เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ ตอนสอง

รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึง นิ่ม เหมือนไม่มีน้ำนม น้ำนมแห้งแล้วหรือเปล่า?

 

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกว่าหน้าอกเริ่มจะไม่คัดตึง นิ่ม เหลว เหมือนไม่มีน้ำนม เมื่อเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์หลังคลอด

 

หลัง จากสัปดาห์แรกๆ (6-12 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน) ผ่านพ้นไป
คุณแม่จำนวนมากรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมของตน
เมื่อสังเกตเห็นว่า นมที่เคยปั๊มได้มีปริมาณลดลง หรือรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม
เหลว ไม่คัดตึง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ
แม้ว่าบางครั้งอาจจะรู้สึกคัดตึงบ้าง ถ้าเว้นช่วงการให้ลูกดูด
หรือปั๊มนานกว่าปกติ

 

ความรู้สึกว่าหน้าอกคัดตึง เต็มไปด้วยน้ำนม ในช่วงสัปดาห์แรกๆ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ ตลอดช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่ร่างกายของแม่ยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้

 

ใน ช่วงเวลาหนึ่ง โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ (อาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคนที่มีนมเยอะมากๆ)ปริมาณการผลิตน้ำนมจะปรับเข้าที่
จะรู้สึกว่าหน้าอกคัดน้อยลง นิ่มเหลว เหมือนไม่มีน้ำนม ไม่มีการไหลซึม
ไม่รู้สึกถึง
let-down และถ้าปั๊ม ก็จะได้ปริมาณน้อยลงกว่าเดิม

 

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง  แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า ร่างกายสามารถรับรู้แล้วว่าปริมาณน้ำนมเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการ ไม่จำเป็นต้องผลิตให้มากเกินไปอีกต่อไป

 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดก็ได้ แตกต่างกันไปในแต่ละคน  มีคุณแม่จำนวนมากที่ไม่ค่อยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องปกตินี้  เพราะส่วนใหญ่มักจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ไม่เคยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ (หรือบางทีก็เข้าใจผิดๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณบอกว่านมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วไปให้นมผสมแทน)  

 

ทำไมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

 

โดยปกติหลังจากที่เราเริ่มจะรู้สึกว่า น้ำนมมาแล้วนั้น กระบวนการผลิตน้ำนมจะถูกควบคุมโดยการนำน้ำนมออกมาจากร่างกาย (ถ้ามีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะมีการผลิตน้ำนมต่อไป
ถ้าไม่มีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะหยุดการผลิต)  แต่กระนั้นก็ตาม  ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนมในช่วงแรก (
Lactogenesis I&II) นั้น ยังคงมีอยู่ในระดับสูง ซึ่งป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เกินกว่าความต้องการ  

 

การ ที่ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีระดับสูงเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนมให้ได้มากขึ้นถ้ามีความต้องการ
(แม้ว่าจะมีลูกแฝดสอง หรือสาม แม่ก็จะสามารถผลิตน้ำนมได้พอสำหรับลูกทุกคน)  หลัง
จาก 2-3 เดือนแรกผ่านไป
ระดับของฮอร์โมนโปรแล็คตินซึ่งปกติจะสูงในช่วงสัปดาห์แรกๆ จะค่อยๆ
ลดลงสู่ระดับปกติในที่สุด
หลังจากนั้นการผลิตน้ำนมของแม่ก็จะปรับได้พอดีกับความต้องการของลูก
(ไม่มีส่วนเกินอีกต่อไป)

 

ต้องใช้เวลาให้นมเต็มเต้าก่อนให้ลูกดูดหรือปั๊มหรือเปล่า

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดๆ ว่า ต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยง แล้วก็ต้องรอให้เต็มใหม่เสียก่อน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

 

ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นจริงๆ แล้ว เต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริงๆ  จากการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า  ปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกไปนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหิวของทารกในแต่ละครั้ง แตกต่างกันในแต่ละมื้อ โดยปกติจะประมาณ 75-80 % ของปริมาณน้ำนมที่มีในเต้านม

 

ความพยายามที่จะทำให้นมเกลี้ยงเต้า ก็เหมือนกับความพยายามที่จะทำให้แม่น้ำแห้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เพราะเมื่อน้ำนมถูกนำออกไป ก็จะมีการผลิตน้ำนมใหม่เข้ามาแทนที่

 

ยิ่งทำให้เต้านมมีน้ำนมน้อยลง (ดูดหรือปั๊มออกบ่อยๆ) เท่าใด  เต้านมก็จะยิ่งผลิตน้ำนมเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อลูกดูดนมไปได้เยอะแค่ไหน การผลิตนำนมก็จะมากขึ้นเท่านั้น

 

การ กำหนดเวลาทุกกี่ช.ม. เพื่อให้ลูกดูดนมในแต่ละมื้อหรือปั๊มนั้น (เพราะเข้าใจผิดๆ ว่าต้องรอให้นมเต็มเต้าเสียก่อน)
ไม่ได้ช่วยให้น้ำนมผลิตได้มากขึ้น  ในทางตรงข้าม การทำเช่นนั้น (เว้นช่วงห่างระหว่างมื้อนม หรือการปั๊มนานๆ ) บ่อยๆ  จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ  เพราะการที่มีน้ำนมสะสมในเต้ามากๆ จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง

 

ข้อมูลอ้างอิง : How does milk production work? By Kelly Bonyata, BS, IBCLC

 

Views: 37

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service