เว็บทั้งหมดจะย้ายไปที่ www.2pasa.com แล้วนะครับ ตามไปที่นั่นได้เลย

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ - สองภาษาดอทคอม

สวัสดีค่ะสมาชิกหมู่บ้านสองภาษา พอดีวันนี้ไปเจอกระทู้เกี่ยวกับคนที่มีความเห็นแตกต่างจากพวกเราในการเลี้ยงลูกสองภาษาในเวปบอร์ดแห่งหนึ่ง เลยตัดมาให้อ่านกัน แล้วอยากถามเพื่อนสมาชิกว่ามีความเห็นอย่างไรกันบ้างคะ บอกตามตรงว่าข้อความข้างล่างนี้ทำให้เราลังเล เลยอยากขอความมั่นใจจากสมาชิกค่ะ



หลัก OPOL - One Person One Language เป็นหลักที่ดีที่เด็กๆ
จะเรียนภาษาที่ ๒ ที่ ๓ ได้แน่ๆ ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า
คนๆ นั้น ต้องพูดภาษาหลัก (ภาษาธรรมชาติ ที่เป็นภาษาแม่) ของเรากับลูกค่ะ
ไม่ใช่ภาษาอื่นที่เราไม่คุ้น ชิน การเลี้ยงลูก หรือตัวลูก ต้องการทั้งความรู้ (ที่ลูกจะได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม) และ
ความรัก ความเป็นธรรมชาติของครอบครัวไปด้วยพร้อมๆ กันค่ะ คือ การสื่อสารมันเป็นมากกว่า
คำพูด คำศัพท์เท่านั้น มันต้องมีความเป็นธรรมชาติอยู่ด้วย อย่างที่จะได้รู้สึกอบอุ่นได้
ทั้งพ่อ แม่ ลูกค่ะ เราว่า ความสุข และความรู้สึกมันสำคัญไม่น้อยกว่าความรู้ค่ะ โดยเฉพาะ
ในวัยเยาว์ และพ่อแม่ก็น่าจะ enjoy กับการเป็นพ่อแม่ด้วยค่ะ
(เราบอกจากใจเลยค่ะ ว่าชื่นชม ความตั้งใจและทุ่มเทของพ่อแม่ทุกๆ ท่านมากๆ นะคะ)

มีหลายๆ คำค่ะ ที่เราจะไม่รู้ หรือ ไม่ไหลรื่นออกมาเลย ถ้าเราไม่ได้เป็นเจ้าของภาษานั้นๆ
ลองยกตัวอย่างคำที่ใช้กับเด็กๆ เช่น จ๊ะเอ๋ ว้าย...น้ำกระเซ็น (ตอนลูกเล่นน้ำ) ฯลฯ

การเรียนภาษาอย่างที่เป็นธรรมชาติ (ของผู้พูดและผู้ฟัง) จะได้ผลดีกว่าค่ะ
อย่างที่กระทู้บนๆ ว่า เช่นที่อาม่า อากง ของเราพูดกันมา อย่างนั้นแหละดีค่ะ หรือ ถ้าดูเด็กๆ ตามชายแดนเด็กอิสานแถวๆ สุรินทร์ บุรีรัมย์ หลายคนพูดได้ทั้งไทย อีสาน เขมร เวียต บางคนพูดจีนได้อีกด้วย ถ้าได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับเจ้าของภาษา

ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า จะสัมฤทธิ์ผล และพูดได้ชัดเจนกว่า
และตามหลักการศึกษาที่มีการวิจัยมา ถ้าก่อนอายุ ๑๔ และลูกได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่าง
สม่ำเสมอ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ คือให้ลูกเริ่มรู้จัก ได้เรียนภาษาที่ ๒ กับเจ้าของภาษา
ตอนอายุ ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ ขวบ ก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ (เราทำงานกับเด็ก ESL หลายปี)
และยิ่งเดี๋ยวนี้ ทีวี ซีดี เน็ตฯ สื่อที่จะไปเข้าถึงภาษาได้มีมากมาย
หลานของแฟนเราคนหนึ่ง (อ่อนอังกฤษมากๆ)แต่พออยู่ ม.ต้น คุยแช็ทฯ กับเพื่อน
มีมาเลเซีย เมล์คุยกันประจำ จนภาษาดีขึ้นมามากๆ เพราะมีแรงจูงใจและได้ใช้จริงน่ะค่ะ

หรืออย่างคนรุ่นๆ เรา ที่เรียน ภ.อังกฤษ (กับครูไทย) มาตั้งแต่เล็กๆ(เราเริ่มตอน ๔ ขวบ)
ท่องศัพท์ได้มากมาย (ทักษะการอ่านตำราฝรั่งนี่ เราอ่านได้เร็วกว่าเพื่อนอเมริกันซะอีก)
แต่ทักษะการพูดและฟังของเรา แย่มาก สื่อสารแล้วเขาแทบไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
ตอนอยู่อเมริกา ครูภาษาอังกฤษหลายคน (ของเรา) ชี้ให้ดูเลยว่า
พวกผู้ใหญ่ (ตอนนั้นเราอายุ ๒๐ กว่าๆ) ที่ไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาเลย
อย่างคนจากซิมบับเว่ เคนย่า ทิเบต ฯลฯ ยังเรียนได้ง่ายกว่าคนอย่างเราที่เรียน ภ.อังกฤษ
(จากครูคนไทย)ซะอีก ครูบอกว่า ของคนอื่นเป็นเหมือนผ้าขาวน่ะ แต่ของเราต้องมาแก้
ศัพท์ สำเนียง แกรมม่า หลายอย่าง (หรือเราเป็นพวกโง่เรื่องภาษามากๆ มั้ง)
อย่างคนอื่นๆ ฟังคำหนึ่งสัก ๒๐๐ ครั้ง ก็อาจจะซึมและจำได้ในหัว แต่ของเราต้องสัก ๔๐๐
เพราะ ๒๐๐ แรก เอาไปลบเม็มโมรี่ที่ไม่ถูกต้องก่อน แล้วอีก ๒๐๐ ถึงค่อยซึมเข้าไปแทนที่ได้

และที่สำคัญมากๆ เลย คือ เด็กต้องรู้ภาษาหลัก (ภาษาแม่)ของตัวเองให้แน่นเสียก่อนถึง
จะเรียนภาษาอื่นได้ดีค่ะ (มีการศึกษาเรื่องครอบครัวญี่ปุ่นในอเมริกาสมัย ๓๐ กว่าปีก่อนเรื่องนี้เลยค่ะ)

(บังเอิญว่า) ลูกๆ เราเกิดและโตที่อเมริกา (เพราะเราไปเรียนต่อและเป็นครูอยู่ที่นั่น ๑๐ กว่าปี)
เรื่องนี้ เราคิดมาตั้งแต่วันแรกที่เรารู้ว่า ท้องเลย เราก็ไปหาข้อมูลมากๆ ๆ แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
่ในครอบครัวเรา เราจะพูดไทยกับลูกตลอดเลยค่ะ สามีก็พูดฮิบรูกับลูกตลอดเหมือนกัน
เรากับแฟนสื่อสารกันด้วย ภาษาไทยค่ะ ลูกเรียน ภ.อังกฤษจากสิ่งแวดล้อม
และเราสารภาพนะ ว่าคงไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอื่น (นอกจากภาษาไทย)ให้ลึก และลึกซึ้ง
กับลูกเราได้ (โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เขายังเล็กๆ เช่น จะบอกว่า "เจ้าซาละเปา แม่รักหนูนะ" นี่)
ถ้าให้พูดเป็นภาษาอื่น เราคงไม่อิน และลูกเราก็คงไม่อินเหมือนกันมั้ง
ให้เราร้องเพลงกล่อมลูก เพลงเด็ก (หรือท่องสูตรคูณ) เป็นภาษาอื่นให้ลูกฟังนี่
เราอาจจะทำได้ แต่โทนเสียง น้ำเสียง มันคงไม่ได้สื่อความรู้สึกออกไปได้อย่างที่ใจรู้สึกน่ะ
มันอาจจะเป็นภาษาคำศัพท์ แต่มันไม่ได้เป็นภาษาจากใจ (พ่อแม่)ถึงใจ(ลูก)

หรือ ตอนที่ลูกเป็นวัยรุ่นอย่างตอนนี้
ถ้าจะให้เราพูดเรื่องยาเสพติด ประจำเดือน เอดส์ เอ็กซ์ แฟน แฟชั่น ดนตรี ฯลฯ
กับลูกเป็นภาษาอื่น เราคงพูดได้ไม่ลึก ไม่กว้าง ไม่อิน คือ จะมีข้อจำกัดทางภาษาอยู่มากๆ
และอาจจะสื่อสารไม่ได้อย่างที่อยากสื่อไปเลยด้วย (ในบางกรณ๊)

(ป.ล.ลูกๆ เราเป็นเด็ก ๓ ภาษาตามสิ่งแวดล้อมที่เอื้อนี่แหละ ไม่ได้ให้ไปเรียนอะไรเพิ่มเติมด้วย
ลูกยังอยากเรียนภาษาที่ ๔ และก็มีภาษา Pig Latin ที่เอาไว้พูดกันเมื่อไม่อยากให้พ่อแม่เข้าใจด้วย
อือ...ลูกเราเป็นเด็กธรรมดาๆ ไม่ได้เก่ง อัฉริยะ หรืออะไร แต่อย่างใดเลยนะคะ)

ถ้าอยากให้ลูกได้ภาษาตั้งแต่เด็กๆ จริงๆ ให้ลูกไป ร.ร.ธรรมดาก็ได้ค่ะ
แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้
สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ
(โดยทั่วๆ ไปเด็กเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์เป็นกลุ่ม และเรียนรู้ได้ดีกว่าเดี่ยวๆ ค่ะ)

แล้วภาษาในซีดีของเด็กๆ (บางโปรแกรม) หรือการ์ตูนบางเรื่อง
เป็นภาษาการ์ตูน ที่ต่างจากภาษาในชีวิตประจำวันมากๆ เลยค่ะ
การให้ลูกอยู่หน้าจอมากๆ ก็มีผลต่อสุขภาพ สมาธิ และมันเป็นการสื่อสารทางเดียวด้วยนิ

ชีวิตของลูก ของเรา ของครอบครัว ยังมีอีกหลายๆ มุม
ไม่ใช่เรื่องภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ขออภัยนะคะ ที่เขียนยาวและคิดต่างจากพ่อแม่บางท่าน คือ อยากจะบอกว่า
ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .

ขอให้ถือว่า เป็นมุมต่าง(ของพ่อแม่บ้านหนึ่ง) ที่ไม่ได้ตั้งใจจะขัดแย้งส่วนตัวอะไรใดๆ กับใครนะคะ

Views: 1205

Reply to This

Replies to This Discussion

เห็นด้วยในบางจุด ในเรื่องการหาสังคมให้ลูกและในเรื่องประเด็นของการเป็นแบบอย่างกับลูก เคยคิดเหมือนกันว่าสอนผิดไปจะแก้ยาก ซึ่งผม

เองเคยตั้งประเด็นนี้ขึ้นมา เห็นด้วยกับการสร้างลูกโดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์มากเกินไปเพราะชีวิตยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมาก

แนวทางการแก้ไขของผม
ผมคิดว่าตัวเราคงต้องขวนขวายให้มากละครับ ระหว่างที่ลูกยังเรียนรู้ได้ไม่มาก เราน่าจะเรียนนำให้มากกว่า นำเอาสิ่งที่ถูกมาป้อนให้ลูกดีกว่า

อีอย่างคือกลับไปมองเป้าหมายด้วยครับว่าเราตั้งเป้าหมายว่าอย่างไร เป้าหมายนั้นมาจากความคาดหวัง ความคาดหวังต้องมาจากความเป็นไปได้ครับ
อ่านกระทู้ของคุณphanprapa แล้วก็อยากแสดงความคิดเห็นบ้างค่่ะ โดยส่วนตัวเห็นว่า แต่ละคนก็มีมุมมองในมุมของตัวเอง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งสภาพแวดล้อมสถานะทางการเงิน สถานะทางสังคม ความคิดและอีกหลายๆอย่างที่ทำให้แต่ละคนมีความคิดมุมมองไม่เหมือนกันอย่างเช่นคนที่เขียนกระทู้นี้เค้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการไช้ภาษาอังกฤษของลูกอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลยแค่พาลูกออกมานอกบ้านแค่นั้นเอง ทำ่ให้เค้าอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่ก็ได้ ในทางกลับกันถ่้าเราไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนั้นเราก็คงไม่ต้องมานั่งสอนมานั่งพูดกับลูกเป็นeng อย่างนี้ เราก็คงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นเหมือนกัน. แพทคิดว่าแม่ทุกคนต่างก็รักลูกด้วยกันทั้งนั้นอยากจะมอบแต่สิ่งดีๆให้กับเค้า เพราะฉนั้นการที่เราจะทำ่อะไรสักอย่างเพื่อเค้าเราคงต้องใช้วิจารณญาณและสติไตร่ตรองดีแล้วว่าสิ่งนั้นต้องดีและเป็นประโ่ยชน์กับเค้าอย่างแน่นอน เพราะแพทเองก่อนจะเข้ามาเป๊นสมาชิกบ้านสองภาษาก็อ่านหนังสือเข้าเน็ต ถามคุณหมอ หาข้อมูลจนแน่ใจว่าไม่มีผลเสียอย่างแน่นอน โดยเฉพาะมีตัวอย่างที่เราได้เห็น จากคลิปวีดีโอของน้องเพ่ยเพ่ยและอีกหลายๆครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เป็นเครื่องยืนยันว่าการที่เราจะสอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษานั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้ไม่ลังเลใจเลยที่จะเริ่ม อยากให้คุณ pornprapa ลองไตร่ตรองดูให้ดีค่ะว่าอยากให้ลูกเป็นยังงัย คงไม่มีใครรักและหวังดีกับเค้าเท่าคนเป็นพ่อแม่หรอกค่ะ
มุมมองนี้น่าสนใจ แต่ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยครับ

หลัก OPOL - One Person One Language เป็นหลักที่ดีที่เด็กๆ
จะเรียนภาษาที่ ๒ ที่ ๓ ได้แน่ๆ ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า
คนๆ นั้น ต้องพูดภาษาหลัก (ภาษาธรรมชาติ ที่เป็นภาษาแม่) ของเรากับลูกค่ะ
ไม่ใช่ภาษาอื่นที่เราไม่คุ้น ชิน การเลี้ยงลูก หรือตัวลูก ต้องการทั้งความรู้ (ที่ลูกจะได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม)

แนวคิดการสอนแบบเด็กสองภาษา มีหลายระบบให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครอบครัว ระบบหนึ่งคนหนึ่งภาษา (OPOL) เป็นตัวเลือกหนึ่ง ยังมีระบบ หนึ่งเวลาหนึ่งภาษา (OTOL) ซึ่งแน่นอนที่สุดภาษาแม่ต้องได้พูดเยอะอยู่แล้วตามธรรมชาติ และถึงแม้ว่าจะใช้ระบบหนึ่งคนหนึ่งภาษา ก็ต้องมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่พูดภาษาแม่กับลูก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะได้พูดมากกว่าภาษาที่สองอยู่แล้ว

แนวคิดการสร้างเด็กสองภาษา ภาษาแม่ต้อง 100% ภาษาที่สองตั้งแต่ 100% ลงมา



ถ้าลูกเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมภาษาเดียว (คือ ไทย) ก็ให้เรียนอังกฤษ (จีน หรือ อะไรเสริม)
จากเจ้าของภาษาดีกว่าค่ะ ทุ่มเทน้อยกว่า จะสัมฤทธิ์ผล และพูดได้ชัดเจนกว่า
และตามหลักการศึกษาที่มีการวิจัยมา ถ้าก่อนอายุ ๑๔ และลูกได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่าง
สม่ำเสมอ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ คือให้ลูกเริ่มรู้จัก ได้เรียนภาษาที่ ๒ กับเจ้าของภาษา
ตอนอายุ ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ ขวบ ก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ (เราทำงานกับเด็ก ESL หลายปี)
และยิ่งเดี๋ยวนี้ ทีวี ซีดี เน็ตฯ สื่อที่จะไปเข้าถึงภาษาได้มีมากมาย
หลานของแฟนเราคนหนึ่ง (อ่อนอังกฤษมากๆ)แต่พออยู่ ม.ต้น คุยแช็ทฯ กับเพื่อน
มีมาเลเซีย เมล์คุยกันประจำ จนภาษาดีขึ้นมามากๆ เพราะมีแรงจูงใจและได้ใช้จริงน่ะค่ะ

ประเด็นนี้ถือว่าแนวคิดไม่ตรงกัน เราเชื่อในเรื่องศักยภาพของเด็กเล็ก โดยเฉพาะเรื่องภาษา และประเด็นที่ว่าถ้าเด็กได้คุยกับเจ้าของภาษาอย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่สายเกินไป คำถามก็คือโอกาสอย่างนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่เท่าที่ได้เจอคือโตจนจบไปทำงานแล้วไปเจอกับเจ้านายฝรั่งถึงจะได้ใช้ สำหรับตัวอย่างที่บอกว่าพอได้แชตกับเพื่อนแล้วภาษาดีขึ้นมากนั้นคือภาษาเขียน แต่สิ่งที่เราเน้นคือการพูดฟัง


และที่สำคัญมากๆ เลย คือ เด็กต้องรู้ภาษาหลัก (ภาษาแม่)ของตัวเองให้แน่นเสียก่อนถึง
จะเรียนภาษาอื่นได้ดีค่ะ (มีการศึกษาเรื่องครอบครัวญี่ปุ่นในอเมริกาสมัย ๓๐ กว่าปีก่อนเรื่องนี้เลยค่ะ)

ผมสงสัยจริงๆว่าประเทศที่พูดกันหลายภาษา อย่าง สวิสฯ ฟินแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ แคนาดา อินเดีย เขาคิดอย่างไรกับประเด็นนี้นะ

และเราสารภาพนะ ว่าคงไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอื่น (นอกจากภาษาไทย)ให้ลึก และลึกซึ้ง
กับลูกเราได้ (โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เขายังเล็กๆ เช่น จะบอกว่า "เจ้าซาละเปา แม่รักหนูนะ" นี่)
ถ้าให้พูดเป็นภาษาอื่น เราคงไม่อิน และลูกเราก็คงไม่อินเหมือนกันมั้ง

เห็นด้วยครับ แต่หลายคนเข้าใจผิดว่าแนวคิดแบบเด็กสองภาษา ไม่มีคนพูดภาษาแม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบหนึ่งคนหนึ่งภาษา หรือหนึ่งเวลาหนึ่งภาษา รับรองประโยคเหล่านี้พ่อแม่ทุกคนได้พูดแหละครับ

(ป.ล.ลูกๆ เราเป็นเด็ก ๓ ภาษาตามสิ่งแวดล้อมที่เอื้อนี่แหละ ไม่ได้ให้ไปเรียนอะไรเพิ่มเติมด้วย
ลูกยังอยากเรียนภาษาที่ ๔ และก็มีภาษา Pig Latin ที่เอาไว้พูดกันเมื่อไม่อยากให้พ่อแม่เข้าใจด้วย
อือ...ลูกเราเป็นเด็กธรรมดาๆ ไม่ได้เก่ง อัฉริยะ หรืออะไร แต่อย่างใดเลยนะคะ)


สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาคือสิ่งที่สำคัญมาก นี่คือหนึ่งในแนวคิดสำคัญของ การสร้างเด็กสองภาษา แต่เราอาจจะโชคไม่ดีที่บ้านเราไม่ได้มีฝรั่ง ไม่ได้มีคนที่พูดภาษาที่สอง ที่สาม ที่สี่ แล้วทำอย่างไรล่ะ ถ้าไม่ได้สร้างสภาพแวดล้อมขึ้นเองจากมือพ่อแม่

แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้
สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ

บนแนวคิดของเด็กสองภาษา อาทิตย์ละ 2 ครั้ง น้อยไปมาก อีกทั้งอยู่เป็นกลุ่มกับครูฝรั่ง เด็กที่ไม่คุ้นเคยจะปฏิเสธ ไปจนถึงกระทั่งไม่ยอมพูด อาจจะมีเด็กบางคนที่กล้าแสดงออก เขาก็อาจจะได้ไปบ้าง แต่เด็กอยู่กับพ่อแม่ ภาวะผ่อนคลายจะสูง เด็กอยากจะพูดจะเล่นกับพ่อแม่มากกว่า จังหวะนั้นแหละครับ โอกาสทองในการสอนภาษาโดยไม่สอนภาษา นั่นก็คือการใช้ภาษาที่สองกับลูก เด็กจะปรับตัว และเลียนแบบได้ง่ายกว่า สภาพแวดล้อมอย่างอื่น

ชีวิตของลูก ของเรา ของครอบครัว ยังมีอีกหลายๆ มุม
ไม่ใช่เรื่องภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สิ่งที่น่าแปลกใจ ก็คือทำไมยังมีคนคิดว่า "เห็นคนที่นั่งกินข้าว เขาจะเดินไม่เป็น" การที่พ่อแม่สอนภาษาที่สองให้กับลูก ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ได้สอนอย่างอื่นนอกจากภาษา ยิ่งไปกว่านั้นการสอนด้วยภาษาที่สอง ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้สอนเรื่องอื่นมากขึ้นด้วย เพราะต้องหาประเด็นในการพูดคุยกับลูก

ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .

ผมเคยย้ำหลายครั้งว่า การสอนแบบเด็กสองภาษา ต้องสนุกในการทำ มีความสุขในการสร้าง ถ้ารู้สึกเครียดก็ให้หยุด ผ่อนลงบ้าง แล้วค่อยปรับให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของครอบครัว ทำได้แค่ไหน เอาแค่นั้น

คงต้องถามสมาชิกท่านอื่นด้วยว่า การเริ่มสร้างเด็กสองภาษา แล้วมีใครบ้างที่ไม่มีความสุขในการเป็นพ่อแม่
คุณพงษ์ระพีถามมาว่า "คงต้องถามสมาชิกท่านอื่นด้วยว่า การเริ่มสร้างเด็กสองภาษา แล้วมีใครบ้างที่ไม่มีความสุขในการเป็นพ่อแม่" ตอบว่า บ้านเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ ไม่ว่าสอนเรื่องอะไรก็ตามก็ยังคงสอนเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งนั้นทำให้ตัวเราเองได้ศึกษามากขึ้นว่าจะพูดกับลูกยังไง ลับสมอง ลูกก็สนุกและภูมิใจกับการที่เค้าสามารถใช้ได้ถึง 2 ภาษา ส่วนเรื่องภาษากุ๊กกิ๊กๆที่ใช้เล่นกับลูกก็ไม่ได้ห่างหายเลยค่ะ หาได้ตามหนังสือเด็กๆ เช่น peek a boo = จ๊ะเอ๋ / splish...splash = เล่นสาดน้ำ / oops = ว้าย (ยกตัวอย่างตามที่คุณ phanprapa ยกมานะค่ะ) มีแต่ WIN-WIN ค่ะ :)

มีประเด็นนึงที่ขออนุญาติ แสดงความเห็นที่แตกต่าง
"แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ"
การจะหาครูฝรั่งมาสอนนั้นคือค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นใช่ไหมคะ นั่นจะเป็นอีกเหตุผลนึงที่ลูกหลานเราจะเข้าถึงภาษาอังกฤษได้ยาก หากพ่อแม่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ แต่กำลังสมองของพ่อแม่เชื่อว่าเติมได้ไม่มีหมดค่ะ
อย่าเข้าใจผิดค่ะ กระทู้นี้เราตัดมาจากเวปอื่นให้อ่านค่ะเพราะอยากทราบความเห็นของเพื่อนหมู่บ้านสองภาษา ไม่ได้เป็นความเห็นของเรา เราอยากรู้ความเห็นเพื่อที่จะได้ไม่ลังเล อยากมีจุดยืนที่มั่นคง
"แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ"

จัดกลุ่มพ่อแม่และเด็ก 2 ภาษาในหมู่บ้านนี้มาเจอกันบ้าง น่าจะสนุกกว่า แถมเด็กๆพอเล่นด้วยกัน ความสนุก ความเพลิดเพลิน ก็ใช้ภาษากันมันส์ไปเลยค่ะ น้องนิวเล่นกับเพื่อนที่นี่ เป็นลูกของเพื่อน คนไทยเหมือนกันแต่เด็กเจอกัน ภาษาอังกฤษออกมาเป็นชุดๆเลย
ยอดเยี่ยมค่ะ ทีแรกนึกว่าคุณบิ๊กจะไม่เข้ามาตอบซะอีก VERY GooD
เรียนตั้งแต่เด็กหากเราไม่ใช้มันจริงๆ เหมือนใช้ภาษาไทย เราก้คิดไม่ออก เริ่มต้นไม่เป็นนะคะ การที่คุณฟังไม่ออก800 ครั้งก้เหมือนกับดิฉันเพราะ ไม่ค่อยได้ฟัง native และครูก็ไม่ได้ไปฟัง native มาสอนให้ฟัง และที่สำคัญไม่เคยได้ฝึกได้ฟัง native ไม่ว่าจะจากใดๆ ไม่ได้ฝึกพูดในชีวิตประจำวันเลย จนมัธยม จำได้ว่าครูให้แสดงหน้าชั้นพูดบอกทางเวลาคนถามทางเป็นอังกถษ คุณเชื่อไหมว่า ดิฉันยังจำได้คล่องไม่ต้องท่อง เพราะช่วงนั้น เป็นภาคปฏิบัติการ ได้ออกแสดงสมมติหน้าชั้นทุกอาทิตย์ ได้ฟังกับเทปเป็นตัวอย่าง ก่อน คือ ถ้าประโยคไหนเคยๆใช้แล้ว ไปได้เลยค่ะ อันนี้ก็เหมือนกัน อย่างที่คุณอ๊อปพูด ไง practise make perfect ลูกเขาได้ยินได้ฟังได้ดูที่แม่พูด เด๋ยวเขาก็ได้ ไม่มากก็น้อย และบ่อยๆจาก vcd การ์ตูน เพลง แต่ลูกๆที่นี่ ได้ ฟัง native บ่อย จาก vcd และเราเองฝึกเลียนแบบตามสื่ออุปกรณืที่หาฟังได้ จนสำเนียงก็ดีขึ้นตัวเราเองก็พัฒนาดีขึ้น ดิฉันคิดว่ามีประโยชน์กว่าการที่จะไม่พูด eng กับลูก มากมายหลายเท่า ไม่ต้องนั่งท่องศัพท์ เพราะเขาใช้เขาพูดทุกวัน และ คิดคำประโยคออกได้อัตโนมัติ เพราะ ซำๆบ่อยๆ routine นี่ละค่ะอย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่ ถ้า บ่อยๆๆๆๆ ก็ได้เหมือนกันค่ะ เวลาเจอสถานการจริงๆก็ ดีกว่าเดิมเยอะ ขอยืนยันว่า แม้บางครั้งจะเหนื่อยบ้าง แต่happy กว่าเยอะก พักได้นี่คะเราไม่ได้ส่งครู ไม่ได้สอบแข่งขันใคร แต่สิ่งที่ลูกได้คุ้มค่ะ นี่แค่ 2 ภ่ษานะคะ ยังไม่3 4 5 6 .... แค่2 นี่ไม่หนักหรอกค่ะ แค่ไม่เคยไม่ชินเท่านั้นเอง ดังนั้นจึงใช้คำว่าฝึกกับตัวเองเพื่อเล่นใช้กับลูก ค่ะ
ทำด้วยความสุขนะคะ สุขที่เราจะให้ลูกได้ ...จริงๆแล้วอย่าไปคิดมากเลยค่ะ ถ้าคุณเชื่อในศักยภาพของลูกคุณและตัวคุณ ก็ทำไปเถอะนะคะ เพราะบางทฤษฎีก็เป็นแค่ทฤษฎีนะค่ะ ถ้าเราทำไปแล้วเราสนุกลูกก็สนุกกับเราด้วย กลายเป็นว่า ข้อ 1. เรามีเวลาให้ลูกมากขึ้น ข้อ 2. ลูกได้ภาษาโดยธรรมชาติค่ะ
สวัสดีค่ะ เพิ่งสมัครเป็นสมาชิก มีอะไรน่าสนใจมากเลย น่าอ่านไปหมด ไล่อ่านทีละกระทู้ เสียดายอยู่อย่างนึง คือลูกเราโตแล้ว แต่สะดุดกระทู้นี้ค่ะ เพราะทำให้อดคิดถึงเรื่องของตัวเองไม่ได้ มีคำถามด้วย อยากรบกวนพ่อแม่มือโปรทั้งหลายเสนอความเห็นหน่อยค่ะ คือ ตัวเรามีสามพี่น้องโตขึ้นในสถานการณ์เดียวกัน คือพ่อแม่พูดไทยไม่ได้ พ่อ แม่ อาม่า พูดจีน คนละสำเนียง เราพูดได้สามสำเนียง แต่ไม่คล่อง ได้แต่ศัพท์บ้านๆ ส่วนน้องชาย พูดได้แต่เป็นสำเนียงคนไทยพูดจีน คำศัพท์น้อยลงอีก น้องสาวคนเล็กพูดได้สองสำเนียง คือของพ่อ และจีนกลาง คำศํพท์ก็พื้นๆเหมือนกัน ทำไมถึงเป็นแบบนี้ งงงงง พ่อแม่ฟังไทยไม่รู้เลยค่ะ จะพูดกับพ่อแม่ต้องพูดจีนสำเนียงเค้า พี่น้องพูดไทยกันค่ะ ทำไมภายในเงื่อนไขเดียวกัน สามพี่น้องถึงได้ผลลัพท์แตกต่างกันละคะ

ยังมีอีกค่ะ คือเพื่อนกันนี้แหละพูดกันเป็นไทยตลอดจน ป6 เค้าก็ถนัดแค่ไทยนี้แหละค่ะ คุณพ่อส่งเค้าไปเรียนต่างประเทศตอน ม 1 จากนั้น 3 ปี กลับมาพูดไทยไม่ได้เลย ไม่ได้จริงๆเค้าไม่ได้แกล้ง น้องๆของเค้าก็เลยห่างเหินไปเลย แม่ของเค้าก็พูดกับลูกแบบเงอะเงอะงะงะ เหมือนโตมาคนละครอบครัว ภาษาไทยเค้าหายไปเลยค่ะทั้งๆที่พูดตั้งแต่เล็กถึง 13 ขวบ ทำไมคะ สงสัยมากเลยค่ะ

ถามมาทั้งหมด เพื่ออยากจะฝึกลูกแล้วได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ให้เหมือนเราแค่นั้นเอง มองย้อนกลับไป ยังไม่เห็นคุณพ่อเราทำผิดเงื่อนไขเด็กสองภาษาที่ตรงไหนเลย หรือเราจะเป็นเด็กสองภาษาแค่ตอนเล็กคะ พอเจอภาษาไทยเท่านั้น ภาษาแรกที่รู้จากพ่อแม่ก็เริ่มคลอนแคลน มาถึงตัวเองมีลูก ศัพท์จีนก็เหลือนิดเดียว อังกฤษก็น้อยลงอีก เสียดายมากเลย ที่ไม่รู้ว่าตัวเองก็สอนภาษาต่างประเทศให้ลูกรู้ได้ ทั้งๆที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา เลี้ยงลูกคนเดียวค่ะ มีเวลากับลูกก่อนนอนนิดหน่อย ลูกพูดไทยปร่ออออ 55555 ตอนนี้7 ขวบแล้วค่ะ จะทันมั้ยค่ะ เลยอนุบาลมาโขเลย ช่วยแนะนำด้วยคะ ฝากตัวด้วยค่ะ เจอเวปนี้ได้กำลังงัดเอาภาษางูงง ปลาปลาของเรามาปัดฝ่นใหม่อีกรอบ ยังไม่รู้จะเป็นยังไง เห็นแม่แม่ในนี้น่าทึ่งทุกคนเลยค่ะ นับถือมากๆ ยังอ่านกระทู้ไม่หมดเลย น่าเข้าทุกห้องเลย โอ้ย เลือกไม่ถูก
คือพ่อแม่พูดไทยไม่ได้ พ่อ แม่ อาม่า พูดจีน คนละสำเนียง ...ทำไมภายในเงื่อนไขเดียวกัน สามพี่น้องถึงได้ผลลัพท์แตกต่างกันละคะ

อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะเก็ทมั้ยคือว่า...เดาค่ะ อิอิ ลูกคนไหนใกล้ชิดใครก็จะได้สำเนียงคนนั้นติดมาละมั้งคะ ไม่คอนเฟิร์มนะคะ แค่เดาๆ เพราะเห็นหลายครอบครัว พ่อแม่สำเนียงยังไง ลูกก็พูดสำเนียงแบบนั้น เราเองมีพี่สาวอีก 2 คน พูดสำเนียงเดียวกับเราหมดเลย บ้านคุณมีจีนหลายสำเนียง ก้ต้องเลืองสำเนียงที่คุ้นเคยที่สุดมาใช้แหละค่ะ

ส่วนเพื่อนคุณที่ลืมภาษาไทยเพราะอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เป็นภาษาอังกฤษ ไปอยู่เมืองนอกคงไม่มีเพื่อนคนไทย หรือไม่ได้พูดไทยเลยในแต่ละวัน อะไรที่ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ทำสม่ำเสมอลืมกันได้ทั้งนั้นแหละค่ะ ลูกเราไปไทย 30วัน ไม่ได้พูดเยอรมัน ยังลืมเลยค่ะ หุ หุ แถวบ้านเราเด็กไทยที่มาเยอรมนีแทบทุกคนตอนมาละพูดไทยเก่ง มาอยู่ 3 ปี พูดไทยไม่ค่อยรู้เรื่องแล้วค่ะ ยิ่งมาตอน 5-6ขวบ ไม่ต้องพูดถึง พูดไม่ได้แถมฟังไม่รู้เรื่องก็มี ทั้งๆ ที่อยู่กับแม่คนไทย จะเห็นว่าอิทธิพลของสภาพแวดล้อมมีมากที่สุด

หากคุณจะเริ่มต้นสอนลูก 7 ขวบแล้ว ถึงจะช้า แต่ก็ไม่สายนะคะ ทำเถอะค่ะ ไม่มีอะไรเกินความตั้งใจและความพยายามค่ะ
อ่านมายาว มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยค่ะ แต่มาสะดุดและได้ข้อสรุปที่ย่อหน้าสุดท้ายค่ะ

ขออภัยนะคะ ที่เขียนยาวและคิดต่างจากพ่อแม่บางท่าน คือ อยากจะบอกว่า
ไม่ต้องเร่ง รีบ มากค่ะ อยากให้ enjoy กับการเลี้ยงลูก และมีความสุขกับการเป็นพ่อแม่ค่ะ
เพราะเวลาเหล่านี้ ถ้ามันผ่านไป มันเรียกกลับมาไม่ได้อีก น่าเสียดาย. . .


นั่นละค่ะข้อสรุป ไม่ว่าจะพูดภาษาไหนกับลูก อยากจะเริ่มเมื่อไหร่ อยากจะใช้วิธีไหน สุดท้ายต้องทำด้วยความสุขและไม่เร่งรีบค่ะ จิ๊พูดไทยกับลูกเล่นกันกุ๊กกิ๊ก กอดกัน หอมกัน มาตั้งแต่ลูกเกิด จนมาอายุได้แปดเดือน มาเริ่มใช้ภาษาอังกฤษล้วนกับลูก ก็ไม่ได้รู้สึกว่า ห่างเหินกับลูก ดูแล้วลูกก็มีความสุขดี เราก็มีความสุขดี แถมดีกว่าเดิมด้วยค่ะ ตื่นเต้นที่จะได้เห็นลูกพูดได้อีกภาษานึง แล้วอันที่จริงก็ไม่ได้มีข้อบังคับใด ๆ ตายตัว หากสุด ๆ แล้ว เราไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ ณ จุดใดจุดนึงด้วยภาษาที่สอง เราก็สามารถใช้ภาษาแม่เป็นการชั่วคราวได้ หลังจากนั้นก็มาศึกษาเพิ่มเติมเอา

จุดที่รู้สึกไม่เห็นด้วยที่สุด คงเป็น

ถ้าอยากให้ลูกได้ภาษาตั้งแต่เด็กๆ จริงๆ ให้ลูกไป ร.ร.ธรรมดาก็ได้ค่ะ
แล้วรวบรวมกันให้ได้สัก ๓- ๔ คน ให้มีโอกาสได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน พี่ๆ หรือหาครู"ฝรั่ง" ที่ใจดี น่ารัก มาเล่นยิม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ทำกิจกรรม (ปั้น เล่น ฯลฯ) กับเด็กๆ กลุ่มนี้
สักอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง น่าจะเป็นธรรมชาติ และสัมฤทธิผลกว่าค่ะ
(โดยทั่วๆ ไปเด็กเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์เป็นกลุ่ม และเรียนรู้ได้ดีกว่าเดี่ยวๆ ค่ะ)


ลองนึกภาพว่า ส่งลูกไปเรียนเปียโน สองวันต่ออาทิตย์ กับมีเปียโนที่บ้าน ฝึกได้ทุกวัน อันไหนจะสัมฤทธิ์ผลเร็วกว่า ส่วนตัวจิ๊เห็นว่า กิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ลูกสามารถทำร่วมกับพ่อแม่ได้ตลอดเวลา ย่อมสัมฤทธิ์ผลดีกว่ากิจกรรมชั่วครั้งชั่วคราวค่ะ และนอกจากผลโดยตรงแล้ว ยังมีผลลัพธ์ทางอื่น เช่น ความสัมพันธ์ ความรัก ความอบอุ่น ความทรงจำในระยะยาว ซึ่งคงไม่มี playgroup ที่ไหนให้ได้ค่ะ ยังไม่ต้องพูดถึงค่าใช้จ่ายแพงลิบลิ่ว ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มเวลาทำงานกัดฟันหามาส่งให้ลูกอีกค่ะ สู้เอาเวลาเหล่านั้นมาฝึกตัวเองเพิ่มเติมแล้วแบ่งปันไปให้ลูกดีกว่าค่ะ

RSS

--oO--

สแกนโค้ด แอดไลน์ @2pasa แล้วลุ้นของรางวัลรวมคลิปเวิร์กช็อปทั้งหมด

Events

หนังสือในชุดเด็กสองภาษา



© 2024   Created by ผู้ใหญ่บิ๊ก.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service