เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ระวัง!!ภาษาอังกฤษของเด็กไทยกำลังก้าวตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ชุติมา สุขวาสนะ   Rewriter : สุนันทา สุขสุมิตร
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
---------------

ระวัง!!ภาษาอังกฤษของเด็กไทยกำลังก้าวตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน
 

ในขณะที่คนไทยกำลังวุ่นวายอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง ทะเลาะกันเองเพียงเพราะมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจนนำไปสู่ความแตกแยก สร้างผลกระทบเสียหายบานปลายถึงภาพรวมในด้านต่าง ๆ ของประเทศ ไม่ว่า จะเป็น เศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ไม่เว้นแม้แต่เสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ แต่สิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามหรือลืมคิดไปชั่วขณะก็คือ ผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของเยาวชน ที่จะเป็นฟันเฟืองหลักของชาติในอนาคต

เพราะขณะที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองกำลังทะเลาะกันอยู่นั้น เด็กๆ หลายคนอาจมีคำถามอยู่มากมายที่อยากจะถามผู้ใหญ่เป็นต้นว่า การแตกแยกของคนในชาติครั้งนี้ พวกเขาจะได้อะไรบ้าง? หรือ การแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องต่างๆ มากมาย ทำเพื่อพวกเขาแค่ไหน ? หรือ ประชาธิปไตยกินได้ เป็นอย่างไร?

    คำถามเหล่านี้ อาจไม่จำเป็นต้องมีคำตอบที่สวยหรูหรือโปรยยาหอมให้ฝันค้าง แต่สิ่งที่เขาต้องการจากผู้ใหญ่ ก็คือ การสร้างความมั่นคงให้พวกเขาในอนาคต ซึ่งความมั่นคงที่ว่า จะเป็นสิ่งอื่นใดไม่ได้ นอกจากการพัฒนาการศึกษา ให้พวกเขามีความพร้อมและเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติที่มีศักยภาพต่อไป

    ในความเป็นจริง ต้องยอมรับว่า แม้เราจะมีองค์กรที่ดูแล พัฒนาการศึกษา ตั้งเป้ายกระดับให้การศึกษาไทยก้าวนำประชาคมอาเซียน ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่คุณภาพของประชากรไทยยังอยู่สถานการณ์ที่น่าห่วง เช่น กรณีผลสำรวจความตระหนักรู้ของประชาชนในประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ปรากฏว่า ประชาชนลาวมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนสูงเป็นอันดับ 1 ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศริเริ่มและมีการลงนามปฏิญญาอาเซียนนั้น กลับมีความตระหนักรู้ในลำดับที่ 8 ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการสื่อสารที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างคนไทยยุคใหม่ให้มีความรู้ สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกันกับเพื่อนบ้านได้

    นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(เอแบค) โดย ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ เปิดเผยว่า ในเดือนมกราคมปี 2558 ซึ่งถือเป็นวันดีเดย์ของการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประเทศเอเชีย หลายประเทศมีการตื่นตัวกันมาก อย่างเช่นประเทศกัมพูชา มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั่วไป ขนาดเปิดสอนกันตามตึกแถวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงพนมเปญหรือตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องบุคลากร แสดงให้เห็นว่าประเทศกัมพูชาตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องภาษาอังกฤษ และทราบว่าในปี 2558 จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในกลุ่มประเทศเอเชีย

    รวมทั้ง ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านเราอีกประเทศหนึ่ง ก็ตื่นตัวเช่นกัน เพราะหลายปีที่ผ่านมาประเทศสิงคโปร์มีนโยบายชักชวนให้ทุนบุตรหลานของผู้ บริหาร อย่างเช่น ประธานหอการค้าจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมาเรียนที่สิงคโปร์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
    ดังนั้น บรรดาสถาบันการศึกษาต่างๆของไทย ก็ควรดำเนินการในลักษณะนี้บ้าง ซึ่งก็ได้เริ่มกันบ้างแล้ว เช่น ที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ได้เชิญชวนลูกหลานของผู้บริหารสำคัญๆของกัมพูชาที่มีชายแดนติดต่อกัน มาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเด็กเหล่านี้เมื่อทำงานก็จะติดต่อสื่อสารกับประเทศไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะรู้ภาษาไทยและเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ยังได้ให้ทุนบุตรหลานของชนกลุ่มน้อยในพม่าหลายร้อยคนมาเรียน จุดประสงค์ก็เพื่อให้คนไทยเข้าใจพม่าอย่างแท้จริง ไม่ใช่รู้เพียงแค่เป็นประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ซึ่งวิธีการให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ล้วนก่อให้เกิดผลดีหลายประการ และชี้ให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาก็สามารถทำเงินเข้าประเทศได้หลายหมื่นล้าน เช่นกัน

ทำไมเด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษกันมากมาย แต่ยังสู้เพื่อนบ้านไม่ได้?
    “เราเห็นโรงเรียนสอนภาษาพิเศษอังกฤษผุดขึ้นมา เป็นดอกเห็ด เห็นโรงเรียนนานาชาติตั้งกันอย่างคึกคัก เห็นเด็กไทยเดินตามแฟชั่นต่างประเทศกันอย่างเมามัน ถามว่าเด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่”
    นี่คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย และยิ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเมื่อเหลียวมองประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง เวียดนาม และกัมพูชา และลาว กำลังมีความร้อนแรงเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะสำหรับเยาวชนของเขา เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของตน...เราเห็นการปรับตัวของเขาอย่างจริง จังและได้ผลทันตาเห็น

    โดยเฉพาะเวียดนามในระยะหลังนี้จะเห็นความตื่นตัวเรื่องภาษาต่างประเทศ ของเขาอย่างชัดเจน...แต่ก่อนเป็นภาษาฝรั่งเศส และรัสเซีย แต่วันนี้คนรุ่นใหม่ของเวียดนามเน้นความคล่องทางภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เพราะนี่คือสองภาษาสากลที่จะวัดความเก่งกาจสามารถของเขาในวันนี้และ อนาคต...และผลที่ออกมานั้นก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนแล้ว

    ขณะที่ระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษของเด็กสิงคโปร์ และมาเลเซียนั้น ก็ต้องยอมรับว่าอยู่เหนือคนไทยมานานแล้ว...แม้แต่เยาวชนพม่า แม้ว่าจะถูกเผด็จการทหารปิดโอกาสการเรียนหนังสืออย่างเปิดกว้างมานาน แต่เจอเด็กรุ่นใหม่จากย่างกุ้งแล้วจะรู้ว่าเขาสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ คล่องแคล่วกว่าเด็กไทย

    เป็นไปได้ว่า สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการที่สองประเทศเพื่อนบ้านนี้เคยถูกอังกฤษปกครอง แต่นั่นก็เป็นข้ออ้างสำหรับคนไทยมานานหลายสิบปีแล้ว ไม่อาจจะใช้กับเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดในช่วง 15 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะต้องถือว่าในระยะสองทศวรรษที่เพิ่งผ่านพ้นมานั้น สถานการณ์ของไทยกับเพื่อนบ้านทั้งหมดในเรื่องภาษาต่างประเทศต้องนับหนึ่งกัน ใหม่ได้

    เราไม่สามารถจะอ้างเหตุผลด้านประวัติศาสตร์มาอธิบายได้ตลอดไปว่าเราแพ้ เขาเพราะเขาเคยมีต่างชาติมาปกครอง เพราะถ้าเราอ้างความภาคภูมิของการที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใครเพื่อประกอบการ ชี้แจงว่าเราอ่อนภาษาต่างประเทศด้วยเหตุนี้ ก็เท่ากับเรายอมรับว่าเราจะต้องแพ้เขาไปตลอดกาล...และเด็กไทยจะต้องเป็น ประชาชนชั้นสองในเวทีสากลตลอดไปอย่างนั้นหรือ

    อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นครูภาษาอังกฤษ ติวเตอร์ทั้งหลาย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต่างช่วยกันวิเคราะห์และวิพากษ์รูปแบบและเนื้อหาตลอดจนปัญหาของการเรียนและ การสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กไทย ได้ผลสรุปตรงกันว่า หากเราจะมุ่งหน้าสร้างชาติสร้างบ้านเมืองกันอย่างจริงจังแล้วไซร้ เรื่องการเรียนภาษาต่างด้าวยังเป็นเรื่องที่ต้องทำการบ้านกันอีกมากมายเหลือ เกินและรอช้าไม่ได้เพราะประเทศเพื่อนบ้านเขาไปไกลกว่าเราหลายก้าวแล้ว!!

ชุติมา สุขวาสนะ เรียบเรียง

ศิริวรรณ ดำปรีดา บรรณาธิการ

Views: 268

Reply to This

Replies to This Discussion

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะคุณบิ๊ก ทำให้ได้รู้ว่ายังมีคนบางคนคิดบางเรื่องได้คับแคบมากๆ รู้ว่าจริงๆแล้วความตั้งใจของคุณบิ๊กต้องการจะเสนอเนื้อหาด้านภาษา แต่พอมันมีเรื่องทางประวัติศาสตร์และการเมืองเกี่ยวข้องแล้วก็อดเห็นแย้งไม่ได้ เพราะเอาเข้าจริงการที่รุ่นพ่อรุ่นแม่เป็นเมืองขึ้นทำให้พื้นภาษาดีอยู่แล้ว รุ่นลูกรุ่นหลานก็ต้องพัฒนาไกลกว่าพ่อแม่ แล้วเราผู้เป็นเอกราชรุ่นพ่อแม่อ่อนด้อยทางภาษาต่างประเทศรุ่นลูกหลานก็ต้องยากที่จะพัฒนากว่าเพื่อนบ้านเป็นปกติ แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราเดินผิดทางอย่างไร และคุณบิ๊กก็เปิดทางที่ถูกต้องเอาไว้แล้ว ซึ่งเราๆในนี้ ก็พยายามเดินตามทางนั้น ส่วนบทความนี้จะไม่ขอออกความเห็นเพราะดูมันจะไปเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และการเมืองมากเกินไปจนผิดเจตนาเวบ แต่ขอบอกว่าไม่เห็นด้วยกับ ชุติมา สุขวาสนะและ ศิริวรรณ ดำปรีดา สักเท่าไรค่ะ

ปล.เอาหลักฐานอะไรมาวัดว่า พม่า-เวียดนาม ดีกว่าไทยฮึ
ผมก็ต้องขอบคุณข้อมูลนี้เช่นกันครับ แต่มีมุมมองในเรื่องนี้ว่าน่าจะเป็นอีกครั้งที่มีข้อมูลมากระตุ้นความตระหนักรู้ถึงความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยที่ไม่ได้เรื่องอย่างค่อนข้างได้ผล เพราะอ่านแล้วก็อดเคืองนิดๆไม่ได้ ว่าแหม..นะ.อุตส่าห์ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใครกลับกลายว่ามามีปัญหาเรื่องภาษาซะงั้น ก็ธรรมดาน่ะอย่างที่ผู้ใหญ่บิ๊กว่าวัฒนธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดก็คือภาษาเวลายึดครองใครได้ก็ต้องเริ่มเผยแพร่ภาษากันเป็นอย่างแรก แต่เผอิญว่ายึดได้มากพอก็เลยเป็นภาษาประจำโลกนี้ไปเลย อันนี้เถียงไม่ขึ้นตอนนี้ถึงไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใครก็ต้องตะเกียกตะกายตามเขาให้ทันเพราะไม่งั้นลูกเราอาจจะไม่ทันเขาซึ่งก็มองเห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกวันแล้ว คงต้องใช้รูปของฝรั่งที่ว่า Forget the past start the new ที่แน่ๆคือตอนนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้เป็นสากลไปแล้ว จับยึดขบวนรถไฟประจำหมู่บ้าน2ภาษาให้แน่นๆแล้วขอแซงทางโค้งไปก่อนแล้วกันครับ
ขอขึ้นรถไฟ ขบวนนี้ด้วย ครับบบ...

ถามรถไฟ...รถไฟไปไหน.. ถามรถไฟ...รถไฟไปไหน..
รถไฟตอบ...ไปเหนือ ล่องใต้.....

ซิ่งไปเลย นะครับ พ่อ-แม่ 2 ภาษา

เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ช่างหัวมัน...(เหมือนในหลวงตรัสไว้)...เรามาเริ่มกันใหม่
เริ่มเดี๋ยวนี้เลยนะครับ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2025   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service