เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

แก้ปัญหายังไงดีค่ะ ลูกน้อยไม่ยอมอ่านหนังสือ

คือว่าเดี๋ยวนี้ดิฉันเวลาอ่านหนังสือหรือให้เขาดูหนังสือที่เป็นรูปตัวเลข เอบีซี หรือก. ไก่เขาไม่ค่อยชอบดูอ่ะค่ะ ให้ชี้ก้อไม่ชี้ ให้อ่านก้อไม่เอาจะให้พูดให้ฟังอย่างเดียว ดิฉันกลัวว่าเขาจะไม่เห็นภาพว่าที่ดิฉันสอนมันคืออะไรดิฉันเคยลองเปลี่ยนเป็นพวกอักษรไม้แร้วแต่ก้อไม่ได้ผล แต่ให้ดูผ่านดีวีดีก้อยอมดูแต่ก้อกลัวว่าจะไม่รู้เรื่องเพราะเขาไม่เคยพูดออกมาสะทีว่าตัวนี้คืออะไร แต่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่เกิดดิฉันก้ออ่านหนังสือให้น้องซีลฟัง ชี้ให้เห็นตลอดแต่ช่วงหลังไม่ค่อยยอมเลย ดิฉันควรแก้ปัญหายังไงดีค่ะ รบกวนอีกครั้งนะค่ะและดิฉันอยากทราบความเห็นเกี่ยวการสอนของคุณแม่หลายๆท่านช่วยแนะนำวิธีสื่อการสอนใหม่ๆที่ดิฉันยังไม่เคยลองให้ด้วยนะค่ะ จะขอบคุณมากๆเพราะกังวลมากเลยค่ะ

Views: 1934

Comment

You need to be a member of หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ to add comments!

Join หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

Comment by dussadee on November 2, 2010 at 9:11am
นึกได้อีกอย่าง พาไปให้เห็นของจริง จากประสบการณ์ตรงทำให้เชื่อมโยงกับหนังสือง่ายขึ้นค่ะ เช่นไปตลาดเห็นผลไม้ กลับมาก็ดูหนังสือที่มีรูปผลไม้เด็กจะเชื่อมโยง และชอบหนังสือค่ะ
Comment by แม่น้องกุน & น้องญาญ่า รักในหลวง on October 29, 2010 at 5:26pm
วัยนี้สนใจกิจกรรมมากกว่าคะ ชอบร้องเพลงเต้น ต้องดูก่อนว่าลูกเราชอบอะไรมากกว่า เราก็เน้นในสิ่งที่เค้าชอบ ลูกชอบให้แม่เล่าให้ฟังโดยไม่มีหนังสือ ไม่ใช่สำคัญเลย ลูกสาวของเราอายุประมาณนั้นไม่สนใจหรอก เบื่อก็เลิก นอกจากเค้าหยิบมาให้เราอ่านให้ฟัง แม่กิ่งต้องเตรียมเนื้อเรื่องนิทานที่ถูกใจให้น้องฟัง เล่าแบบธรรมชาติมีเสียงสุงเสียงต่ำ ไม่จำเป้นต้องกางตำราให้ลูกดูเลย เล่าแบบสนุกๆสั้นง่ายๆเนื้อเรื่องไม่ต้องยาวหรอกพร้อมแสดงท่าทางให้เขามีส่วนร่วมด้วยคะ ลองดูนะคะ ผลเป็นอย่างไรเล่าให้ฟังบ้างนะคะ แต่ต้องใจเย็นและใช้เวลาคะ ไม่ต้องรีบร้อนคะ
Comment by dussadee on October 29, 2010 at 3:35pm
ลองหนังสือที่มีลูกเล่นดูค่ะ เหมือนเป็นของเล่นอย่างหนึ่ง
Comment by ma ma on October 28, 2010 at 3:44pm
ไม่ต้องกังวลน่ะค่ะ ลูกชายฝาเเฝดเราก็ไม่อ่านหนังสือเหมือนกันค่ะ เเต่เเม่มีเป็นร้อยร้อยเล่ม ซื้อเอาไว้ คะ เเม่ชอบหนังสือมาก เลยซื้อหนังสือให้ลูกเยอะมาก สักวันถ้าเค้าเห็นเราหยิบเราอ่าน เค้าก็ต้องอยากอ่านอยากเล่นบ้าง
ส่วนลูกคนโตชอบหนังสือมาก เปิดโน่นเปิดนี่ ทำหนังสือขาดหนังสือยับไปหมด โดยเฉพาะหนังสือที่มีสีสันสวยงาม ลูกเล่นเยอะๆ เปิดปิดได้ ติดสติกเกอร์ หนังสือเกาหลี ญี่ปุ่นจะมีลูกเล่นพวกนี้เยอะอ่ะค่ะ เเต่ไม่ได้อ่านน่ะค่ะ อ่านไม่ออก ไม่ออกทั้งไทย อังกฤษ เเละญี่ปุ่นที่เเม่มั่วๆสอนอยู๋อ่ะค่ะ ลูกคนโตจะสี่ขวบอยู่เเล้ว เเต่ไม่ได้กลุ้มใจอะไรเลยค่ะ เด็กๆ เค้ามีอะไรทำเยอะค่ะ นอกจากการอ่าน น่ะค่ะ
เเถมบางทีเรายังพูดเเต่ภาษาไทยกับลูก เรียกว่าเป็นเเม่ที่ขี้เกียจน่ะค่ะ อันนี้อย่าเอามอย่างน่ะค่ะ
แฮ่ะ แฮ่ะ ที่เขียนมานี่สบายใจบ้างไหมค่ะ
Comment by แม่กิ่ง on October 24, 2010 at 10:23pm
ขอบคุณมากๆเลยนะค่ะคุณแม่เป็นคำแนะนำที่ดีเลยที่เดียวดิฉันขอขอบคุณมากๆๆนะค่ะ
Comment by มิ้น on October 24, 2010 at 5:26pm
ดิฉันเคยอ่านเจอพี่คนนึงเขาเขียนไว้ในบล็อกของเขานะคะว่า เขาสอนลูกไม่ได้หวังผลลัพธ์ว่าลูกต้องท่องได้ ต้องอ่านได้ แต่เขาสอนเพราะต้องการให้เด็กถูกกระตุ้นสมอง ให้สมองมันผลิตเส้นใยประสาทออกมาเยอะๆ กระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด สังเกตสิ่งใหม่ๆ แบบนี้เด็กจะฉลาดค่ะ ดิฉันเห็นด้วยนะ -- การสอนอ่านตัวหนังสือเนี่ย ถ้าคุณแม่สอนเหมือนๆกันทุกวัน มันก็ไม่ได้กระตุ้นการรับรู้อะไรใหม่ๆ ใช่ไหมคะ -- แล้วธรรมชาติเด็ก อะไรที่เคยรู้แล้วก็เบื่อค่ะ เด็กเขาไม่ได้มีมาตรฐานเหมือนผู้ใหญ่นี่คะว่า รู้แล้วต้องจำได้ ต้องทดสอบได้ อย่างลูกชายดิฉัน แค่เขาอ่านตัว โอ กะ อี ได้ เขาก็คิดว่าเขารู้เรื่องตัวหนังสือขั้นสมบูรณ์สุดๆแล้ว ....

ขอเล่า -- ไม่ใช่คำแนะนำอะไรหรอกค่ะ ขำๆ คือ เคยตามแฟนไปพบลูกค้าที่ห้าง แล้วลูกนั่งเฉยๆในร้านอาหารไม่ได้ เราเลยพาออกมาเดินเล่น แล้วลูกเบื่อ เราก็เลยเดินชี้ป้ายชื่อร้านต่างๆ ให้ลูกฟัง บางร้านก็ A ตัวใหญ่ บางร้านก้อ A เอียง หรือตัวเล็กๆ แต่ลูกจะตื่นตาตื่นใจมาก ว่าโอโห ทำไมไม่เคยสังเกตมาก่อนเลยว่ามีตัวพวกนี้อยู่รอบตัวมากมายขนาดนี้ หลังจากนั้นเขาก็เริ่มหัดอ่านตัวอักษรค่ะ ตัวที่มีปัญหาคือ โอ ค่ะ หลังจากเขารู้ว่า โอ หน้าตาเป็นไง เขาก็เกิดคำถาม เวลาเขาเห็นล้อรถยนต์ เขาชี้ให้เราพูด เราบอกว่า ล้อ เขาร้องไห้ส่ายหัวว่า ไม่ใช่ๆ เขาบอกว่า โอ เราต้องอธิบายเรื่องนี้อยู่หลายเดือนเลย กว่าเขาจะเข้าใจความแตกต่าง -- แต่เรื่องนี้ก็ทำให้เรารู้สึกว่า ลูกเราช่างสังเกต ช่างเปรียบเทียบดีนะ ขำด้วย
Comment by แม่กิ่ง on October 22, 2010 at 11:17am
ขอบคุณคุณแม่ที่มาแสดงความเห็นค้วยนะค่ะ ดิฉันคงคิดมากไปจิงหลัวว่าลูกจะตามเพื่อนไม่ทัน ดิฉันจะนำความเห้นที่ได้ไปปรับปรุงนะค่ะขอบคุณมากๆเลยค่ะ
Comment by Ju (Jui Jui's mommy) on October 21, 2010 at 10:51pm
อ่านแล้วชื่นชมที่คุณแม่ทุ่มเทให้กับลูกมากๆ

ส่วนตัวแล้วเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ ส่งเสริมตามวัย และธรรมชาติของลูกค่ะ การเรียนรู้ภาษาจะเริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นทักษะที่เรียงกันมาตามลำดับ เด็กๆ จะฟัง และเลียนแบบการพูดจากผู้ใหญ่ ดูแล้วน้องยังเล็กอยู่เลยค่ะ คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากไป ยังมีเวลาอีกมากที่จะเรียนรู้ภาษาสัญลักษณ์นะคะ น่าจะส่งเสริมลูกแบบค่อยเป็นค่อยไป

ตอนลูกชายเล็กๆ ของเล่นเต็มบ้านค่ะ เพราะเราชอบของเล่น ของเล่นเสริมทักษะ กล้ามเนื้อต่างๆ ABC ก็มีค่ะ เราเริ่มสอน Phonics ลูกชายตอน 3 ขวบ ค่อยๆ สอนไม่ได้คาดหวัง สอนไปเล่นไป เมื่อเค้าพร้อมเค้าจะส่งสัญญาณมาที่ดาวแม่ว่าหนูพร้อมแล้วนะ มาสอนหนูหน่อย

หลายครั้งที่เจอเด็กๆ ที่พ่อแม่สอนอ่านหนังสือแบบทฤษฎีต่างๆ แล้วอ่านได้ตั้งแต่เบบี๋ เราก็ทึ่งจริงๆ นะคะ ถ้าถามว่าทำตามมั้ย ไม่ได้ทำค่ะ เพราะไม่ใช่วิถีที่บ้านเรา ไม่ใช่ไม่ถูกต้องหรือคัดค้านนะคะ เพียงแต่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของลูกและครอบครัวเรา ตรงกันข้ามวิธีนี้อาจจะเหมากับธรรมชาติของเด็กบางคนและไปได้ไกล จึงไม่คิดว่าวิธีการเลี้ยงลูกแบบใดถูกผิดค่ะ อยู่ที่ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับครอบครัวมากกว่า

ก็เลยต้องกลับมามองว่าธรรมชาติของลูกเราเป็นอย่างไร ส่งเสริมตามตัวตนของเค้า ค่อยเป็นค่อยไป อย่างที่อ่านอีกกระทู้ น้องชอบดูบาร์นี่เหมือนลูกเราเลยค่ะ ชอบร้องเพลง ปัจจุบันเลิกดูมานานแล้วเริ่มโตก็จะเปลี่ยนไปดูอย่างอื่น แต่ก็ยังจำเพลงต่างๆ ที่ร้องได้

ขอวกกลับมาที่เรื่องอ่านหนังสือนิดนึง เราเองชอบอ่านหนังสือให้ลูกฟังเหมือนกันค่ะ ตอนเล็กๆ ก็ไม่ค่อยยอมฟัง ต้องสรรหาวิธีให้นิ่งๆ หน่อย อาจจะใช้น้ำเสียง หรือเรียกให้ดูอะไรแปลกๆ ในภาพ เล่าไม่ต้องเหมือนกันทุกครั้งก็ได้ค่ะ แต่แนะนำให้อ่านเป็นนิทานจะดีกว่า ABC ทุกครั้งนะคะ เพราะเด็กๆ จะเบื่อ ลองหานิทานสั้นๆ หรือ นิทานกลอน ภาพใหญ่ๆ ไม่ซับซ้อน สีสันสวยๆ มาลองอ่านให้น้องฟังดูน่าจะชอบค่ะ

มองหากิจกรรมอื่นๆ ที่เสริมพัฒนาการตาวัยของน้อง โดยที่ยังคอนเซปต์ที่คุณแม่ชอบ

เอาใจช่วยนะคะ
Comment by Samita Srimachaporm on October 21, 2010 at 3:38pm
ส่วนดิฉันนะคะจะเลี้ยงลูกแบบพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะอย่างตอนนี้ลูกชายอายุ 3.9 ปี อยู่อนุบาล 1 เขาชอบฟังเพลง ดู DVD การ์ตูนภาษาอังกฤษการ์ตูนไทยในทีวีประเภทแปลงร่างไม่ดูเลยค่ะ ส่วนเรื่องอ่านและเขียนหนังสือคุณแม่ยังไม่ได้สอนค่ะเพราะเคยพาเขาอ่านเขาไม่ชอบคุยแม่ก็เลยหยุดไว้ก่อนถ้าไปบังคับเดี๋ยวเขาเบื่อก็เลยไปหาดูข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของการเลี้ยงลูกแต่ละวัยอันไหนดีมีประโยชน์ก็จะเก็บไว้อ่านอย่างบทความนี้แต่ยาวหน่อยนะคะ คุณแม่ลองอ่านดูนะคะเผื่อจะนำมาใช้กับลูกเราได้
สิ่งที่ต้องเข้าใจ
การเร่งให้ลูกเรียน เขียน อ่าน จะมีปัญหาตามมา

คนไม่เชื่อ
เพราะทำให้เด็กข้างบ้านอายุ 3 ขวบ 4 ขวบ เรียนหนังสือได้แล้ว ไม่เห็นเป็นอะไรเลย อ่านเก่งด้วยถึงจะบอกว่า ไว้คอยดูต่อไปเถิดจะเห็นผล

คนก็ยังไม่เชื่อ
เพราะเด็กที่อ่านออกเขียนได้ไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีที่ 2 ยังเรียนเก่งและได้ที่ 1 ส่วนเด็กที่ไม่ได้เรียน เขียน อ่าน ไม่ได้ ที่ 1 แถมไม่ทันเพื่อน กว่าคนจะเชื่อก็ลืมไปแล้ว
ลืมตามไปว่า เด็กที่ถูกบังคับให้อ่าน คัด เขียน เมื่อครั้งอยู่ชั้นอนุบาล จะมีปัญหาในการเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ 4 ปีที่ 5 แล้วเลยไปถึงชั้นมัธยมศึกษา ด้วยขี้เกียจเรียน เบื่อหน่าย และสมองล้าในการที่จะต้องเร่งตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้เก่งอย่างที่พ่อแม่อยากให้เป็น

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบนั้นง่ายมาก เพราะเด็กเล็ก 6 ขวบแรก เป็นวัยของการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เริ่มมาจากศุนย์ ความพร้อมต้องค่อยเป็นค่อยไป หยิบจับอะไรก็ยังไม่ถูก มองอะไรก็ยังไม่ชัดเจน คิดอะไรก็ยังไม่ได้ เพราะสมองไม่มีข้อมูลใดกักเก็บอยู่เลย ยกเว้น เด็กอัจฉริยะ แต่กว่าจะนำมาใช้ได้ก็ต้องอายุ 8-10 ขวบไปแล้ว ซึ่งตรงตามทฤษฏีการเรียนรู้และจิตวิทยาที่ เด็กจะพัฒนาการคิดชนิดซับซ้อนได้ นำข้อมูลความรู้มาจัดการได้ก็อายุ 7 ขวบไปแล้ว แต่ถ้าในช่วงอาย 6 ขวบแรก ต้องเตรียมพร้อมสมองให้เต็มที่ อย่าไปเร่งไปลุ้นให้เด็กอ่าน คัด เขียน เด็กจะเหนื่อยหน่ายการเรียน
การเขียนในเด็กเล็ก โดยเฉพาะการเขียนเป็นตัวหนังสือที่มีเงื่อนไขบังคับมาก เป็นสิ่งยากสำหรับเด็กเล็ก เพราะพัฒนาการของนิ้วจะพัฒนาไปอย่างช้าๆ การเขียนต้องใช้มือและสายตาประสานกัน ซึ่งในระยะต้นจะพัฒนาไปสู่ความสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ ได้ก่อนต่อเมื่อเด็กสามารถควบคุมข้อมือได้แล้ว เด็กจึงถือดินสอได้ เพื่อให้เด็กใช้มือคล่อง จึงได้มีการนำการวาดภาพมาใช้ ซึ่งการวาดภาพเป็นการสื่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อในการเขียนหนังสือโดยเริ่มพัฒนาการตามวัยดังนี้
2 ขวบ ลากเส้นตั้งและขนานได้ พิมพ์ภาพได้
3 ขวบ เขียนวงกลมได้
ลอกตัวอักษรได้
ถือดินสอเทียนได้
4 ขวบ ลอกรูปสี่เหลี่ยมได้
ลอกคำง่ายๆ ได้
จับดินสอได้ถนัด
5 ขวบ วาดรูปสามเหลี่ยมและรูปดาวได้
เขียนชื่อได้
เขียนตัวเลขได้
เขียนตามจุดประได้
พับกระดาษได้

ความสามารถในการเขียนของเด็กจะสัมพันธ์กับการวาดภาพ โรงเรียนอนุบาลจึงมีกิจกรรมบังคับให้เด็กทำศิลปะสร้างสรรค์เชิง
วาดภาพ ปั้น ปะติด ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์สำคัญคือ การฝึกหัดการใช้กล้ามเนื้อมือ สายตา และสมองให้สัมพันธ์กัน ซึ่งผลที่ตามมามีดังนี้
- เขียนเป็น
- คิดเป็น
- สร้างสรรค์
- สื่อความคิดและภาษาได้
- มีความงอกงามทางปัญญา
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เสริมการเขียนที่คล่องที่สุดคือ งานปั้น โดยให้เด็กปั้นดินน้ำมันหรือแป้งเป็นเส้นยาวๆ แล้วให้มัวนขดเป็นวงกลม จะทำให้เด็กเข้าใจและเขียนพยัญชนะไทยได้รวดเร็ว
ปั้นยาว มัวนเป็นขด
การปั้นทำให้กล้ามเนื้อมือแข็งแรง มีการใช้สายตาและสมองไปพร้อมกัน เกิดเป็นสมาธิและความตั้งใจ ที่จะทำให้เด็กสามารใช้กล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง
2 ขวบ อาจเขียนขยุกขยิกทั่วไป
3 ขวบ เริ่มเขียนเป็นวงกลม สี่เหลื่ยม สามเหลี่ยม และกากบาท
4 ขวบ เขียนได้เป็นรูปร่าง
5 ขวบ เขียนได้เป็นรูปร่างตามความคิดและเขียนตามจุดประได้
พ่อแม่ที่อยากให้ลูกเขียนเป็น จึงต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กหัดใช้มือให้ชำนาญแล้วจึงมาหัดคัดเขียนเมื่อพร้อมคือหลัง 6 ขวบไปแล้ว ส่วนในวัยปฐมวัยอาจให้เด็กเขียนอิสระ เพื่อฝึกความคุ้นมือ ไม่ต้องรีบร้อน ชึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี ที่ 2 ถ้าเด็กพร้อมจะเขียนเก่งเอง
สิ่งที่ต้องปฏิบัติ
ถ้าพ่อแม่ต้องการให้ลูกเขียนเก่ง ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ให้เด็กใช้ดินสอแท่งใหญ่ เช่น ดินสอเรียน เพื่อฝึกทำ จับและถือให้ถนัดมือ ก่อนที่จะถือดินสอดำในการคัดเขียนจริงๆ
2. ให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการใช้มือ ตา และสมองให้สัมพันธ์กัน โดยให้วาดรูปตามแต่เด็กจะคิด การวาดเป็นการบังคับมือ นิ้วมือ และสายตา ซึ่งหมายถืง การเขียนด้วยตัวพยัญชนะนั่นเอง รวมถึงการปั้นดินน้ำมัน
3. ให้เด็กเขียนอิสระจากการลอกแบบ เช่น มีตัวหนังสือเป็นคำแล้วให้เด็กเขียนตาม เด็กจะทำและจำได้ ถ้าคำที่ให้เด็กเขียนนั้นเป็นคำคุ้น ตัวอย่างเช่น แม่
4. ควรส่งเสริมการอ่าน การฟังนิทานให้มากๆ แล้วเด็กจะเขียนหนังสือเก่งเมื่อโตขึ้น
การแก้ปัญหา
ปัญหา
เด็กควรหัดเขียนเมื่ออายุเท่าไร
ทางแก้
ให้แก้ที่ความเข้าใจของพ่อแม่ เด็กเริ่มเฃียนได้ตั้งแต่อนุบาล ความหมายของคำว่า "เขียน" ในอนุบาลคือ ขีดเขียนตามประสาเด็ก ซึ่งจะออกมาในภาพวาด ให้ฝึกได้ทุกคน แต่ถ้าคัดเขียนแบบเด็กโต ให้เริ่มเมื่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เด็กจะรักการเขียนและเขียนเก่ง

ปัญหา
ทำไมโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เด็กคัดเขียน
ทางแก้
เพราะเด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่สมอง ร่างกาย จิตใจ ปัญญาและสังคม กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วไปพร้อมๆกัน เซลล์สมองกำลังงอกงาม ความคิดกำลังกระจ่าง การเรียนรู้สังคมจะดีและปัญญาเกิด สมองซีกซ้ายซีกขวา กำลังทำงานสัมพันธ์กันอย่างเต็มที่ หากผู้ใหญ่ไปจำกัดให้ใช้สมองซีกเดียวในการเขียนและการคิด เด็กจะเครียดมากและไม่อยากเรียนเมื่อโตขึ้น เด็กต้องใช้สมองสองซีกพร้อมกันเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
โรงเรียนอนุบาลไม่ฝึกให้เด็กคัด ไม่หัดให้เด็กเขียน เหตุเพราะโรงเรียนอนุบาลต้องสอนให้เด็กพัฒนาภาษาและการสื่อสาร เพื่อให้มีความพร้อมในการเขียนและการอ่านเมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และรักในการเรียน นี่คือหน้าที่ของโรงเรียนอนุบาล อาจมีโรงเรียนอนุบาลบางโรงเรียนตามใจพ่อแม่

- สอนให้คิด
- สอนให้เขียน
- สอนให้เขียนเลข
- สอนให้ท่องจำ
- สอนยัดเยียดให้ทำ
แต่ลืมผลที่ออกมาสุดท้าย เด็กจะเหนื่อยหน่ายการเรียนและพร้อมโง่ที่จะเรียน
"รักลูกอยากให้ลูกเขียนเก่ง อย่าเร่งลูก มิฉะนั้นลูกจะไม่เขียนและไม่อยากเรียนเลย"
”ทำ” อย่างไรให้เด็ก 1-3 ปี สนใจหนังสือ
พญ.เสาวภา แนะนำว่า การเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นวิธีง่ายๆ ที่ได้ผลดี เล่าจบแล้วอาจจะแสดงเป็นตัวละครในเรื่องที่เล่า พ่อแม่ลูกเล่นด้วยกัน หรือเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเองก็ได้ ที่สำคัญเวลาเล่านิทาน อยากให้ดึงอารมณ์ของเด็กออกมาด้วย เช่น เล่าว่าเด็กสองคนเล่นด้วยกัน แต่เด็กคนหนึ่งแกล้งเพื่อน เพื่อนจึงโกรธและเสียใจ ไม่เล่นด้วย เด็กคนที่แกล้งรู้สึกสำนึกผิด จึงไปขอโทษ และเด็กทั้งสองก็เล่นด้วยกันต่อไป จากนั้นลองสมมติให้เป็นลูกเล่นกับเพื่อนดูบ้าง หากลูกทำอะไรไม่ดีลงไป เพื่อนจะเสียใจไหม เพื่อนจะอยากเล่นด้วยไหม พยายามตั้งคำถาม ดึงความรู้สึกของลูกออกมา ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ลูกได้หัดคิด
ที่สำคัญพยายามมีบทสรุปของแต่ละเรื่องด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะปลูกฝัง และทำให้ลูกได้เรียนรู้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และหาข้อสรุป เด็กวัยนี้มักจะชอบให้อ่านหรือเล่านิทานเรื่องเดิมให้ฟังซ้ำหลายๆ รอบ พ่อแม่อาจบอกลูกว่าเหนื่อยแล้ว ให้ลูกเล่าให้แม่ฟังบ้าง เป็นการสื่อสารสองทาง เพื่อที่พ่อแม่จะได้สังเกตว่า ลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว เพราะการเล่าให้ลูกฟังอย่างเดียว เราอาจจะไม่รู้เลยว่าลูกมีพัฒนาการไปมากน้อยเพียงใด
ปกติเด็กวัยนี้จะช่างสงสัย ถามโน่นถามนี่อยู่แล้ว บางเรื่องที่พ่อแม่ตอบไม่ได้ ให้บอกลูกว่า เดี๋ยวเราไปหาคำตอบในหนังสือกันดีกว่า แล้วก็พาลูกไปห้องสมุด ไปร้านหนังสือ เพื่อไปค้นหาคำตอบกัน ลูกจะเกิดการเรียนรู้ว่า เมื่ออยากรู้เรื่องอะไรสามารถหาคำตอบได้จากหนังสือ เป็นการวางพื้นฐานรักการอ่าน เมื่อลูกโตขึ้นก็จะส่งผลให้ลูกรักที่จะอ่านหนังสือ และชอบค้นคว้าหาคำตอบจากหนังสือในที่สุด
Mr.Robert D.Steell นักวิชาการสิ่งแวดล้อมการศึกษาของสมาคมตาวิเศษเล่าไว้ว่า จากประสบการณ์ตรงของตนพบว่า การใช้นิทานเป็นสื่อ เป็นวิธีที่ได้ผลมาก โดยมีกลเม็ดจูงใจที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็เล่านิทานด้วยท่าทางที่น่าติดตาม แต่เล่าไม่จบ เป็นการหลอกล่อให้เด็กไปหาอ่านตอนจบจากหนังสือเอง บ้างก็ใช้สื่อพิเศษ เช่น พับกระดาษเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และสอดแทรกตัวอย่างหนังสือนิทาน ทำให้เด็กสนใจติดตามอ่านหนังสือเล่มนั้น
Comment by nuntaka chantorn on October 21, 2010 at 9:38am
เข้ามาแอบฟังค่ะ

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service