เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

การออกเสียงและพยัญชนะ+สระในภาษาจีน(สัทศาสตร์)

เนื้อหานี้เป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่พูดจีนกลางกันอยู่แล้ว
ก็ช่วยแนะนำกันได้นะคะ ถ้าเนื้อหายังอธิบายได้ไม่เห็นภาพพอ

เสียงพยัญชนะในภาษาจีนมี 21 ตัว

จะแยกเป็น 2 กลุ่มนะคะ คือ กลุ่มเสียงที่มีในภาษาไทย
กับกลุ่มเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย

กลุ่มเสียงที่มีในภาษาไทย ได้แก่

พยัญชนะ
ป พ ม ฟ.............b p m f
ต ท น ล.............d t n l
ก ค* ฮ*.............g k* h*
ย* ว*.................y* w*

สระ
อา อี อู เออ ออ*...a i u e o*

***
ค* คนจีนส่วนใหญ่จะออกเสียงมาจากด้านในเพดานที่ใกล้กับลิ้นไก่แบบ cat
แต่ออกเสียงเป็น ค.ควาย ไปเลยก็มีมากพอกัน

ฮ* คนจีนส่วนใหญ่จะออกเสียงมาจากลำคอและสั่นเล็กน้อย(เหมือนหอบแรงๆ)
แต่ออกเสียงเป็น ฮอ ธรรมดาก็มีพอๆกัน

ย* เป็นเสียงก้ำกึ่งระหว่าง ย และ อ ค่ะ (เหมือนจะออกเสียง อ.อ่าง แต่ลิ้นอยู่ใกล้เพดานมากกว่า)และเสียงนี้จะถือเป็นเสียงสระด้วยค่ะไม่ใช่พยัญชนะ

ว* เป็นเสียงก้ำกึ่งระหว่าง ว และ อ ค่ะ (เหมือนมีเสียง อ.อ่างก้องอยู่ในลำคอน่ะค่ะ)

ออ* เป็นเสียงสระ อัว+ออ ค่ะ

กลุ่มเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ได้แก่

พยัญชนะ
j q x
z c s
zh ch sh r

สระ
ü

กลุ่มเสียงนี้จะค่อนข้างยากหน่อยค่ะ ต้องฝึกฟังและออกเสียงตามบ่อยๆ
พูดไม่ชัดก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะภาษาจีนเป็นภาษาคำโดดและใช้เสียงวรรณยุกต์
คล้ายภาษาไทย
ถึงออกเสียงเหล่านี้ไม่ชัด แต่ด้วยรูปประโยคและสถานการณ์ก็จะเข้าใจกันได้ค่ะ
(แต่อาจจะมีปัญหาถ้าออกเสียงศัพท์พยางค์เดียว แต่ยังออกเสียงไม่ชัด
ก็อาจจะสร้างความสับสนได้ค่ะ)

อีกอย่างถ้าให้ลูกได้ฟังเสียงคนจีนจริงๆในสื่อ เขาจะค่อยๆเลียนแบบได้เองค่ะ
ชัดกว่าเราๆท่านๆที่เป็นคนชราลิ้นแข็งเสียแล้ว




เสียงกลุ่ม j q x นั้น
ตอนออกเสียงจะต้องยิงฟังหยีเลยค่ะให้เสียงลอดไรฟันออกมา ปลายลิ้นไม่ติดหลังฟันนะคะ
แต่จะจ่ออยู่ชิดๆ แล้วออกเสียงพ่นลมออกมาว่า จี ชี ซี

เสียงกลุ่ม z c s จะคล้ายกลุ่ม j q x ข้างบน แต่ทำปากคนละรูป
ตอนออกเสียงต้องยิงฟันหยีเหมือนกัน จนเหมือนกัดฟันเลยค่ะ แล้วยืดปากออกเป็นรูปที่เวลาออกเสียง อือ แล้วออกเสียง จึ ชึ ซึ แล้วก็ออกเสียงสระอื่นๆของคำตามมา

เสียงกลุ่ม zh ch sh r จะเป็นเสียงม้วนกระดกลิ้นค่ะ
ออกเสียงนี้ทำรูปปากสบายๆค่ะ รูปปากจะออกห่อกลมๆหน่อย พอคิดจะออกเสียงให้ลองนึกถึงตัว r ในภาษาอังกฤษ จะคล้ายๆค่ะ แล้วออกเสียงเลย จือร์ ชือร์ ซือร์ ยือร์

สระ ü เป็นเสียงที่ยากที่สุดค่ะ
เทียบได้กับเสียง อู+อวี แต่ต้องออกให้ได้เป็นพยางค์เดียวนะคะ


คลิปการออกเสียงพร้อมดูรูปปาก


คลิปการออกเสียงตัวยากๆพร้อมดูช่องปาก

Views: 11692

Replies to This Discussion

การผสมพยัญชนะกับสระ บางช่องเค้าเว้นไว้ เพราะมันผสมกันไม่ได้ค่ะ ผสมแล้ว ไม่มีความหมายในภาษาจีน เช่น be bou bong ไม่มีในภาษาจีน แต่ถ้ามีก็แจ้งกันเข้ามาได้นะคะ ไม่อาว บอกว่าเป็นภาษาจีนโบราณนะคะ

ขอบคุณสำหรับเว๊ปดีๆที่แนะกันเข้ามาเรื่อยๆนะคะ เห็นด้วยค่ะให้กระทู้นี้เป็นที่รวบรวมอย่างกับคุณลดาวัลย์บอก ส่วนใครที่ต้องการคลุมถุงชนลูกของเรา ให้ไปชนกับภาษาจีนก็อย่าลืมแวะไปคุยกันในกระทู้หาคู่นะคะ คริ คริ คริ
ขอบคุณค่ะ
ดีจังค่ะที่ตัดบางตัวทิ้งไปได้ เอ แล้วมันจะไม่มีความหมายทุกวรรณยุกต์เลยเหรอคะ
เสียงนึง ก็อาจเป็นได้หลายตัวด้วยใช่มั้ยคะ
แล้วตัวย่อนึง ก็อาจเป็นตัวเต็มได้หลายตัวใช่มั้ยคะ
แล้วอย่างนี้ ตัวย่อเดียวกัน ถ้าหมายถึงตัวเต็มคนละตัว ก็จะออกเสียงต่างกันใช่มั้ยคะ
ตัวเต็มเดียวกัน ก็เป็นได้หลายความหมายอีก ใช่มั้ยคะ

โอ๊ยยยยยย
ใช่ค่ะ เนี่ยถ้าไม่เกรงใจเจ้าของประเทศจีน จะตัดทิ้งออกไปให้หมดเลย ศัพท์อะไรมีตั้งมากมายก่ายกอง

คุณลดาวัลย์ถามคำถามที่สร้างสรรแต่ทำลายได้ดีมาก เอ๊ะ ยังไง.... คือเป็นคำถามที่เห็นแล้ว ต้องถามตัวเอง เออ เนาะ มีคนสงสัยแนวนี้ด้วยเหรอ ไม่เคยคิดมาก่อน...... ที่ว่าทำลายคือ ทำลายความเชื่อมั่นตัวเองไปเลย ตอบไงดีฟะ เอาที่ตอบได้ก่อนนะคะ

- เสียงนึง ก็อาจเป็นได้หลายตัวด้วยใช่มั้ยคะ -- ถูกต้องค่ะ เช่น 日(Ri4) จะแปลว่าดวงอาทิตย์ก็ได้ วันที่ก็ได้ กลางวันก็ได้ ก็ต้องดูบริบทเอา อันนี้คือได้หลายความหมาย ก็มีค่ะที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันเช่น Ai 4 มีหลายตัวออกเสียงแบบนี้ อาทิ 艾 爱 唉

ส่วนเรื่องตัวเต็มกับตัวย่อขอเวลาไปตั้งสติก่อน อย่างแรกคือไม่แน่ใจเพราะส่วนตัวแล้วเรียนระบบของจีนแผ่นดินใหญ่คือตัวย่อมา อีกอย่างคือลูกน้อยกวนแว้วววววว คาดว่าคงมีผู้รู้เข้ามาช่วยตอบค่ะ รบกวนคุณลดาวัลย์ถามเข้ามาใหม่แบบยกตัวอย่างตัวอักษรจีนนั้นๆมาให้เห็นด้วยได้ไหมคะ ว่าไปเห็นหรืออ้างอิงที่ไหนมา ถ้าเครื่องพิมพ์ตัวจีนไม่ได้ รีบถามคุณดาเลยค่ะ หุ หุ หุ เรื่องโยนกลองถนัดค่ะ คุณดาเตรียมรับนะคะ เป็นโปรแกรมเมอร์ภาษาจีนของห้องเรา ส่วน IT ใหญ่ก็คุณแม่น้องมิลานค่ะ
คุณหนึ่งคะ โยนมาดาก็รับนะคะ ถ้าตอบได้ ถ้าไม่ได้ก็โยนกลับไปคืนครูนะคะ อิ อิ

ขอตอบเรื่องตัวเต็มกับตัวย่อนะคะ
1. ตัวย่อ ใช้ที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ค่ะ เขียนคล้ายตัวเต็มแต่ง่ายกว่าค่ะ

2.ตัวเต็ม ใช้ที่ประเทศฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันก็ใช้อยู่ แต่ฮ่องกงและมาเก๊า จะใช้ตัวหนังสือจีนและการออกเสียงเป็นเสียงภาษากวางตุ้ง ส่วนไต้หวัน สิงค์โปร์ มาเลย์ จีนแผ่นดินใหญ่ออกเสียงใช้เสียงจีนกลางหรือแมนดารินค่ะ

นี่คือเท่าที่นึกออกก่อนนะคะ ตัวย่อก็คือการเอาตัวเต็มมาเขียนให้ย่อลง ประมาณเหมือนไทย ใช้พศ แทนพุทธศักราชนะคะ (อาจเปรียบเทียบไม่ตรงเท่าไร)

คือ ภาษาจีนบางตัว มันเขียนยาก ขีดเยอะแยะไปหมดเขาจึงคิดค้นตัวย่อขึ้นมาเพื่อให้ง่ายแก่การเรียนมากขึ้นค่ะ เช่น 书 อ่านว่าshu1ซู แปลว่าหนังสือ อันนี้เป็นตัวย่อนะคะ เดี๋ยวจะหาโอกาสหาตัวเต็มมาเทียบให้ดูนะคะ ซึ่งคล้ายๆกัน แต่ขีดรุงตุงนังไปหมดค่ะ
เพราะว่าไม่มีระบบเสียงของคำนั้นในภาษาจีนค่ะ
เช่น จะไม่มีเสียง ja qa xa เพราะ j q x ต้องผสมกับเสียงอีกับอวี( i,yu) คือ ji qi xi ju qu xu เท่านั้นค่ะ
อ้าว...ตอบไปทั้งที่ไม่เห็นเลยค่ะ ว่าคุณแม่วีวี่มินนี่มาตอบให้แล้ว (ลืมคลิกหน้า2น่ะค่ะ)
อายจัง
ไม่อาวๆๆ ห้ามพูดเช่นนี้ เรา ช่วยๆกันค่ะ ตอบเหมือนกันซะที่ไหนล่ะคะ คนเรามองกันได้หลายมุมนะคะ แล้วก็เนี่ยยังไปทิ้งคำถามในกระทู้ไหนไม่รู้ให้คุณแม่น้องมิลานช่วยสอนเทคนิคการโหลดภาพจาก ยู ทุบ (ไอ ก็จะทุบ ยู) อายมากๆเรื่องความ โลเทคของตัวเอง แหะ แหะ
ขอตอบที่ถามว่า ตัวย่อนึง ก็อาจเป็นตัวเต็มได้หลายตัวใช่มั้ยคะ แล้วอย่างนี้ ตัวย่อเดียวกัน ถ้าหมายถึงตัวเต็มคนละตัว ก็จะออกเสียงต่างกันใช่มั้ยคะ

พอดีถูกจับเรียนภาษาจีนตั้งแต่เด็กและเรียนระบบตัวเต็มมาก่อนที่จะเรียนตัวย่อ (มาเรียนตอนโตแล้ว) เท่าที่เคยฟังมา ตัวย่อเป็นการประิดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้การเขียนภาษาจีนมีความง่ายและเหมาะสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเรียนภาษาจีน และเป็นช่วงเวลาที่จีนกำลังจะี่เปิดและพัฒนาประเทศตนเอง

และเท่าที่เรียนและเห็นมา ตัวเต็มแต่ละตัวจะมีตัวย่อของมันเอง (แบบว่าของใครของมัน) แต่ก็ไม่ใช่ตัวเต็มทุกตัวจะมีตัวย่อนะคะ เพราะฉะนั้น โอกาสที่ตัวย่อตัวหนึ่ง จะมาจากตัวเต็มหลายตัวน่าจะยาก

ไม่รู้ว่าที่ตอบจะยิ่งทำให้งงหรือเปล่า แต่เป็นคำถามที่ต้องทำให้ต้องเกาหัวยิกๆ เหมือนกัน เพราะไม่เคยสงสัยมาก่อน ดีใจด้วยนะคะ ยิ่งสงสัย ยิ่งถาม ยิ่งดีค่ะ เพื่อนๆ จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย
หุ หุ คุณลดาวัลย์ สามารถ ทำให้ระดับ คุณธีรพรทรงผมเสียทรงได้(เพราะเกายิกๆ) นับถือค่ะ นับถือ

มาขอเพิ่มเติมให้นะคะ หลังจากเอาลูกกินนม หลับไปแล้ว....

อักษรจีน มีมานานกว่า 3,500 ปี รูปแบบการเขียนตัวอักษรตั้งแต่ ก่อนปี ค.ศ.1500 ถึงปี ค.ศ. 300 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวอักษรจีนที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ได้กำหนดเป็นรูปแบบที่แน่นอนเมื่อประมาณปี ค.ศ.300

ภายหลัง ปี ค.ศ.1950 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปฏิรูปภาษาเขียน มีการกำหนดวิธีเขียนเป็นตัวอักษรแบบย่อ เพื่อให้เขียนง่าย ลำดับขีดลดลง

อย่างไรก็ดีนอกจากประเทศสิงคโปร์แล้ว ที่ไต้หวัน ฮ่องกงรวมทั้งประเทศไทยและประเทศอื่นๆที่มีคนเชื้อสายจีนอยู่ก็ยังคงใช้ตัวอักษรแบบเดิม(ตัวเต็ม)อยู่ เช่น คำว่า 見 ตัวย่อคือ 见


แต่ก็มีอักษรจีนไม่น้อยที่เขียนได้รูปแบบเดียว เช่น

一 二 三 八 十 大 不 口 你 好 再

ตัวพวกนี้อย่าไปย่อของเขาเลยนะคะ เช่น 一 二 三 มันเขียนง่ายแว้ว
1.แล้วมันจะไม่มีความหมายทุกวรรณยุกต์เลยเหรอคะ
-ถ้าลองเทียบกับภาษาไทยแล้ว...ภาษาไทยก็ไม่ได้มีเสียงที่มีความหมายทุกคำนะคะ
อย่าง...จ๊าง, หวาง, วูน, ฟรา...ก็เป็นคำ เป็นเสียงที่ไม่มีความหมายในภาษาไทย


2.เสียงนึง ก็อาจเป็นได้หลายตัวด้วยใช่มั้ยคะ
-จัดว่าเป็นคำพ้องเสียง มีกันทุกภาษานะคะ..ภาษาไทยก็เช่นคำจำพวกว่า ขัน หรือ คัน
ที่มีทั้งพ้องรูป พ้องเสียง หลายความหมายฯลฯ ทั้งนี้ต้องดูบริบทเป็นสำคัญน่ะค่ะ


3.แล้วตัวย่อนึง ก็อาจมาจากตัวเต็มได้หลายตัวใช่มั้ยคะ
-อันนี้ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะตัวเต็มบางกลุ่มที่ใช้ตัวย่อเดียวกันแทนนั้น เป็นคำที่มีความหมายไปในทางเดียวกัน
ไม่สับสน และมีไม่เยอะค่ะ ที่สำคัญคือ บางคำก็ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันเท่าไรหรอกค่ะ
ยกตัวอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็....



4.แล้วอย่างนี้ ตัวย่อเดียวกัน ถ้าหมายถึงตัวเต็มคนละตัว ก็จะออกเสียงต่างกันใช่มั้ยคะ
-ในกรณียังไม่เห็นมีเลยนะคะ มีแต่
ตัวย่อเดียวกัน ตัวเต็มคนละตัว แต่ออกเสียงเหมือนกันค่ะ (อย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้ว) ..กับ
ตัวย่อเดียวกัน ตัวเด็มเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกันค่ะ...ซึ่งปัญหานี้ก็คือ คำพ้องรูปนะคะ
เช่น ตัวเดียวกัน แต่อ่านได้ 2 อย่าง และความหมายก็ต่างกัน(พ้องรูป) เช่น คำว่า เล่อ(ความสุข) กับ เยวี่ย(ดนตรี)



5.ตัวเต็มเดียวกัน ก็เป็นได้หลายความหมายอีก ใช่มั้ยคะ
-ก็คือ คำพ้องรูป พ้องเสียง และหนึ่งคำมีหลายความหมายน่ะค่ะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษก็มีลักษณะนี้ทั้งนั้นค่ะ
เช่น
ขัน(ขันตักน้ำ, ขันหัวเราะ, ไก่ขัน,ขันให้แน่น), ขรรค์(อาวุธ), ขัณฑ์(ภาค,ตอน), ขันธ์(ตัว,หมู่,กอง)
funny (สนุกขบขัน, แปลกพิลึก --- ความหมายต่างกันมากจะใช้ต้องระวังให้ดีค่ะคำนี้)

คุณแม่ลดาวัลย์ไม่ต้องกังวลอะไรไปไกลนะคะ
ตอนนี้มองแค่ใกล้ๆก่อนค่ะ เช่น พวกบทสนทนาในชีวิต่ประจำวันแบบที่สอนกันตามหนังสือนำเที่ยวน่ะค่ะ
พอรู้สึกว่าไม่ยากแล้ว เราก็จะคุ้นเคยและไม่กลัวค่ะ

อันนี้คุณแม่หาเรื่องข่มขวัญตัวเองก่อนเลยนะคะ 555
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันตอบค่ะ เคยเห็นตัวย่อเดียวกันจากตัวเต็มหลายตัวจาก dict นี้ค่ะ

http://www.nciku.com/search/all/star

ตอนนั้นหา pin yin สำหรับคำในรูปนี้


แต่จำไม่ได้ว่าตัวไหนที่เลือกไม่ถูกว่ามีหลายเสียง เพราะว่ามาจากตัวย่อได้หลายตัว เดี๋ยวจะค่อยๆ หานะคะว่าตัวไหน
ผมเกือบเสียทรงเหมียนกัน โชคดีแต่คุณแม่ตัดทรงสกรีนเฮดอยู่คะ ฮิฺฺฮิ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service