โดย เรือรบ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=shipnavy&month=17-12-20...
---------------
อุปนิสัยในภาษา
ใน ช่วงอาทิตย์แรกที่เดินทางมาถึงอังกฤษ ผมต้องปรับตัวอย่างมาก เริ่มจากเวลาที่แปรเปลี่ยน ช้ากว่าประเทศไทย 7 ชั่วโมง ผมตื่นตี 3อยู่ในช่วง 2-3คืนแรก (เป็นเวลา 10โมงเช้าของประเทศไทย) แล้วก็ต้องข่มตาหลับต่อ พอตื่นอีกทีราวแปดโมงเช้าก็จะปวดหัวมาก มึนไปทั้งวัน เหมือนตอนที่นอนมากเกินไป อาการนี้คงเรืียกว่า Jet lag นั่นเอง ต้องพยายามนอนและตื่นตามเวลาของที่นี่สักสองสามวัน นาฬิกาชีวิตในตัวก็จะปรับไปได้เอง ถ้าไม่ยอมฝืนทำในลักษณะนี้ เราจะนอนและตื่นผิดเวลาไปอีกนาน และไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว
การ ปรับตัวด้านภูมิอากาศ ขณะนี้เดือนพฤศจิกายน เข้าช่วงฤดูหนาว กลางวันอุณหภูมิราว 7 องศา ตกกลางคืนก็เหลือ 2 องศา หายใจออกมาเป็นไอขาวขุ่นตลอดวัน ต้องใส่ถุงมือหนาๆเพราะถ้าเย็นมากนิ้วเราจะชาและปวด ฟ้าจะเริ่มสางก็แปดโมงเช้าไปแล้ว และพอสี่โมงเย็น ฟ้าก็จะมืดสนิทแล้ว พระจันทร์ขึ้นเห็นชัดเลย พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นทางตะวันออกแล้วผ่านหัวเราไปตกทางตะวันตกเหมือนในประเทศ ไทย ซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่จะขึ้นเฉียงๆต่ำๆ พอเที่ยงตรงจะอยู่ที่ระดับเหมือนตอนสายๆบ้านเรา แล้วก็คล้อยลงเลยทันทีในระนาบเดิม ฝั่งเดิมจนตกดินไป เป็นภาพที่แปลกตาดี แต่บรรยากาศแบบนี้ทำให้ดูเหมือนเรามีเวลาตอนกลางวันน้อยไป พอมืดก็จะเริิ่มหิวและง่่วง ไม่อยากอยู่ข้างนอกนานนักเพราะอากาศหนาว ที่ไทยเราต้องเปิดแอร์ ที่นี่ก็ต้องเปิด แต่เป็นเครื่องทำความร้อน เป็นความเหมือนที่แตกต่าง เหมือนไม่เคยมีความพอดีในชีวิต
ที่นี่ฝนจะ ตกบ่อย แต่เป็นตกปรอยๆ เบาๆ ผู้คนก็จะดำเนินกิจกรรมไปตามปกติเคยชิน ไม่กางร่มถ้าไม่จำเป็น ตกไปสักพักก็จะหยุด ยังไม่เคยเห็นตกหนักๆ หรือตกนานๆเลย แต่ฝนที่ตกผนวกกับอากาศที่หนาว ก็ทำให้เราสั่นสะท้านได้เหมือนกัน ผมเองพอต้องออกจากบ้านครั้งใด ใส่เสื้อหนาวอย่่างหนากันลมและฝนได้ สวมหมวกไหมพรมและถุงมือ ถุงเท้าต้องอย่างหนาและสองชั้น เพราะในชีวิตไม่เคยหนาวขนาดนี้ แต่ฝรั่งที่นี่เดินใส่เสื้อแขนยาวไหมพรมบางๆธรรมดา เดินเล่นสบายใจ บางคนสวมขาสั้นวิ่งจ๊อกกิ้ง ขณะที่ผมทำตัวเหมือนเอสกิโม เดินสั่นๆขดๆ มุดหน้าอยู่ในเสิื้อ โผล่ก็เพียงแต่ตาเท่านั้น
ในการเรียนรู้เร่ื่อง ทั่วไปและการใช้ชีวิตประจำวัน มาใหม่ๆยังไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีบัญชีธนาคาร ไม่มีบัตรเดบิตและเอทีเอ็ม จะใช้จ่ายอะไรก็ต้องเป็นเงินสด ค่าเงินปอนด์ก็ไม่คุ้น จะใช้จ่ายอะไร อดคูณด้วย 55 ไม่ได้ แล้วก็จะรู้สึกว่าของทุกอย่างแพงมหาโหด เช่นกินข้าว ขั้นต่ำมื้อละ 250-500บาท ขึ้นรถเมล์เที่ยวละ110 บาทเป็นต้น เศษเหรียญเงินปอนด์ก็หยิบใช้ผิดๆถูกๆ เพราะเหรียญเพ็นนีนั้น ทำออกมาไม่ได้เรียงขนาดตามมูลค่า แล้วก็มีหลายแบบมากทัั้งเหรียญ 1p ,5p ,10p ,20p ,50p, £1, £2 พอปนกันแล้วก็มั่วไปหมด ลองจินตนาการว่าจะซื้อของราคา £1.79 จะงงขนาดไหน บางทีก็ตัดรำคาญ หยิบแบงค์ใบละ £5 ซึ่งต่ำที่สุดจ่ายไป นึกว่าจะดี ที่ไหนได้ ทอนเหรียญมาเป็นกระบุง หนักมาก แถมไม่กล้ามานั่งนับตรงนั้นอีก คนข้างหลังรอคิวอยู่อีกเพียบ เลยจำต้องหอบเศษเหรียญทั้งหลายเหล่านั้นมา หาที่นั่งนับอีกที นี่สินะเป็นเหตุให้คนที่นี่ถึงมักใช้บัตรเดบิตจ่าย เพราะสะดวกกว่าไม่ต้องพกเหรียญเยอะแยะนั่นเอง
สิ่งที่กล่าวมาเป็น เพียงการเรียนรู้เบื้องต้นซึ่งไม่ยากนักที่จะทำความคุ้นเคย แต่สิ่งที่ยากเย็นและค่อนข้างลำบากในการปรับตัวสำหรับคนต่างชาติอย่างเราๆ ก็คงหนีไม่พ้น เรื่องของภาษา เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มาใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ การใช้ภาษาอังกฤษของผมแม้ได้รับการสอน เรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ก็จากครูคนไทย เรียนอังกฤษคำ แปลไทยคำ และพอโตขึ้น อาจจะได้ฝึกฝนเองจากการดูหนังฟังเพลง ก็จะเป็นอังกฤษแบบอเมริกันเสียส่วนมาก การมาเจอต้นตำรัับเจ้าของภาษาที่ประเทศอังกฤษแบบนี้ ทำให้ผมถึงกับเสียความมั่นใจไปเยอะ เนืื่องจากฟังคนทั่วไปพูดไม่ออก พยายามฟังยังไงก็รู้เรื่องได้ไม่ถึงครึ่ง ไม่ใช่คำศัพท์หรือไวยากรณ์ แต่เป็นที่สำเนียงนั่นเองที่ผมไม่คุ้นเคย เมื่อเราฟังไม่ออก แน่นอนการพูดออกไป เค้าก็จะฟังเราไม่รู้เรื่องเช่นเดียวกัน
ภาษา อังกฤษนั้น มีโทนเสียงสูงต่ำ เน้นนำ้หนักไม่เท่ากัน เหมือนดั่งทำนองดนตรี คำเดียวกัน ถ้าออกเสียงผิด หรือเน้นพยางค์ที่ผิด เค้าจะไม่เข้าใจเราเลย ต้องคิดว่าเราร้องเพลงอยู่ ทำสำเนียงสูงต่ำหนักเบาให้คล้ายเข้าไว้ คำไหนประโยคไหนได้ยินบ่อยๆก็จดจำแล้วเอามาพูดตามบ้าง ถึงจะพอไปได้ มานั่งแต่งประโยคตามหลักไวยากรณ์ก็คงไม่ทันการ เพราะแม้ประโยคถูกแต่สำเนียงเพี้ยน เค้าก็ไม่เข้าใจอยู่ดี แล้วนอกจากนั้น คนอังกฤษยังมีสำเนียงท้องถิ่น ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เหมือนบ้านเรา จึงไม่ต้องหวังเลยว่าจะได้รับฟังสำเนียงเดียวกับที่เราพยายามหัดดูหัดฟัง BBC มาแล้วอย่างมากมายก่อนเดินทาง ต้องมาตายเอาดาบหน้าเท่านั้นหรือเนี่ย
ทำ อย่างไรดีล่ะ ก็ต้องพยายามใช้ภาษาทุกวันๆ จดจำและทำตัวให้เหมือนเด็กน้อยหัดพูดใหม่ๆ เราก็จะเตาะแตะเริ่มพูดได้เช่นเดียวกัน เพราะเด็กสามขวบที่นี่พูดได้แล้วอย่างน่ารัก ยังไม่เห็นต้องเข้าโรงเรียน ท่องศัพท์ แต่งประโยค หรือเรียนแกรมม่าอะไรเลย เผลอๆพูดเก่งกว่าเราซึ่งเรียนภาษามานมนานกว่า20 ปี แต่พอจะต้องพูดจริงๆ ความรู้ที่เรียนมามันหดหายไปไหนหมดไม่รู้ เด็กน้อยมีเทคนิคพิเศษอะไรหรือครับ อ้อ เค้าฟังพ่อแม่พูด แล้วเลียนแบบไงครับ เด็กๆเป็นนักเลียนแบบชั้นยอด ทำซ้ำๆไม่มีเบื่อ ไม่มีความกลัว ถ้าพูดผิด พ่อแม่ก็จะแก้ให้ ด้วยการพูดให้ฟังใหม่ แล้วลูกก็จะเริ่มจดจำ เลียนแบบ ทำซ้ำอีกต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่า จนคล่องแคล่วไปเอง หากเราเรียนรู้และฝึกแบบนี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต่างกับคนที่เกิดที่นี่เลย ผมคาดการณ์ว่า ไม่เกิน 2-3 ปี เหมือนเด็กนั่นแหละครับ นั่นเป็นเพราะอะไร ภาษา ไม่ใช่ความรู้ทางวิชาการ แต่เป็นทักษะการบ่มเพาะจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ส่วนถ้าอยู่ที่เมืองไทยหรือครับ ก็ต้องหาเพื่อนชาวต่างชาติแล้วคุยกันทุกวันสิครับ หรือจะหาแฟนไปเลยก็ดีนะครับ จะได้ฝึกแบบมีกำลังใจและมีแรงบันดาลใจ เห็นได้ชัด สาวๆชาวอีสานบ้านเรายังไม่เห็นต้องเทคคอร์สภาษาเลย ส่วนพ่อค้าแม่ขายตามพัฒน์พงศ์ ก็พูดคล่องปร๋อกว่านักเรียนมหาวิทยาลัยดังๆในเมืองหลวงซะอีก
นอกจาก นั้น ภาษา คือการสื่อสารที่คนในสังคมนั้นๆ ใช้สืบต่อถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นรากเหง้าของบรรพบุรุษ และมีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามความสะดวกของคนที่ใช้ และช่่วงของเวลาที่ผ่านไป ดังนั้น ถ้าเราลองใคร่ครวญความหมายในภาษาให้ลึกลงไป เราจะพบเห็นได้ถึงภูมิปัญญาอันเก่าแก่ของบรรพบุรุษ ที่ฝังแฝงมากับถ้อยคำและความหมาย ผมอาจวิเคราะห์ได้ไม่ละเอียดลึกซึ้งมากนักเนื่องจากไม่ได้จบมาทางภาษาศาสตร์ หรืออักษรศาสตร์ แต่พออยู่ๆไปสักพัก ผมเริ่มได้เค้าลางบางอย่าง ซึ่งอาจไม่ถูกก็ได้ เพราะผมลองสังเกตด้วยความเข้าใจของผมเอง ดังนั้นผมไม่แปลกใจถ้าจะมีผู้ไม่เห็นด้วยอย่างมากหลังจากอ่านบทความนี้จบ ความตั้งใจของผมไม่ได้ต้องการจะเปรียบเทียบว่าภาษาไหนดีกว่า หรือสิ่งไหนถูกผิด แต่เป็นเพียงข้อสังเกตและความคิดเห็นที่ได้มาจากการใช้ชีวิตกับผู้คนใน วัฒนธรรมที่ต่างออกไป ความแตกต่าง จึงไม่มีถูกกว่า หรือดีกว่า เป็นแค่เพียงความแตกต่างเท่านั้น ไม่มีความหมายที่มากไปกว่านั้น
เรา อาจกล่าวว่าเราเป็นชาวพุทธ ซึ่งยึดมั่นเข้าใจในกฏไตรลักษณ์ อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความจริงอันประเสริฐคือได้เข้าถึงความเป็นปัจจุบันขณะ สามารถปล่อยวางอดีต และรู้เท่าทันปัจจุบันได้ ผมตั้งสมมติฐานว่า แม้ในภาษาอังกฤษ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคริสต์ เนิ่นนานมาแล้วในรุ่นบรรพชน มีภูมิปัญญาเห็นแจ้งในกฏไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน อันจะสังเกตได้ว่าพวกเค้าใช้ Past tense ในประโยคที่เป็นอดีต ขยายเน้นให้เห็นว่า เหตุการณ์ที่พูดเนี่ย มันจบไปแล้วนะ เราเองเป็นคนไทยเสียอีก พอพูดเขียนภาษาอังกฤษทีไร ลืมเติม -ed ในกริยาของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกที การผันกริยาเป็นช่องสอง ในการพูดของผมต้องอาศัยการมีสติรู้ตัวอย่างยิ่ง ว่าเรื่องที่พูดเป็นอดีตไปแล้ว ต้องเปลีี่ยนกริยาด้วยนะ ซึ่งยากมาก ต้องคอยระมัดระวังอย่างดี ฝึกให้เรามีสติรู้ตัวมากขึ้นโดยอัติโนมัติ เป็นธรรมะที่คนโบราณชาวตะวันตกแทรกสอดให้ลูกหลานได้เรียนรู้อย่างแยบยลยิ่ง แถมที่ละเอียดลึกซื้งกว่านั้น มี Tense ต่างๆไว้บอกลำดับเหตุการณ์ที่ต่างออกไปรวมถึง 12แบบด้วยกัน ยังไม่นับการเปลี่ยนกริยาด้วยการเติม-s, -es ในประธานของประโยคที่แตกต่างกัน การใช้ a, an นำหน้าคำนามที่แตกต่างกัน ความซับซ้อนเหล่านี้ ทำให้การฝึกสติในชีวิตประจำวันทำได้มากอย่างนึกไม่ถึงเลยจริงๆ
ภาษา อังกฤษ เราเรียก You กับคนทุกคนที่อยู่ตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้อาวุโส นักบวช พ่อ แม่ คนที่นับถืออย่างยิ่ง คนรวย คนจน เพื่อน หรือผู้ที่เยาว์วัยกว่า เค้ามักเรียกชื่อตรงๆ ว่า Johnโดยไม่มีคำนำหน้า เช่น ท่านจอห์น คุณจอห์น พ่อจอห์น พี่จอห์น หรือไอ้จอห์น เรียกแค่ จอห์น เฉยๆ ไม่ว่านายจอห์นคนนี้จะเป็นใคร ใหญ่โตหรือต้อยต่ำมาจากไหน อาจดูเหมือนก้าวร้าวหยาบคายในวัฒนธรรมไทย แต่ผมพบว่า ต้องอาศัยความกล้าอย่างมาก ที่จะเรียกชื่ออาจารย์ดอกเตอร์ที่คณะว่า จอห์น เฉยๆ มันเหมือนไม่คุ้น ไม่ถูกต้อง แต่จริงๆแล้วมันคือความรู้สึกของความเท่าเทียม ในความเป็นมนุษย์ปุถุชนของพวกเค้า ซึ่งในประเทศที่มีลำดับชั้นทางสังคมมากมายอย่างเราไม่มีทางเข้าใจ และนอกจากนั้น ผมพบว่า การที่เราสามารถเรียกชื่อ จอห์น เฉยๆ แทนที่เราจะรู้สึกหยาบกระด้างหรือตีตนเสมอผู้ใหญ่ เรากลับรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ความใกล้ชิดสนิทสนม ลดช่องว่างระหว่างชนชั้น และเราเห็นคุณค่าของคนแต่ละคน เคารพความที่เป็นตัวของเขา ไม่ใช่จากฐานะของเขาที่ปะหน้าอยู่ แล้วทำให้เรารู้สึกต่ำกว่าในทันทีที่เริ่มบทสนทนา
อย่างไรก็ดี เราสามารถเรียนรู้ภาษาที่ต่างออกไปได้่ง่ายและรวดเร็วขึ้น ถ้าเราเอาตัวเข้าไปคลุกคลีกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในถิ่นนั้น อย่าทำตัวแปลกแยกแตกต่าง มีข้อห้ามข้อจำกัดเยอะแยะ หรือคอยแต่วิพากษ์วิจารณ์ตัดสินถูกผิด ไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกกลืนกิน หรือจะเปลี่ยนตัวตนไป เพราะเวลาที่เราเติบโตขึ้นมา มันฝักรากลึกไปแล้ว ยังไงก็คงไม่มีอะไรมาครอบงำเราได้ ถ้าเราไม่เต็มใจเปลีียนแปลงด้วยตัวเอง มีผู้ใหญ่ที่เคยมาใช้ชีวิตเมืองนอกนานๆ ก็แนะนำผมไว้ ว่าพยายามเลียนแบบวิถีชีวิตคนอังกฤษ กินอย่างเค้า เล่นอย่างเค้า เราจะปรับตัวได้ดีและมีความสุขกับช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่น มากกว่าจะเก็บกด จับเจ่า นั่งเม้าท์กับคนที่คุยภาษาเดียวกันไปวันๆ แล้วก็กลับมาอย่างไม่ได้อะไรเลย
ถ้าทั้งหมดในบทความนี้ เป็นทฤษฎีที่รอการพิสูจน์ ก่อนอื่น ผมคงต้องเริ่มด้วยการลดความหนาและจำนวนชิ้นของเสื้อผ้าลง สะบัดตัวจากเตียงและผ้าห่มแสนอุ่นนุ่มสบายในตอนเช้า ตอนที่น้ำค้างยอดหญ้าเป็นเกล็ดขาวแข็งโพลน แล้วออกไปจ๊อกกิ้งหายใจเข้าออกเป็นไอ แล้วบอกกับตัวเองว่า ไม่เห็นหนาวหนักหนาอะไร ใครๆเค้าก็อยู่ได้ สบายๆกันทั้งนั้น แล้วหวังว่า ผมคงได้ใกล้ชิดความเป็นชาวอังกฤษมากขึ้นอีกนิด และผมคงพูดภาษานี้ได้คล่องแคล่วไพเราะเหมือนภาษาพ่อแม่ที่ผมเคยทำสำเร็จมา แล้วครั้งหนึ่งในอดีตกับภาษาไทยตอนอายุสามขวบนั่นเอง