เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

ระยะทางไม่ใช่ปัญหา "แม่ฝึกเจ้าเป็นเด็กสองภาษาได้"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 พฤศจิกายน 2552 11:02 น.
คุณอรดาให้สัมภาษณ์กับทีมงานผู้จัดการ
http://manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000133304
----------------------------------


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาศักยภาพลูกให้เป็นเด็กสองภาษา (เช่น ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายท่านให้ความสนใจ เพราะภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารในโลก ปัจจุบันอันเป็นโลกไร้พรมแดน กระนั้น คุณพ่อคุณแม่บางท่านที่สนใจในแนวทางดังกล่าวก็อาจเคยเจอคำถามรบกวนจิตใจ ตลอดจนคำถามที่อาจบั่นทอนกำลังใจในการพัฒนาลูก ๆ เช่น เงื่อนไขด้านระยะทางจะมีผลหรือไม่ เพราะบางครอบครัวไม่ได้อยู่ในเมืองใหญ่ การขนส่งหนังสือ หรือซีดีมาวางจำหน่ายก็มีราคาแพง ทำให้ไม่สามารถซื้อหามาฝึกสอนร่วมกันกับลูกได้ ขณะที่บางครอบครัวก็กังวลว่า ถ้าพ่อแม่สำเนียงไม่ดี หรือมีการศึกษาไม่สูงมากนักจะส่งผลต่อลูกหรือเปล่า หรือที่จริงแล้ว พ่อแม่ควรฝึกลูกให้แม่นภาษาไทยไปก่อน ภาษาอังกฤษค่อยไปเสริมเอาในวันข้างหน้า ฯลฯ

สำหรับคำตอบของความกังวลข้างต้น ทีมงาน Life & Family ได้มีโอกาสพบครอบครัวเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยแง่คิดดี ๆ ของการเป็นพ่อแม่ผู้มุ่งมั่นกับฝึกภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่สองของลูกสาววัย 3 ขวบ 2 เดือนโดยไม่หวั่นต่อระยะทางที่ห่างไกลมาฝากกันค่ะ โดยครอบครัว "พงศ์สุธนะ" ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรานี้เอง ซึ่งทางครอบครัวก็ยอมรับว่า สื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือนิทาน ซีดีภาษาอังกฤษ ที่วางขายในจังหวัดนั้นมีราคาแพงมาก อีกทั้งยังมีน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อเทียบกับหัวเมืองใหญ่ ๆ หรือกรุงเทพมหานคร แต่ครอบครัวนี้มีวิธีการอย่างไรที่สามารถผลักดันและให้กำลังใจตัวเองจนทำให้ ประสบความสำเร็จ ในการฝึกลูกให้พูดได้สองภาษา ลองไปติดตามกันเลยค่ะ

"จาก เดิมเราเลี้ยงลูกแบบธรรมดา ไม่ได้อยากให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา แต่ก็จะเสริมภาษาอังกฤษให้ลูกด้วยการ์ตูน โดยมีแม่กับพ่อคอยแปลให้ฟัง แต่พอมาอ่านหนังสือ "เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้" ของคุณพงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ก็เลยได้ทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม พ่อกับแม่ควรจะแบ่งบทบาทกันไปเลย ก็เลยตกลงคุยกันว่า แม่จะเป็นคนพูดภาษาอังกฤษกับลูกเอง ส่วนคุณพ่อจะรับหน้าที่เป็นผู้พัฒนาภาษาไทยให้เข้มแข็ง" คุณอรดา พงศ์สุธนะ คุณแม่ของน้องเคท - ด.ญ. นปุณดา พงศ์สุธนะกล่าวย้อนไปถึงแรงบันดาลใจแรก โดยเธอบอกว่า ใน ระยะแรกเริ่มนั้น เจอปัญหามากมาย ทั้งเรื่องของคำศัพท์ การสนทนา แม้ตัวเธอเองจะใช้ภาษาอังกฤษมาค่อนข้างมากในช่วงเรียนปริญญาตรี (คุณอรดาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) แต่ก็มักจะเป็นการใช้ในเชิงของการเขียนและการอ่านมากกว่าการพูด ดังนั้น ความตั้งใจที่จะเป็นผู้พูดภาษาอังกฤษกับลูกจึงมีช่วงเวลาเริ่มต้นที่ยาก ลำบากพอสมควร

"โชคดี ที่มีอินเทอร์เน็ตค่ะ บางคำที่เราไม่ทราบก็โพสต์ถามผู้รู้ท่านอื่น ๆ ก็จะมีคนใจดีมาช่วยตอบให้ นอกจากนั้นก็ยังได้ศึกษาจากคลิปบ้าง บางครั้งก็เปิดคลิปที่ลูกชอบให้ดู-ฟังไปพร้อม ๆ กัน คิดว่ามีอินเทอร์เน็ตช่วยได้เยอะเลย เพราะหนังสือ-ซีดี เราเข้าถึงได้หมดเลย"

ทั้งนี้ คุณอรดายอมรับว่า ในระยะแรกที่ปรับเปลี่ยนการพูดกับลูกมาเป็นภาษาอังกฤษนั้น (เป็นช่วงที่น้องเคทลูกสาวอายุได้ 2 ขวบ 8 เดือน) ลูกไม่มีคลังศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่ในสมองเลย ทำให้ลูกงง ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และพยายามจะโต้ตอบกับแม่ด้วยภาษาไทย

"ตอนนั้นต้องใจแข็ง เราก็ต้องพูดเอง สอนเขาไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มสอนจากสิ่งรอบตัวก่อน ต่อมาเขาพอจะฟังเข้าใจแล้ว แต่ก็ยังโต้ตอบกับเราด้วยภาษาไทยอยู่ เช่น เราถามว่าอาบน้ำหรือยัง (ภาษาอังกฤษ) เขาจะตอบว่าอาบแล้วเป็นภาษาไทย เราก็จะทำเป็นไม่เข้าใจ และพูดประโยคภาษาอังกฤษให้ลูกฟังว่า ควรจะตอบว่าอย่างไร"

"เทคนิคการสอนเด็กที่ใช้ได้จริงคือการพูดซ้ำ ๆ พูดเรื่อย ๆ เขาจะซึมซับเข้าไปเอง จนตอนนี้ผ่านไป 7 - 8 เดือน เขาก็โต้ตอบกับเราเป็นภาษาอังกฤษไปแล้ว ในจุดนี้ทำให้เราเห็นเลยว่า เด็กเขามีศักยภาพมากจริง ๆ ความจำเขาดีมาก "

"คน รอบข้างเมื่อเห็นพัฒนาการของน้องเคทว่าสามารถพูดโต้ตอบได้ แถมมีสำเนียงที่ใช้ได้ด้วย เพราะเราใช้สื่อที่มาจาก Native Speaker ซึ่งมันจะช่วยปรับสำเนียงเด็กได้ จากที่เขาเคยกังวลว่าจะมีปัญหา ก็เลยกลายเป็นยอมรับว่า สิ่งที่เราสอนก็ไม่ได้เสียหายอะไร ไม่ได้น่ากลัว อย่างที่ใคร ๆ คิด และก็ทำให้แม่อยากลงทุนต่อ อยากจัดหาหนังสือนิทานดี ๆ ให้ลูกเพิ่มเติมด้วยค่ะ"

อาจกล่าวได้ว่าเป็นความทุ่มเทอย่างมากที่แม่คนหนึ่งยอมทำเพื่อลูก โดยยอมแม้แต่การตัดโอกาสของตัวเธอเอง ไม่สื่อสารกับลูกด้วยภาษาของแผ่นดินแม่ซึ่งถือเป็นความทรมานใจไม่น้อย แต่คุณแม่ที่ชื่อ "อรดา" ก็ผ่านมันมาได้

"ใน ฐานะที่เป็นแม่ ก็คิดว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ทำแบบมีความสุข ทำจนกว่าความสามารถของแม่จะไม่มี อย่างน้อยก็อยากให้ลูกมีสิ่งนี้ติดตัวไป เขาจะได้มีความมั่นใจ ส่วนรางวัลที่ได้รับกลับมาก็คือความชื่นใจ เวลาได้เห็นลูกตอบกลับเรามาในสิ่งที่เราเฝ้าเพียรพูดกับเขา และภาษาอังกฤษของตัวเองก็ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยค่ะ" คุณอรดากล่าวทิ้งท้าย

รับชมคลิปพัฒนาการด้านภาษาของน้องเคทได้ที่ https://go2pasa.ning.com/video/read-the-closed-book

Views: 643

Reply to This

Replies to This Discussion

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกคำชื่นชม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านเช่นกันนะคะ
ลูกสาวน่ารักจังค่ะ คุณพ่อคุณแม่ก็เช่นกัน

ประเด็นที่ว่า "โดยยอมแม้แต่การตัดโอกาสของตัวเธอเอง ไม่สื่อสารกับลูกด้วยภาษาของแผ่นดินแม่ซึ่งถือเป็นความทรมานใจไม่น้อย"....ไม่ต้องห่วงนะคะ จากปสก.ส่วนตัว พอลูกเคยชินกับการใช้ภาษาอังกฤษกับแม่ เป็นเหมือนภาษาแรกของเขาไปแล้ว...พอลูกโตขึ้นสัก ๕ ขวบ ตอนนี้ แม่จะสามารถพูดกับลูกในชีวิตปจว.ในภาษาไทยได้บ้าง...และมากขึ้นเป็นลำดับ...โดยที่ลูกไม่ลืมใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก (ในการสื่อสารกับแม่)....ไม่เชื่อลองดูนะคะ

น้องอายุสัก ๕ ขวบเมื่อไหร่ ถือว่าลอยตัวแล้วในระดับหนึ่ง...เพียงแต่ต้องพยายามรักษาสภาพแวดล้อมให้น้องได้ใช้ภาษาอังกฤษ (พูด) นอกบ้านอย่างสมำเสมอ ควบคู่ไปด้วยอีกแรงค่ะ
ตายแล้ว เพิ่งเห็นกระทู้ เหอๆ วายไปหรือยังเนี่ย
พี่ดาเป็น ไอดอล คนหนึ่งของโบว์เลยค่ะ ชื่นชม ยินดี แฮปปี้ด้วยเด้อ
เก่งมากเลยครับ แล้วหนู Goffari ขอยืมมาใช้มั่งนะครับ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service