียนรู้แต่ถูกบังคับจนรังเกียจที่จะเรียนรู้ภาษา
หวังว่าบทความดังกล่าวข้างต้น อาจจะช่วยให้ข้อคิดในการเริ่มสอนภาษาที่สองได้บ้างนะคะ
Tags:
ขอบคุณมากคะสำหรับคำแนะนำ และข้อคิดที่ดีมาก เพราะดิฉันเองก็รู้สึกกดดันเหมือนกัน เพราะเมื่ออ่านหนังสือและ ดูพัฒนาการของครอบครัวอื่นแล้ว ทำให้เราอยากทำสำเร็จเหมือนคนอื่นบ้าง ทำให้ละเลยในสิ่งที่ครูเพ็ญแนะนำโดยไม่รู้ตัว แล้วจะคอยติดตามคำแนะนำและความรู้จากครูเพ็ญนะคะ ขอบคุณครูเพ็ญ และคุณแม่ที่ให้ข้อคิดในกระทู้นี้ทุกคนคะ
กำลังเครียดพอดีค่ะ ขอบคุณมากค่ะครูเพ็ญที่เตือนสติ เมื่อวันเสาร์ได้คุยกับครอบครัวชาวออสเตเลีย แม่ไทยพ่อออสเตรเลียเค้าบอกว่าเราพูดไม่ชัดบ้าง พูดผิดบ้างล่ะและบอกว่าเราไม่น่าสอนลูกเองเลย ทำให้เด็กพูดไม่ชัด และนำเราให้ไปเรียนกับครูสอนภาษาอังกฤษโดยตรงดีกว่า ทำให้เราเสียใจทำไมมาพูดอย่างนี้หละ เราไม่ใช่ลูกครึ่ง และสิ่งแวดล้อมก็ไทยหมด มีแม่คนเดียวที่พูดกับลูก สอนน้องมา 1 ปีแล้วค่ะแม่ก็งูๆ ปลาๆ ดีใจมากที่ได้สอนลูกพูดอังกฤษ ตอนนี้ 2.8 ด เค้ารู้ศัพท์มาก และพูดเป็นวลี และประโยคในชีวิตประจำวันกับแม่ ศัพท์สิ่งรอบตัวเค้ารู้มากแล้ว อยากได้อะไร ต้องการอะไรพูดอังกฤษกับแม่ แต่มาเครียดที่คุยกับเมียฝรั่ง แม้แต่เมียฝรั่งเค้าก็ยังพูดไม่ชัดเลยและไม่ออกเสียง phonic ด้วยแต่เค้าฟังสามีเค้ารู้เรื่องแต่สำเนียงไม่ให้ เค้าไปอย่าออสเตรเลีย เกือบ 20 ปี แล้วทำให้ฟังรู้เรื่อง ลูกของเค้าพูดไทยชัดค่ะ และพูดอังกฤษชัดด้วย แน่สิเพราะเค้าอยู่เมืองนอกกัน ดิฉันสอนก็ให้ลูกเพื่อเค้าจะได้รู้คำศัพท์มาก แต่ดิฉันก็พัฒนาการอังกฤษดีขึ้น ทั้งดูหนัง ฟังเพลง ดูกาตูนกับลูก ดีขึ้นกว่าเดิม คิดอยู่ว่าเราไม่ใช่ครอบครัวฝรั่งทให้เราสบายใจดีขึ้นดีค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่เตือนสติ
ยินดีค่ะคุณเพ็ญ
เห็นด้วยมากๆๆๆค่ะ โดยฉะเพาะเรื่องสำเนียง คนไทยหลายคนคิดว่า สำเนียงสำคัญ แต่เอากันจริงๆแล้ว ความเข้าใจ และพูดชัดเจนถูกหลักจะสำคัญกว่าเยอะ อีกอย่างเวลาสอนลูก ต้องทำเเบบสนุกๆ เล่นๆกัน อย่าไปเครียด เพราะถ้าเราเกิดอาการเครียด ลูกจะรู้สึกได้ทันที และพยายามอย่าไปทดสอบลูกมากนัก Glenn Doman บอกไว้ว่า การทดสอบเด็ก เป็นสเมือนการให้ของขวัญกับลูก แล้วอยู่ดีๆเราก็มาบอกให้ลูกจ่ายตังค์ค่าของขวัญชิ้นนั้น
อีกอย่างคือ อย่าเอาลูกเราไปเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กไม่เหมือนกัน คนสอน สภาวะเเวดล้อม ครอบครัวก็ไม่เหมือนกัน อย่าสอนลูกเพื่อการแข่งขัน ให้ดีเด่น แต่สอนเพื่อป้อนความรู้ เลี้ยงสมอง ให้ลูกไปต่อยอดเอาเองในอนาคต เด็กที่ได้รับการสอนโดยมีพื้นฐานมาจากความรัก เด็กพวกนี้จะรักเรียน และเห็นเรื่องเรียนเป็นเรื่องง่ายและสนุก
แต่ขออนุญาตินะคะ แอ๋วเห็นต่างกับครูเพ็ญอยู่เรื่อง คือเรื่องการอ่าน แอ๋วมองว่า การอ่านช่วยให้เด็กพูดได้เร็ว ช่วยให้เด็กรู้คำศัพย์มากมาย เปิดสมองให้กว้างไกล แอ๋วเป็นเเฟนพันธ์แท้ของ early childhood education ค่ะ เชื่อในศักยภาพของเด็กเล็กว่าเค้ารู้มากกว่าที่เราคิด....แต่อย่างไรก็ดี ไม่มีคำว่าสายถ้าเราอยากเรียน ไม่ว่าจะเริ่มตอนไหน เมื่อไหร่ ก็ดีหมด ดีกว่าไม่เริ่มทำอะไรเลย ใช่ไหมคะ
ขอบคุณที่เข้ามาแบ่งปันข้อมูลค่ะ
ขอบคุณค่ะคุณแอ๋ว แม่เจคอบสำหรับความคิดเห็น
เรื่องการอ่านนั้น แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่า การอ่านเป็นหนึ่งของการสื่อภาษาตั้งแต่เด็กยังอยู่ในท้อง ซึ่งเพ็ญสนับสนุนเรื่องการอ่านอย่างเต็มที่ โดยการที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟังและต้องมีภาพประกอบเพื่อให้เด็กเล็กเข้าใจในสื่อและความหมายของคำเท่าที่เด็กจะพัฒนาได้ตามศักยภาพของเด็กเอง
ที่เพ็ญเอ่ยข้างบนดังกล่าวนั้น เพ็ญหมายถึงให้เด็กอ่านเองนะคะ เด็กในระดับอายุ 0-4 ปี ส่วนใหญ่แล้วจะอ่านไม่ได้ สำหรับในประเทศไทยไม่ทราบนะคะ เพราะเด็กเรียนหัดอ่านตั้งแต่ระดับอนุบาลของไทย ในประเทศอเมริกาเด็กเริ่มหัดอ่านคำตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้วก็จะเริ่มสอนให้อ่านเองตอนอนุบาล (มีแค่ชั้นเดียวเองค่ะ) ซึ่งมีอายุระหว่าง 5-6 ปีแล้วแต่ว่าอยู่รัฐไหนนะคะ ให้อ่านเป็นประโยคเกิน 3-4 คำขึ้นไปก็ตอนเรียน ป.1 ของอเมริกาค่ะ
หน้าที่ของครูปฐมวัย Early Childhood Education สำหรับระดับ 0-5 ปีก็คือสนับสนุนแต่ไม่บังคับให้อ่าน เพราะเด็กมีศักยภาพไม่เหมือนกัน สนับสนุนด้วยโดยการให้เด็กถามว่านี่คือคำอะไรหรือไม่ก็เขียนคำหรือประโยคที่เด็กต้องการให้เขียนและอ่านให้เด็กฟังตามคำที่เด็กบอกให้เขียน หรืออ่านให้ฟังและสนับสนุนให้อ่านตามเวลาเด็กเข้าอนุบาลไปแล้ว
ความเชื่อของครูหรือผู้ใหญ่ไม่เหมือนกันค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อมของเด็กนะคะ
© 2024 Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก. Powered by