เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

เชื่อว่าพ่อแม่แต่ละท่านมีเทคนิคในการดูแลลูก อบรมลูกแตกต่างกัน แน่นอนว่าเด็กย่อมมีการทำผิด บางครั้งเป็นการกระทำ คำพูด แล้วมีวิธีการลงโทษลูกอย่างไรบ้างคะ มีตีบ้างหรือเปล่า ดุ หรือ อย่างอื่นๆ

ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

Views: 640

Replies to This Discussion

Time out คะ คือลงโทษโดยการให้นั่งสงบ ๆ อยู่ที่มุมห้องคะ อธิบายให้เขาฟังว่าเขาทำผิดอะไร แล้วเราจะลงโทษแบบนี้ถ้าเขาทำผิด ระยะเวลาแล้วแต่ความผิดคะ อันนี้ที่เนอสเซอรี่ ที่ตาน้อยไปเก็บชั่วโมงใช้อยู่คะ เราจะไม่ตี เด็ก จะอธิบายและสอน คะ
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ
มีหลายวิธีค่ะที่ใช่อยู่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
1. time out เวลาทำผิดมาก เช่น ทำในสิ่งที่เคยห้ามอยู่เสมอ หรือทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเอง จะให้เค้าหยุดเล่น หยุดการกระทำ แล้วให้นั่งสงบสติอารมณ์มุมใดมุมหนึ่งในบ้าน หรือในห้องของเค้า โดยเราก็อธิบายก่อนว่าเค้าทำผิดอะไร ทำไมถึงต้องนั่งนิ่งสงบอารมณ์
2. ดุแบบใช้เสียงเข้มขึ้นกว่าปกติ (ไม่ใช่ตวาดนะคะ ห้ามตลาดลูกเด็ดขาดเลย) และใช้สายตามองเค้าเพื่อระบุว่าแม่เห็นนะว่าลูกคิดจะทำอะไร
3. ตั้งเงื่อนไขเพื่อให้เค้าเลือก เช่น เล่นเสร็จแล้วเก็บของค่ะ ถ้าลูกไม่เก็บแม่จะเก็บเอง แล้วถ้าแม่เก็บลูกจะไม่ได้เล่นของเล่นเหล่านี้อีกแล้วเพราะแม่จะเอาไปทิ้งถังขยะหมดเลย แล้วให้เวลาเค้าดำเนินการ มุกนี้ใช้ครั้งแรกคือทำให้เค้าเห็นเลยว่าแม่เอาของเล่นทิ้งขยะจริงๆ หลังจากนั้นก็ใช้มุกนี้ทุกครั้งที่เค้างอแงเล่นหรือทำกิจกรรมอะไรแล้วไม่ยอมเก็บเข้าที่ ซึ่งได้ผลค่ะ โดยมากจะเล่นแล้วเก็บเข้าทุก แม่เลยใช้มุกนี้นานๆ ทีแล้วสำหรับตอนนี้
4.ระบุการลงโทษไปเลยค่ะ สำหรับการทำผิดที่ต้องแก้ไขทันทีไม่งั้นจะติดเป็นนิสัยไปทำกับคนอื่น เช่น เล่นอยู่กับพ่อดีๆ แล้วก็ทำร้ายพ่อซะงั้น เอาดินสอทิ่มนิ้วพ่อ หรือเอาไม่บรรทัดตีพ่อ หรือพูดตะโกนเสียงดังใส่พ่อให้หยิบโน่น หรือทำนี่ให้ กรณีแบบนี้ ต้องอบรมก่อนค่ะ แล้วก็ลงโทษเพราะเป็นความผิด โดยให้เค้ารู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกต้อง คนทำผิดต้องถูกลงโทษ การระบุโทษก็ไม่รุนแรงหรอกค่ะ แค่ งดทำสิ่งที่เค้าอยากทำทุกวัน เช่น เล่นเกมสนุกๆ ก่อนนอน หรืองดเล่านิทานก่อนนอน (อันนี้แล้วแต่ว่าบ้านไหนลูกชอบอะไร)
3 มุกเดียวกันเลยค่ะ ตอนเย็นเวลาจะขึ้นบ้าน อ๊อบจะนับ 1-20 ห้ามมีของเล่นอยู่บนพื้นเด็ดขาด ชิ้นไหนอยู่บนพื้นแปลว่าทิ้ง เค้าจะยังเก็บไม่เป็นระเบียบมาก แต่อย่างน้อยมันก็มากองอยู่ที่เดียวกัน ช่วยทุ่นแรงเราได้หน่อยค่ะ บางครั้งก็แข่งกันว่าใครจะเสร็จก่อนระหว่างแม่ล้างจาน กับลูกเก็บของเล่น
ดิฉันไม่ตีลูกค่ะ แต่บางครั้งก็มีขู่ว่าจะตี (แต่ไม่เคยตีเลย) ไปซื้อหนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับการ์ตูนมาอ่านกับลูก (3.10 ปี) ตอนเค้าอายุ 3 ขวบ เค้าชอบมากค่ะ เพราะเป็นการ์ตูน แล้วเนื้อหาก็สอนเรื่องความดี ความชั่ว ทำดีได้ดี ทำไม่ดี ทำบาปต้องตกนรกโดยทำโทษยังไงบ้าง นรกร้อนไม่มีแอร์ ไม่มีข้าวไม่มีนมให้กิน ไม่น่าอยู่ ถ้าไม่อยากไปอยู่ในนรกก็ต้องทำความดี ความดีทำอะไรบ้าง ก็ร่ายยาวไปได้เลยค่ะ เป็นสื่อที่เอาไว้สอนลูกได้ค่ะ เช่น อย่าตี หรือทำร้ายเพื่อน ไม่ทำร้ายหรือทำให้พ่อแม่เจ็บ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำให้สัตว์เดือดร้อน เพราะบางครั้งเค้าจะมาถามว่าเหยียบมดได้มั้ย ทำไมไม่ได้ ทีเพื่อนยังเหยียบแล้วก็กระโดด (กระทืบ) จนมดมันตาย เราก็จะมีคำตอบดีๆ ให้ลูกได้ รวมทั้งการไม่ขโมยของคนอื่น คือ ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง ต้องไม่แย่งของจากมือเพื่อน ถ้าอยากเล่นต้องขอต้องบอกเจ้าของก่อน อะไรแบบนี้ล่ะค่ะ ตอนซื้อมาแรกๆ อ่านก่อนนอนทุกวัน หลังก็แผ่วลง แต่เค้าจำเนื้อหาข้างในได้ ทำอะไรไม่ดีจะตกนรกขุมไหนถูกลงโทษยังไง ทำไม่ดีแบบไหนจะกลายเป็นเปรต สอนต่อได้อีกว่าคำว่าเปรต มีผู้ใหญ่หรือเพื่อนบางคนอาจจะใช้พูด ลูกอาจจะเคยได้ยิน เราก็บอกได้ว่ามันแปลว่าอะไร เป็นคำไม่ดี ไม่ควรพูด ได้สอนคุณธรรม การทำความดีได้ทุกวันล่ะค่ะ
ที่สำคัญเวลาทำโทษเค้าเสร็จควรอธิบายให้เค้าเข้าใจว่าทำไมแม่ถึงต้องทำโทษเค้า เค้าทำผิดอะไร จากนั้นที่สำคัญมากๆคือบอกให้เค้ารู้ว่าแม่รักเค้าแค่ไหนค่ะ และที่ทำโทษเพื่อสอนให้เค้ารู้ว่าไม่ควรทำผิด ถ้าไม่รักจะไม่สอนหนูเลย แพทจะกอดลูกทุกครั้งที่ทำโทษเค้าเสร็จ และวันละหลายๆครั้ง

การอบรมลูกด้วยวิธีการ " ขอเวลานอก " time out
--หลักการขอเวลานอก--

คือการที่เด็กมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตนเอง โมโห หงุดหงิด ก็ให้แยกตัวเขาออกมา จากสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น ให้มานั่งคนเดียว อาจจะมุมใด มุมหนึ่งของห้องเป็นเวลาสั้น โดยเราคอยดูอยู่ห่างๆ

การให้ time out ไม่ได้เป็นการลงโทษเค้านะคะ แต่เป็นการอบรมโดยการให้โอกาสเค้าได้นั่งเฉย คิดทบทวนเหตุการณ์ และเหตุผลที่ไม่เหมาะสม เขาจะเริ่มสงบลง และจะค่อยๆปรับปรุงพฤติกรรมของเขาให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่โดนในครั้งต่อไป

การให้ time out นั้นมีประโยชน์ตรงที่ว่า คุณจะได้ไม่ต้องอารมณ์หงุดหงิด ตะโกน หรือดุเขา ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการแสดงตัวอย่าการใช้อารมณ์ที่ไม่ดี ให้เขาดู

ดังนั้การที่คุณจะใช้ time out คุณควรพูดด้วยเสียงปกติ ไม่ควรเสียงดัง หรือดุ

--เด็กอายุเท่าไหร่จึงจะใช้ time out--

ถ้าจะให้เด็กอายุ 1 ปี ได้รับ time out คงจะเป็นการวิ่งไล่จับกันมากกว่า เพราะเด็กวัยนี้ ยังไม่รู้เรื่องของเหตุผล และไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้นานๆ

ดังนั้ันแล้ว ควรจะเริ่มเมื่อเด็กรู้จักที่จะรักษากฏต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 2-3 ขวบ มีวิธีดูง่ายๆค่ะ ก็คือว่าเขาสามารถจับผิดเรา หากเราไม่ได้ทำตามกฏที่เราบอกเขา เช่น ถ้าคุณห้ามไม่ให้เขากินขนมบนที่นอน แล้วเขาเห็นคุณกินอยู่ เขาพูดว่า " แม่กินขนมบนที่นอนไม่ได้ " ถ้าเขารู้จักกฏและรักษากฏได้แล้วแสดงว่าคุณเริ่มใช้ time out กับเขาได้

แต่ถ้าคุณเริ่มเร็วเกินไป อาจไม่เป็นผลดี เพราะเด็กอาจยังไม่โตพอที่จะเข้าใจว่า ทำไมเขาจึงโดนทำโทษ ข้อสำคัญอย่างนึง คือ ควรต้องสังเกตดูว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น เนื่องจากการที่เขารู้ว่าไม่ควรทำ แต่ทำ หรือ เขาทำไปโดยที่เขาไม่รู้

--วิธีเริ่ม time out --

เราควรเริ่มร่วมกันระหว่าง พ่อ แม่ ลูก คือ ถ้าลูกคุณเริ่มมีพฤติกรรมที่ไม่เชื่อฟัง หรือ ก้าวร้าว คุณเริ่มพูดกับแกว่า " เรามาพักเวลานอกกัน โดยการอ่านหนังสือกันดีกว่า " เรียกว่า positive time out หรือ การ ขอเวลานอกในแง่ดี กิจกรรมที่ก่อความเงียบ เช่น การนอนฟังเพลง อ่านหนังสือ นอนเฉยๆ แยกเขาออกมาจากกิจกรรมที่ทำให้เขาหงุดหงิด จะเป็นการสงบสติอารมณ์ของเด็ก การเริ่มทำเช่นนี้ จะเป็นการฝึกให้แกรู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ของตนเองอย่างสงบ

--อธิบายให้เด็กฟัง ก่อนเริ่ม--

ก่อนที่จะขอเวลานอกอย่างจริงจัง เราควรอธิบายให้แกเข้าใจหลักการก่อน โดยอาจใช้ตุ๊กตาทีแกชอบเป็นตัวอย่าง เช่น " ถ้าลูกดื้อมากๆ ไม่เชื่อฟัง พ่อ แม่ หรือ ทำอะไรที่แม่คิดว่าไม่เหมาะสม แม่จะให้ " ขอเวลานอก " นะ คือ การที่ลูกจะต้องมานั่งบนเก้าอี้เฉยๆ สักระยะจนกว่าลูกจะสงบลง " แล้วเราก็นำตุ๊กตามานั่งเป็นตัวอย่างให้เขาดู

อาจพลิกแพลงได้ เช่น นั่งตรงบันได นั่งกอดอก 1 นาที 2 นาที ถ้ามีนาฬิกาทรายจะดีมาก หรือถ้าเด็กดูเวลาได้ เข็มวิ หรือ เข็มนาทีก็แล้วแต่

ปกติเราจะเริ่มฝึกเมือ่เด็กเริ่มมีสมาธิมากขึ้น สามารถฟังคำอธิบายได้ คือ ประมาณ 2-3 ขวบ

--จะให้เด็กได้ time out นานเท่าไร--

time out นั้นไม่ได้เป็นการลงโทษเด็ก แต่เป็นการที่ให้แกออกมาจากกิจกรรมนั้นๆ ที่ทำให้แกโมโห เพื่อให้แกสงบลง ดังนั้นระยะเวลา จะสั้นยาวขึ้นอยู่อายุของเด็ก เช่น 2 ขวบ ก็สั้นๆ ปรมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที โดยการเริ่ม อาจยังไม่ต้องพาไปที่เก้าอี้ อาจเพียงแค่ให้แกได้นั่งนิ่งๆ หรือยืนเงียบๆ หลังจากที่แกเริ่มสงบก็ หันเหไห้ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

ระยะเวลานั้นต้องดูเป็นกรณีไป เวลาที่ดี คือ พอประมาณให้แกสงบสติอารมณ์ได้ ไม่ควรนานเกินไปจนทำให้แกหงุดหงิด เพราะต้องนั่งเฉยๆ

ก่อนจบขอแนะนำว่า การใช้ time out ต้องใช้ความอดทนสูง เพราะเด็กเล็กๆนั้น มีความท้าทายพ่อแม่สูง วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เขารู้จักสงบสติอารมณ์ แต่อาจจะไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็น
เพื่อนแพทให้ลูก time out ตั่งแต่ยังไม่ถึงขวบเลยค่ะ คือถ้าดื้อหรือซนมากๆ บอกแล้วไม่ฟัง เค้าจะให้ลูกนั่งในเก้าอี้เด็ก(ที่เวลาเด็กเล็กทานข้าว) ล๊อคไว้ที่เก้าอี้เลย แล้วให้หันหน้าเข้ากำแพง หรือนั่งใน car seat ในรถ (โรงรถฝรั่งจะต่อติดกับตัวบ้านค่ะ)
ส่วนของแพทเอง เวลาที่ลูกซนหรือดื้อ แพทจะเตือนก่อน เตือนแล้วไม่ฟังจะนับ 1 แล้วถ้านับ 2 แล้วยังไม่ยอมหยุดก็ไปเลยค่ะ เข้าห้องไปเลย
วิธีนี้เกดก็ใช้กับลีอองค่ะ time out เพราะบางทีลีอองจะดื้อมากพูดไม่ฟัง หรือหงุดหงิดที่เราทำอะไรให้ไม่ได้ดังใจก็จะบอกเค้าเลยค่ะว่าถ้าแม่พูดดี ๆ แล้วหนูยังมีอารมณ์อย่างนี้อีกก็เข้าห้อง หรือเข้ามุมเลยนะคะ ถ้าหนูรู้สึกว่าหนูอารมณ์ดีและพร้อมที่จะฟังแม่อธิบาย ก็ บอกแม่นะคะ
ดิฉันมีลูกคนเดียว ใช้วิธีหันหน้าหนี ไม่สบตาลูก ซึ่งลูกจะเสียใจมาก
แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือเปล่า ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
อยากแนะนำว่าอย่าให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักค่ะ เพราะนั้นจะทำให้เค้าเกิดปมด้อย เกิดน้อยใจว่าทำไม่พ่อแม่ไม่รัก เค้าอาจจะพยายามทำตัวให้ดีขึ้น หรืออาจจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม วิธีที่คุณซันทำ ถ้าเด็กไม่เข้าใจ ถ้าผู้ใหญ่ไม่อธิบาย เค้าจะสับสนและเสียใจ อาจทำให้เกิดบาดแผลในใจเค้าได้ และยิ่งถ้าเค้าโตขึ้น เวลาเค้ามีเรื่อง มีปัญหา หรือว่าไม่พอใจพ่อแม่ เค้าก็จะใช้วิธีเดียวกันกับที่คุณทำ คือไม่พูดด้วย ซึ่งก็จะทำให้เราไม่รู้ถึงปัญหาของเค้า เกิดความเหินห่าง วิธีคุยกัน หันหน้าเข้าหากันน่าจะดีกว่า ให้เคารู้ว่าทำไมแม่ไม่พอใจในสิ่งที่เค้าทำ ให้เค้ารู้ว่าเรารักเค้า ถึงแม่จะทำโทษก็เพราะรัก และพ่อกับแม่พร้อมที่จะยกโทษให้เค้าเสมอ ถ้าเค้าสำนึกผิด เป็นการสร้างสานสัมพันธ์ที่ดีกว่าค่ะ เพราะพอลูกเริ่มโตเป็นวัยรุ่น เค้าก็จะเริ่มมีโลกส่วนตัวของเค้าเอง ถ้าสายสัมพันธ์ตรงนี้ไม่แข็งแรงแล้ว โอกาสที่เค้าจะหันหน้าเข้ามาคุยและปรึกษาเวลาที่มีปัญหาก็จะยากขึ้น
การอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่เป็นเรื่องยากค่ะ แพทเข้าใจและคิดว่าเราคงทำอะไรได้ไม่มากในการที่จะช่วยอบรมสั่งสอนลูกของคนอื่น โดยเฉพาะเวลาที่มีผู้ใหญ่ให้ท้ายในสิ่งที่ผิด เราคงได้แต่พยายามสอนลูกของเราเองให้ดีี่ที่สุด พยายามสอนในสิ่งที่ถูกที่ผิด โดยไม่ต้องไปกระทบถึงคนอื่นหรือญาติผู้ใหญ่ ที่สำคัญคือความเข้าใจระหว่างสามีภรรยา เพราะถ้าเค้าไม่เป็นกำลังใจในการที่จะช่วยสอนลูกเราแล้ว มันก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ คงต้องคุยกันให้เข้าใจว่าสถานะการณ์เป็นอย่างไร แล้วเราก็ไม่ต้องการที่จะไปว่าหรือขวางญาติผู้ใหญ่ของเค้า แต่เราก็ต้องสอนลูกของเราเองว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำค่ะ พยายามอย่าใช้การเปรียบเปรย กระทบกระเทียบนะค่ะ แค่บอกลูกเฉยๆว่าสิ่งควรทำรึเปล่า เพราะอะไร ถ้าเค้าถามว่าแล้วทำไมทีพี่เค้าทำได้ เราก็บอกไปว่าตามมารยาทสังคมแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ที่โรงเรียนคุณครูจะสอนหนูเองว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ควรหรือไม่ควร แต่ตอนนี้หนูควรเชื่อฟังแม่และทำตามที่แม่สอนนะค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service