เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ปรับเข็มทิศอุดมศึกษาไทย

รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

----------

ในยุคปัจจุบันที่ประชากรกว่า 500 ล้านคน จากแทบทุกประเทศในโลกกลายเป็นสมาชิกประชาคมเดียวกัน สามารถติดต่อส่งข่าวถึงกันได้ในชั่วเวลาพริบตาผ่านเฟซบุ๊ค เป็นยุคที่ความรู้แทบทุกอย่าง สามารถแสวงหาได้ด้วยปลายนิ้วผ่านความช่วยเหลือจากกูเกิล เป็นยุคที่หาดูอะไรได้แทบทุกสิ่ง ไม่ว่า จะเป็นบันเทิง สารคดี สิ่งประหลาด หรือแม้แต่เลคเชอร์จากโปรเฟสเซอร์ชื่อดังของโลก


เมื่อโลกเล็กลงและความรู้อยู่แค่ปลายนิ้ว คำถามสำหรับอุดมศึกษาไทยจึงไม่ใช่ควรปรับตัว “หรือไม่” หากแต่เป็นควรปรับ “อย่างไร” เพื่อให้เท่าทันกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและการเรียนรู้ ในโลกยุคใหม่ที่สภาพแวดล้อมแทบทุกอย่างแตกต่างจากทศวรรษที่ผ่านมาแทบจะสิ้น เชิง


ประสบการณ์จากการทำงานบริหารวิชาการอย่างต่อ เนื่องมานานกว่า 30 ปี ดิฉันพบว่า อุปสรรค มโหฬารที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาไทยให้ก้าวไปทันโลกกลับไม่ใช่ เรื่องระบบการทำงาน หรืองบประมาณ หากแต่เป็นเรื่องวิธีคิดของคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในตำแหน่งบริหารระดับสูงที่ ยึดมั่นกับวิธีคิด และความเชื่อดั้งเดิมมากเสียจนไม่เปิดรับความเป็นไปได้ของแนวคิดที่แตกต่าง หรือ หลายครั้งก็อาจจะตรงกันข้ามกับความคิด ความเชื่อเดิมๆ และทำให้โอกาสในการก้าวนำ หรือแม้แต่ก้าวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกผ่านเลยไปอย่างน่าเสียดาย


ลองสำรวจดูว่า ท่านมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรกับหลายประเด็นที่อาจจะท้าทายความเชื่อเดิมๆ ในด้านการศึกษาของไทย


เรียนน้อยไม่ได้แปลว่าแย่ และเรียนมากไม่ได้แปลว่าดี - หัวใจของแนวคิดนี้คือ “คุณภาพเป็นคนละเรื่องกับปริมาณ” ซึ่งแม้ว่าจะฟังดูง่าย สมเหตุสมผล แต่ผู้บริหารการศึกษาจำนวนมากยังยึด “จำนวน หน่วยกิต” เป็น “ดัชนีชี้คุณภาพ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่มีอะไรเลยที่จะบอกได้ ว่าหลักสูตร 132 หน่วยกิต มีคุณภาพดีกว่า 126 หน่วยกิต หรือ หลักสูตร 120 หน่วยกิต จะด้อยกว่า 126 หน่วยกิต


ข้อเท็จจริง คือ แนวโน้มหลักสูตรในสถาบันชั้นนำทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง เหลือ 120 หน่วยกิต โดยหันหน้าหนีจากการให้นักศึกษานั่งฟังเลคเชอร์ อ่านหนังสือ และเข้าสอบ มาสู่การใช้ปัญหา เป็นตัวตั้ง การค้นคว้าด้วยตนเอง และการลงมือปฏิบัตินอกห้องเรียนมากกว่า เนื่องจากเป็นแนวทาง ที่ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่าง “ลึกซึ้ง” มากขึ้น ตระหนักชัดเจนขึ้นถึง ความจำเป็นในการบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา และเพื่อทำงานที่ได้รับ มอบหมายให้ประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็มีเวลาในการร้อยเรียงความรู้ พัฒนาความคิด ที่เป็นตัวของตัวเอง ได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียนหลายๆ วิชา โดยที่ แต่ละวิชาก็แตะแต่ละหัวข้อเพียง “ผิวเผิน” เนื่องจากต้อง “เร่งให้ทันเวลา” เพื่อรองรับจำนวนหัวข้อ มากมายที่ไม่เพียงแต่ “อัดแน่น” หากแต่ยัง “ซ้ำซ้อน” กันในหลากหลายวิชา เมื่อนักศึกษาเรียนจบ ก็ขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องที่เรียนมา มิหนำซ้ำยังจดจำอะไรไม่ได้ เมื่อเทอมผ่านไป ความทรงจำ ก็หายไปตาม


“ความคิด” สำคัญกว่า “ความรู้” - เพราะความรู้อาจเรียนทันกันหมด และเมื่อความรู้ถูกรวมไว้ที่ ปลายนิ้ว บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาจึงไม่ควรมุ่งไปที่การ “ให้ความรู้” หากแต่ต้องมุ่งพัฒนา ทักษะการ “คิด วิเคราะห์ ค้น” ให้แก่นักศึกษา เพราะหากนักศึกษาสามารถ “คิดเป็น” รู้จักเครื่องมือ ที่จะนำมาใช้ “วิเคราะห์” ตลอดจนสามารถ “ค้นคว้า” โดยอิสระได้ด้วยตนเอง ก็ถือว่าสถาบันอุดม ศึกษาประสบความสำเร็จในการ “สร้างคน” ให้ออกไปสู่สังคมอย่ามีความพร้อมที่จะต่อยอด การเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากทักษะการคิด-วิเคราะห์-ค้นที่ได้ฝึกในมาตลอดระยะ เวลาในหลักสูตร แน่นอน ไม่ได้หมายความว่าให้ละทิ้งการให้ความรู้แก่นักศึกษา หากแต่กำลังพูดถึงการให้น้ำหนัก ความสำคัญ และการจัดสรรเวลาตลอดจนทรัพยากรไปที่การพัฒนาความคิด มากกว่าการให้ความรู้ ซึ่งนักศึกษาที่มีทักษะค้นคว้าที่ดี ย่อมสามารถเติมเต็มความรู้ในส่วนที่ขาดหาย และความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ตนเองได้


อุปสรรคสำคัญคือการเปลี่ยน “ความคิดอาจารย์” ที่มักกังวลไปว่า “ถ้าไม่สอน นักศึกษาจะไม่รู้” ทั้งที่ ในทางปฏิบัติการเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่จำ เป็นต้องเกิดจาก “การสอน” ของอาจารย์ในลักษณะการ “ให้ความรู้” แต่อย่างใด เพราะงานค้นคว้าที่ได้รับมอบหมาย โจทย์กรณีศึกษาที่ต้องแก้ งานภาคปฏิบัติที่ต้องทำให้สำเร็จ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการที่ทำให้ นักศึกษาเกิดการบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าการสอน แบบให้ความรู้ทั้งสิ้น

 

เรียนจากกว้างไปสู่ลึกดีกว่าเรียนแยกชิ้นแล้วมา รวมกัน - นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่านักศึกษา ควรเริ่มเรียนจากศาสตร์ง่ายๆ แยกเป็นชิ้นๆ เป็นเรื่องๆ ให้เข้าใจทีละชิ้น ทีละศาสตร์ แล้วค่อยไปเรียนเรื่องที่ยากซับซ้อนที่ประกอบด้วยหลายเรื่อง หลายชิ้น หลายศาสตร์ ทั้งที่ในชีวิตจริงนักศึกษา ต้องเผชิญกับเรื่องที่ซับซ้อน และต้องใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์อยู่ตลอดเวลา การเรียนทีละ ศาสตร์ ทีละชิ้นแยกจากกันทำให้นักศึกษาไม่เห็นภาพรวม ไม่อาจเข้าใจแต่ละศาสตร์ แต่ละชิ้นๆ ได้ ลึกซึ้ง เพราะไม่เห็นการเชื่อมโยงระหว่างกันในภาพรวม ในขณะที่ทางเลือกคือ ต้องกล้าให้นักศึกษา เผชิญกับปัญหาซับซ้อนเฉกเช่นชีวิตจริงตั้งแต่แรก ซึ่งด้วยความรู้และประสบการณ์ที่จำกัด นักศึกษาก็มักจะไม่สามารถเข้าใจปัญหาได้ทั้งหมดแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการ เห็นภาพรวมที่ทำให้เกิด ความตระหนักในความซับซ้อนของปัญหาตั้งแต่แรก ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ ในหลากหลายศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาใดหนึ่ง เมื่อต้องเรียนต่อไปในลักษณะแยกชิ้น แยกศาสตร์ ความเข้าใจพื้นฐานในภาพรวมก็จะยังคงอยู่และทำหน้าที่เป็นกรอบให้เข้าใจความ เชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เห็นประโยชน์ เข้าใจ และบูรณาการแต่ละชิ้น แต่ละเรื่องให้เข้ากันได้ดีขึ้น

 

สามประเด็นตัวอย่างข้างต้น เป็นแต่เพียงตัวอย่างที่ยกมาท้าทายความคิด ความเชื่อในการจัดการศึกษาแบบเดิมๆ ซึ่งหากว่าจะช่วยจุดประเด็นให้เกิดวิธีคิดใหม่ๆ ที่จะนำอุดมศึกษาไทยให้ก้าวนำไปกับกระแส โลกสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็พร้อมจะเป็นเวทีเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง กันต่อไป

Views: 107

Reply to This

Replies to This Discussion

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(ลำบากใจมากค่ะกับการศึกษาของลูกในโรงเรียน)

เกินกว่าคำว่าลำบากใจแล้วค่ะกับระบบการศึกษาไทย ได้แต่ทำใจและพยายามทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ โดยไม่ฝากความหวังไว้กับโรงเรียนค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service